รายการ Intelligence ประจำวันที่ 9 สิงหาคม 2554
แนวโน้มการเมือง 7 ประการหลังเลือกตั้ง และ ความยุติธรรมระยะเปลี่ยนผ่านกรณี เมย.-พค.53 ประจักษ์ ก้องกีรติ จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประเมินแนวโน้มการเมืองไทย 7 ประการ หลังการเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม 2554
1.มุ่งสู่ระบบ 2 พรรคการเมืองใหญ่อย่างชัดเจน
2.แม้จะเป็นการแข่งขันของ 2 พรรคการเมืองใหญ่ แต่ไม่ใช่การแข่งขันที่สูสี ช่องว่างระหว่างสองพรรคใหญ่ 80 ที่นั่งเป็นอย่างต่ำ
3.อนาคตของพรรคขนาดกลางและขนาดเล็กไม่สดใส
4.เริ่มเกิดภูมิภาคนิยม พรรคใหญมีฐานเสียงที่ชัดเจน เช่น เหนือ- อีสาน เพื่อไทย และภาคใต้ ประชาธิปัตย์
5.การแข่งขันใน กทม.สูสีกว่าที่คิด คนกรุงเทพฯไม่เคยจงรักภักดีต่อพรรคการเมืองใด
6.ความตื่นตัวทางการเมืองของผู้มีสิทธิเลือกตั้งสูงขึ้นตลอด
7.ตระกูลเก่าทางการเมืองลดบทบาทลง บางตระกูลสูญพันธ์
ส่วนความยุติธรรมระยะเปลี่ยนผ่าน ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในแวดวงกฎหมาย และวิชาการ หมายถึง การแสวงหาความยุติธรรมในสังคมประชาธิปไตยที่เพิ่งผ่านพ้นการใช้ความรุนแรงต่อพลเมืองของตนอย่างโหดร้าย กลายเป็นโจทก์ใหญ่ที่ผู้นำในระบอบใหม่ต้องเผชิญ คือจะจัดการกับอดีตอันโหดร้ายที่รัฐบาลก่อนหน้านั้นเป็นผู้ดำเนินการอย่างไร
จุดมุ่งหมายของ “ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน”คือความพยายามที่สังคมต้องเดินหน้าต่อไปโดยไม่ให้อดีตกลับมาซ้ำรอย และเพื่อคืนความยุติธรรมให้เหยื่อความรุนแรง ทั้งยังเป็นการสถาปนาหลักนิติรัฐ และหลักสิทธิมนุษยชนให้ลงหลักปักฐานในสังคม ด้วยการดำเนินการผ่านกลไก 6 ข้อ คือ การสืบสวนสอบสอน ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด , การแสวงหาความจริง ,การชดเชยและเยียวยา , การปฏิรูปสถาบัน องค์กรที่มีส่วนในการละเมิดสิทธิมนุษยชน , การปลด หรือห้ามไม่ให้คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในระบอบเก่าดำรงตำแหน่งในระบบราชการ และ การนิรโทษกรรม
Produced by VoiceTV