ไม่พบผลการค้นหา
2 ศิลปินคนเดือนตุลา...จาก 14 ตุลา-สงครามสีเสื้อ
40 ปี 6 ตุลา เมื่อยังมีบาดแผล ประวัติศาสตร์ก็ยังมีชีวิต
'หมุนกงล้อประวัติศาสตร์ 14 + 6 ตุลา' สู่อนาคตการเมืองไทย
นักโทษ 6 ตุลา เหยื่อ 112
4 กระทิงแดงเล่าอดีต 6 ตุลา
หนังชวนจำ 6 ตุลา 'ดาวคะนอง' ปักธงหนังไทยในเวทีโลก
40 ปี 6 ตุลา 2519 ภาพสะท้อนความรุนแรงทางการเมือง
สังคมไทยเรียนรู้อะไรจาก 41 ปี 6 ตุลา
รำลึก 36 ปี 6 ตุลา จากปากคำ 3 อดีตผู้นำนักศึกษา
‘6 ตุลา 19’ ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป ‘6 ตุลา 59’ กำราบเสี้ยนหนามคอมมิวนิสต์จีน
คอป. เร่งเยียวยา...ญาติวีรชน พฤษภา 35 – 53
6 ตุลา 19 'ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป' 6 ตุลา 59 'กำราบเสี้ยนหนามคอมมิวนิสต์จีน'
'ประชาธิปไตยสมบูรณ์' อยู่ตรงไหน
40 ปี 6 ตุลาฯ หรือประเทศไทยกำลังเจาะเวลาหาอดีต?
ชีวิต ความคิด อิสรภาพ ของณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
'6 ตุลาคม 2519' วันที่ต้องจดจำ
'ถ้ารู้ธรรมะพระพุทธเจ้า อาตมาคงไม่ติดคุก'
การเมืองในแบบเรียนประวัติศาสตร์ไทย
40 ปีความเป็นเพื่อน
"35 ปี 6 ตุลา" ยังไงก็ไม่ลืม!
35 ปี 6 ตุลา ในสายตา 'คนรุ่นใหม่'
Oct 6, 2011 12:16

 

วันที่ 6 ตุลาคม 2554  ครบรอบ 35 ปี เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เป็นเหตุการณ์นองเลือดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ที่เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์นองเลือดในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 เพียง 3 ปีเหตุการณ์ 6  ตุลา 2519  เป็นเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่รัฐ และกลุ่มที่รัฐให้การสนับสนุน เข้าไปล้อมจับกุม และสังหารนักศึกษา ประชาชนภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่างที่นักศึกษาและประชาชนกำลังชุมนุมประท้วงเพื่อเรียกร้องให้จอมพลถนอม กิตติขจร เดินทางออกนอกประเทศ

 

เหตุการณ์ 6 ตุลา มีการรายงานจำนวนผู้เสียชีวิตทั้ง นักศึกษา และประชาชน 41 ราย ถูกจับกุมอีกจำนวนหนึ่ง  เหตุการณ์นี้จบลงด้วยการรัฐประหาร ของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน นำโดย พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจการปกครองจาก ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช โดยมีนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี  ส่วนนักศึกษาที่ถูกจับกุมต้องต่อสู้คดีนานกว่า 3 ปี ในที่สุดมีการออกกฎหมายนิรโทษกรรม ทำให้ผู้เกี่ยวข้องในเหตุการณ์นี้ไม่ต้องถูกสอบสวนลงโทษ

 

รายการ Intelligence  เชิญ 2 คนรุ่นใหม่  คือนางสาวภรณ์ทิพย์ มั่นคง ตัวแทนกลุ่มประกายไฟการละคร และ นายรักษ์ชาติ์ วงศ์อธิชาติ อุปนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  มาสะท้อนมุมมองต่อเหตุการณ์ 6  ตุลา   ทั้งสองเป็นคนรุ่นใหม่ที่สนใจการเมือง และทำกิจกรรม เรียนรู้เหตุการณ์ 6 ตุลา ผ่านทั้งตำราเรียน และการขวนขวายเรียนรู้ด้วยตนเอง  จากหนังสือ วีดีทัศน์ และการถ่ายทอดจากคนที่อยู่ในเหตุการณ์

 

ทั้ง 2 มีส่วนร่วมในการจัดงานรำลึก 35 ปี เหตุการณ์ 6 ตุลา ที่องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 3-9 ตุลาคม ไฮไลท์ส่วนหนึ่งอยู่ที่เวทีเสวนา “จากพ่อจารุพงศ์ ทองศิลป์ ถึงแม่น้องเกด” สะท้อนหัวอกพ่อ และแม่ที่สูญเสียลูกชาย และลูกสาวไปในเหตุการณ์รุนแรงทางการเมือง ทั้งปี 2519 และปี 2553  งานรำลึก 25 ปี เหตุการณ์ 6 ตุลาในปีนี้ จะเน้นการถ่ายทอดเรื่องราวจากผู้อยู่ในเหตุการณ์ 6 ตุลา จากรุ่นสู่รุ่น

 

ในมุมมองคนรุ่นใหม่ทั้งสอง เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 มีทั้งส่วนเหมือน และส่วนต่างกับเหตุการณ์เมษา- พฤษภา  2553  สิ่งที่เหมือนกันคือ ประชาชนตกเป็นผู้ถูกกระทำ จากการกระทำของรัฐ  ผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างทางการเมืองถูกกำจัด ด้วยการใช้ความรุนแรง

 

ทั้งสองเสนอให้มีการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เป็นประวัติศาสตร์ทางการเมือง โดยเฉพาะเหตุการณ์ 6 ตุลา ต้องกล้าพูดถึงประเด็นที่เป็นแกนกลางของเหตุการณ์ 6  ตุลา  โดยต้องตัดอคติที่กีดกันผู้ที่มีความคิดต่างกันออกไป  และต้องเป็นการให้ข้อมูลที่บอกเล่าพัฒนาการของเหตุการณ์ เบื้องหน้า เบื้องหลังเหตุการณ์ ไม่ใช่การเรียนการสอนแบบท่องจำ

 

คนรุ่นใหม่ทั้งสองยังฝากถึง “คนเดือนตุลา” ฝ่ายซ้าย –ขวา ที่แปรเปลี่ยนมาเป็น เสื้อเหลือง เสื้อแดง เสื้อหลากสี ให้ทบทวนบทเรียนจากเหตุการณ์เดือนตุลา  รำลึกถึงการเข่นฆ่าคนที่มีความเห็นต่าง โดยย้ำว่าทุกสังคม คนที่มีความคิดเห็นแตกต่างทางการเมืองอยูร่วมกันได้ อย่าให้เหตุการณ์นองเลือดซ้ำรอยอีก

 

Produced by Voice TV

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog