ไม่พบผลการค้นหา
ศปช. สะท้อนปัญหาการใช้ พรก.ฉุกเฉินเหตุการณ์ เมษา - พฤษภา 53
ทิศทางเศรษฐกิจไทยหลังน้ำท่วม
คลี่ปัญหาความเหลื่อมล้ำ- ไม่เป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรม
รวมพลังคนดีฝ่าวิกฤติน้ำท่วม
วิเคราะห์การอภิปรายไม่ไว้วางใจวันแรก
น้ำท่วมใหญ่กระทบเศรษฐกิจไทยหนัก
ภาพด้านบวก - ด้านลบจากวิกฤติมหาอุทกภัย
วิกฤติแรงงานใต้น้ำ !
เปิดแผนปรองดอง เพื่อไทย VS ภูมิใจไทย
2 ตัวช่วยบิ๊กแบ๊กทางการเมือง ลดโอกาส“อุทกรัฐประหาร – วารีภิวัฒน์”
19 ปี วัดพระบาทน้ำพุ ภาพสะท้อนสถานการณ์โรคเอดส์ในไทย
กยอ.เดินหน้าสร้างความมั่นใจประเทศไทย
เสื้อแดง เหยื่ออยุติธรรม
เปิดใจคณะผู้สร้างภาพยนตร์ "นวมทอง" สีไหนๆก็ดูได้
วิกฤติหนี้โลกสู่บทเรียนประเทศไทย
'มาตรการจัดเก็บภาษีน้ำท่วม' กรณีศึกษาจากออสเตรเลีย
ธรณีพิโรธที่ “เซนได” เปลี่ยนทฤษฎีแผ่นดินไหวและสึนามิ
“ซุปเปอร์เอ็กซ์เพรสฟลัดเวย์” 1 ใน 11 มาตรการแก้น้ำท่วม
เฟซบุ๊ก ท้าทายอำนาจศักดิ์สิทธิ์
ฟื้นฟูภาคการเกษตร...ต้นทุนประเทศ !
“โซเชียลเน็ตเวิร์ค” สงครามน้ำลายในวิกฤติน้ำท่วม
Nov 11, 2011 12:45

รายการ   Intelligence ประจำวันที่ 11 พ.ย. 2554

 

ในมุมการรายงานข่าวมหาอุทกภัยรอบนี้ สำนักข่าวต่างประเทศให้ความสนใจที่ความเคลื่อนไหวในเว็ปไซค์สังคมอนนไลน์หรือโซเชียล มีเดีย อย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน โดยมีแรงกระตุ้นมาจากข้อมูลที่สับสนของภาครัฐ   อินเทอร์เนทกลายเป็นแหล่งสำคัญในการให้ข้อมูลข่าวสาร เวปไซด์ข่าวมีอัตราการเข้าชมสูงเป็นประวัติการณ์ แต่มีทั้งด้านบวกและด้านลบ

 

ด้านบวก คือ อัพเดทข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็ว แต่ด้านลบคือ การขาดการกลั่นกรองอาจเกิดการผิดพลาดได้ง่าย  มีตัวเลขยืนยันการขยายตัวของโซเชียลมีเดีย จากตัวแทนขายโฆษณาบนทวิตเตอร์ ระบุว่า จำนวนผู้ใช้ทวิตเตอร์ในไทย  เพิ่มขึ้น 20 เปอร์เซน จาก 6 แสนคนเมื่อเดือนกันยายน เพิ่มเป็น 720,000 คน ในเดือนตุลาคมม เช่น เดียวกับเฟซบุ๊คที่ขยาย  ตัวกว่า 18 เปอร์เซน รวมถึงเวปไซด์ยูทูป

 

อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต มองว่า การขยายตัวของโซเชียลมีเดีย จากเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 53   จนถึงวิกฤติมหาอุทกภัย ไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ  แต่ยอมรับว่าปริมาณการใช้ของผู้ที่ใช้โซเชียลมีเดียอยู่แล้วเพิ่มากขึ้น ทั้งการพยายามค้นหาข้อมูล และการระบายความในใจ  นัยสำคัญที่เขาสังเกตุเห็นคือ สถิติการ  unfriend  หรือ unfollow ในเฟซบุ๊ค และทวิตเตอร์ เพิ่มสูงขึ้น สะท้อนว่า ความขัดแย้งในเชิงทัศนะคติที่ดำรงอยู่ตั้งแต่ครั้งสงครามสีเสื้อไม่ได้เบาบางลงไป  อาทิตย์ วิจารณ์ว่า การบริหารจัดการสื่อเก่า และสื่อใหม่ของรัฐบาลมีปัญหา  ไม่มี protocol ในการสื่อสาร ทำให้บทบาทการให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นระบบไปตกอยู่ที่ภาคเอกชน เช่น  รู้สู้ flood  , รู้ทันน้ำ , Thaiflood , สยามอาสา , น้ำขึ้นให้รีบบอก  ในฐานะผู้ประสานเครือข่ายพลเมืองเน็ต ยังประเมินว่า พรรคประชาธิปัตย์มีการใช้ สื่อใหม่ทั้ง เฟซบุ๊คและทวิตเตอร์ได้ดีกว่าพรรคเพื่อไทย  พรรคประชาธิปัตย์ใช้สื่อใหม่เข้าถึง โซเชียล เน็ทเวิร์ค ได้ดีกว่าพรรคเพื่อไทย และคนเสื้อแดง ที่ยิ่งสื่อสารยิ่งแคบลงเป็นการสื่อสารเฉพาะ คนในกลุ่มเท่านั้น

 

Produced by Voice TV 
Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog