ไม่พบผลการค้นหา
เลือกตั้งทำให้คนฉลาดขึ้น ?
ประชาธิปไตยแบบอำมาตย์ 'อย่าให้ประชาชนทนไม่ไหว'
'บัตรประจำตัวประชาชน' หลักฐานแสดงตนของคนไทย
แผ่นดินไหวรอบ 2 ที่ญี่ปุ่น
ทิศทางราคาทองคำ
"สังคมไทย" โครงสร้างอำนาจที่ไม่เท่าเทียม
ก้าวสู่ 50 ปี กรมการพัฒนาชุมชน
Beauty Talk: Flawless Face in Action หน้าเนียนสวยขั้นปฏิบัติ
สู้! เพื่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
'โครงการรับจำนำข้าว' ชาวนาได้ประโยชน์ ?
'เสียงสะท้อนชาวนาไทย' จำนำ – ประกันรายได้?
มวลชนสั่งสอนพรรคเพื่อไทย ?
นับถอยหลังคดี ปรส. หมดอายุความปีหน้า
วิจัยต้นทุนทางการเมือง "กลุ่ม 111"
เปิดร่างพ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ
“มนุษย์ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติ” ถอดบทเรียน 1 ปี สึนามิถล่มญี่ปุ่น
เอกชนพอใจท่าทีรัฐบาล รับลูกพัฒนาภาคใต้
ซาเล้ง มือฉีดนำกรด ทำมาแล้ว 30 ครั้ง
'กลับสู่กระบวนการยุติธรรมปกติ' แก้ปมขัดแย้งพ.ร.บ.ปรองดอง
ฟื้นฟูภาคการเกษตร...ต้นทุนประเทศ !
เปิดรายงาน “โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม”
Feb 10, 2011 11:08

โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ยื่นคำร้องผ่านอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ ยกประเด็นขอบเขตอำนาจทางพื้นที่ เนื่องจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีสัญชาติอังกฤษโดยกำเนิด 

 

อาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล นักวิชาการจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อธิบายระบบศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ ICC  ว่า  เป็นศาลที่ผู้รับผิดทางอาญาเป็นบุคคลธรรมดา   เป็นศาลเสริม เข้าไปไต่สวนในกรณีที่กระบวนการยุติธรรมในประเทศภาคีสมาชิกไม่สามารถดำเนินการได้   ขณะนี้มีประเทศภาคีสมาชิกที่ให้สัตยาบรรณแล้ว 114  ประเทศ มี 54  ประเทศที่ลงนามในสนธิสัญญากรุงโรม แต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบรรณ รวมทั้งประเทศไทย

ขอบเขตอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศ แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ เขตอำนาจทางเวลา เขตอำนาจทางเนื้อหา และเขตอำนาจทางพื้นที่หรือบุคคล  ศาลอาญาระหว่างประเทศ ดำเนินคดี 4 ฐานความผิด คือ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์  อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ อาชญากรรมสงคราม และการรุกราน

การยื่นฟ้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศกระทำได้ผ่าน 2 องค์กร คือ รัฐภาคี และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ แต่นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ยื่นคำร้องผ่านอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ ให้เปิดการไต่สวนด้วยตนเอง โดยยกประเด็นขอบเขตอำนาจทางพื้นที่ เนื่องจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีสัญชาติอังกฤษโดยกำเนิด  เนื่องจากอังกฤษเป็นรัฐภาคีของศาลอาญาระหว่างประเทศ

อาจารย์ปิยบุตร สำรวจสถิติคำร้องที่องค์กรต่าง ๆ ยื่นต่อ อัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ ในรอบ 8 ปี นับแต่การก่อตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศเมื่อปี 2002 พบว่า มีการยื่นคำร้องถึง 3,000 กว่าคำร้อง  แต่ที่มีการเปิดการไต่สวนมีเพียง  20 %  เท่านั้น


อาจารย์ปิยบุตร แบ่งเนื้อหารายงาน 250 หน้า ของโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายความของกลุ่มคนเสื้อแดง ที่ยื่นต่ออัยการศาลอาญาระหว่างประเทศเป็น 3 ส่วน  คือ   ความเป็นมาของคนเสื้อแดง  การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการสังหารหมู่ และขอบเขตอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศ

 

Produced by VoiceTV

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog