รายงานพิเศษจากสำนักข่าวเอพี ไปดูผลการศึกษาใหม่ ที่พบว่าปีกของนกแก้วในออสเตรเลียตะวันตก มีความยาวเพิ่มสูงขึ้น โดยนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการวิวัฒนาการที่รวดเร็วเช่นนี้เกิดขึ้นจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง
แม้ว่าเราไม่สามารถดูออกด้วยตาเปล่า แต่นกแก้วคอแหวน ซึ่งเป็นนกที่พบได้ทั่วไปในออสเตรเลียตะวันตก กำลังวิวัฒนาการ โดยผลการศึกษาพบว่าปีกของนกมีความยาวขึ้นมากถึง 5 มิลลิเมตร เมื่อเทียบกับเมื่อ 47 ปีก่อน หรือในปีคศ.1970
ศาสตราจารย์ ดีแลน คอร์คซินสกิจ จากมหาวิทยาลัยนอร์ทเทอดาม เชื่อว่าการวิวัฒนาการที่รวดเร็วเช่นนี้อาจมีสาเหตุมาจากอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น จากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ปีกยาวขึ้น ซึ่งอาจช่วยให้นกขับความร้อนออกจากร่างกายได้มากขึ้น และปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้มากขึ้น
งานวิจัยวิวัฒนาการของนกจากสภาพอากาศ เกิดขึ้นที่พิพิธภัณฑ์ Western Australia ซึ่งมีตัวอย่างนกเก็บไว้ถึง 50,000 ตัว โดยนักวิจัยสามารถนำมาใช้ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างนกแก้วคอแหวนจากเมืองเพิร์ธ และเมืองคัลกูลี ในออสเตรเลียตะวันตกได้
ขณะนี้ทีมวิจัยอยู่ในขั้นตอนการทดสอบว่าสีเหลืองที่สว่างขึ้นของขนนกแก้วคอแหวน เป็นผลมาจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยหรือไม่