จากข่าวแถลงจับกุมคดีฆ่ายกครัว 8 ศพ ที่จังหวักกระบี่ คำว่า "มือปืน" อาชีพรับจ้างฆ่าคนก็ได้กลับมาให้เห็นอีกครั้ง ย้อนดูงานวิจัยเกี่ยวกับแรงจูงใจที่ทำให้เข้าสู้เส้นทางอาชีพมือปืนรับจ้าง?
“งานง่าย เงินมาก” - รู้สึกสนุกกับงานง่ายๆ สบายๆ แต่ได้เงินใช้เที่ยวเล่นเป็นจำนวนมาก
“คบเพื่อนนักเลง ชักจูงเข้าสู่วงการมือปืน” - คบเพื่อนนักเลงแถวบ้าน ได้ติดตามไปเที่ยว จนได้รู้จักกับกลุ่มโจรเสือที่ออกปล้นชาวบ้าน แล้วติดตามโจรเหล่านั้นออกปล้นบ้าง ก่อนพัฒนามาเป็น "รับงานฆ่า" ซึ่งได้เงินมากกว่าการปล้น
เป็นแรงจูงใจที่ปรากฎในงานศึกษาวิจัยเรื่อง การเข้าสู่วงการมือปืนรับจ้าง : ศึกษาเฉพาะกรณีผู้ต้องขังเรือนจำกลางบางขวาง (2548) โดย ฑิตฐิตา ธิติธรรมพฤกษ์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
ส่วนงานวิจัยเรื่อง "เครือข่ายระบบอุปถัมภ์ : ศึกษาเฉพาะกรณีมือปืนรับจ้าง" โดย พงษ์ศักดิ์ ขำเพชร ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2540) พบว่า มือปืนแทบทุกคนในงานวิจัยมีภูมิหลังทางเศรษฐกิจที่ยากจน และอาศัยอยู่ในบริเวณที่ใกล้เคียงกัน
มือปืนทำงานให้ผู้อุปถัมภ์ทุกประเภท เช่น คุมบ่อนการพนัน ปลูกกัญชา รับงานฆ่า โดยที่ผู้อุปถัมภ์ให้การดูแลเรื่องความปลอดภัย ทรัพย์สินเงินทองทั้งของมือปืน และบุตร ภรรยา ทำให้มือปืนตอบแทนด้วยความภักดีและชีวิต
Source :