ไม่พบผลการค้นหา
ชุดนิสิตกับเซ็กซี่บอย
ขอทานที่น่าสงสาร คนไร้บ้านที่น่ากลัว
คดีผู้หญิงยิง ฮ. ความยุติธรรมที่มาช้าดีกว่าไม่มา
ยุคแห่งการห้ามดื่มเหล้าในสหรัฐอเมริกา
ข้อมูลไทย เปิดเผยและโปร่งใสระดับไหน?
กำลังซื้อของแรงงานต่างด้าวที่ไม่อาจมองข้าม
รถบ้านจีน ประตูบานใหม่การท่องเที่ยวไทย
โพสต์รูปเหล้าแบบไหนผิด?
ไม่มีใครอยากให้ลูกโตไปแล้วจน
อคติทางชาติพันธุ์ในเมียนมากับโรฮิงยา
กฎหมายห้ามมีกิ๊กมีจริงหรือ?
เมื่อไทยเบฟฯ ซื้อ KFC
โอเพ่นดาต้าในแง่ศิลปวัฒนธรรม
‘เทย์เลอร์ สวิฟต์’ ฟ้อง 1 เหรียญเพื่อศักดิ์ศรี
คุมสื่อออนไลน์ - สแกนนิ้วซื้อซิม เพื่อความมั่นคง
ภาคประชาชนกังวล กฎหมายบัตรทอง
ฉีกบัตรจาก 'ไชยันต์' ถึง 'โตโต้'
หมดยุคล่าเมืองขึ้น ถึงยุคพัฒนาคุณภาพชีวิต
โกงเพราะชั่วหรือโกงเพราะวัฒนธรรมอำนวย
ขึ้นค่าแรงทำเศรษฐกิจพัง ธุรกิจเจ๊งจริงหรือ?
ทำความรู้จักสรรพลี้หวน
Aug 28, 2017 13:39

คดีหูของ ‘ไพฑูรย์ ธัญญา’ การเหยียดเพศผ่านบทกวี สามารถอ้างขนบวรรณกรรมเก่าแก่และปฏิภาณกวีที่เรียกว่า ‘สรรพลี้หวน’ได้หรือไม่?

สรรพลี้หวน (อ่านว่า สับ-ลี้-หวน) เป็นวรรณกรรมท้องถิ่นทางภาคใต้ (จังหวัดนครศรีธรรมราช) ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าใครเป็นผู้ประพันธ์ สันนิษฐานกันว่าคงจะเป็นปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ลักษณะการประพันธ์ เป็นแบบ นิทานคำกลอน หรือ กลอนสุภาพหรือ กลอนแปดตามขนบนิยม เนื้อหาเป็นคำผวนเกี่ยวกับเรื่องเพศและอวัยวะเพศ มีเนื้อหาชวนให้ขบขันมากกว่าก่อให้เกิดอารมณ์ทางเพศ มีความยาว 197 บท เนื้อหายังไม่จบสมบูรณ์

สรรพลี้หวนสำนวนเก่าพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 โดยขุนพรหมโลก (นามแฝง) ซึ่งผู้พิมพ์ให้ความเห็นไว้ว่า ผู้แต่งอาจเป็นชาวนครศรีธรรมราช แต่งขึ้นประมาณ พ.ศ. 2425 - 2439 ต่อมามีผู้แต่งเลียนแบบขึ้นอีกหลายสำนวน ในหอพระสมุดเองมีหนังสือเรื่องหนึ่งชื่อ "ศัพท์ลี้หวน" ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกัน

ในสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคใต้ เล่ม 16 ,2542 ได้ประเมินคุณค่าทางวรรณคดีของวรรณคดีเรื่องนี้ว่า "สรรพลี้หวนมิใช่หนังสือลามก แต่เป็นหนังสือสัปดนอย่างมีศิลปะ และผู้แต่งเป็นนายของภาษาอย่างแท้จริง"

หนังสือ "วรรณกรรมทักษิณ วรรณกรรมคัดสรร" ซึ่งเป็นผลงานการรวบรวมวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (2548) ซึ่ง "ประจักษ์ สายแสง" ได้เสนอบทความเรื่อง "สรรพลี้หวน: ร่องรอยของฮินดูในนครศรีธรรมราช" ได้วิเคราะห์ในแง่จุดมุ่งหมายการแต่งวรรณคดีเรื่องนี้ว่า กวีแต่งวรรณคดีเรื่องนี้โดยมีความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ลัทธิศักติ ตันตระ โดยแต่งวรรณคดีเรื่องนี้เพื่อบูชาพระอุมา เพื่อความเป็นศิริมงคล โดยให้เหตุผลประกอบการวิเคราะห์ 3 ประการคือ ประการที่ 1 เป็นวรรณคดีนิทาน ซึ่งพระอุมาโปรดฟังนิทาน ประการที่ 2 เป็นเรื่องทางเพศ พระอุมาโปรดเรื่องทางเพศ ประการที่ 3 ผู้แต่งใช้กลวิธีชั้นสูงเป็นกลอนกลบทซึ่งต้องใช้ศิลปะอุตสาหะและวิริยะในการแต่งมากเป็นพิเศษ ทั้งนี้ผู้เขียนบทความระบุเหตุผลสนับสนุนว่า นครศรีธรรมราชมีร่องรอยวัฒนธรรมฮินดูปรากฏอยู่ดังปรากฏหลักฐานเป็นจำนวนมาก

Source:
https://sites.google.com/site/phasathinti/nithan-phun-ban-phakh-ti/reuxng-srrph-li-hwn
https://www.facebook.com/nattharavutm/posts/10155620183453582
 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog