ไม่พบผลการค้นหา
ผู้เชียวชาญวิเคราะห์สึนามิถล่มญี่ปุ่น
“จ่ายครบ จบแน่” ธุรกิจผลิตปัญญาชน ?
ปราสาทพระวิหาร…ระเบิดเวลา รัฐบาลใหม่?
นับถอยหลังศาลโลกพิพากษา ตอนที่ 2
"รอยเลื่อนอันดามัน" อาจเกิดสึนามิถล่ม 6 จังหวัดใต้
“ซุปเปอร์เอ็กซ์เพรสฟลัดเวย์” 1 ใน 11 มาตรการแก้น้ำท่วม
“สื่อต่างประเทศ” กับวิกฤติการเมืองไทย
“บ้านหลังแรก” คนจนไม่มีสิทธิ ?
“การเมือง” มาแล้วก็ไป อย่าใช้ “ตำรวจ” เป็นเครื่องมือรักษาฐานอำนาจ
นับถอยหลังศาลโลกพิพากษา
เรียกร้อง 'ปฏิรูปกองทัพ' คู่ขนาน 'ปฏิรูปการเมือง'
วิจัยชนบทกับ "ครก. 112"
“ต้องเอาคนผิดมาติดคุก”...ก่อนปรองดอง!
ธรณีพิโรธที่ “เซนได” เปลี่ยนทฤษฎีแผ่นดินไหวและสึนามิ
ประเทศไทยไปไกลกว่า สองนคราประชาธิปไตยแล้วหรือยัง ?
“ชีวิต ความคิด อิสรภาพ”…ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
'อาเซียนภาคประชาชน' เวทีคู่ขนานประชุมอาเซียนซัมมิท
สังคมไทย กับ ความหลากหลายทางเพศ
“ด้วยสองมือพ่อ”
เปิดงานวิจัย “การเลือกฝ่ายทางการเมืองของพระสงฆ์ไทย”
เตรียมรับมือ “แผ่นดินไหว-สึนามิ” หายนะโลก!
Mar 23, 2011 12:59

“ถึงแม้ว่าเราไม่อาจคาดเดาได้ว่าจะเกิดเมื่อไร อย่างไร แต่เราสามารถที่จะเตรียมการรับมือได้”

 

 

เมื่อวันศุกร์ที่ 11 มีนาคม ที่ผ่านมา เกิดเหตุแผ่นดินไหว 7.9 ริกเตอร์  นอกชายฝั่งทางตะวันออกของเกาะฮอนชู ทางตอนเหนือของญี่ปุ่น โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ห่างจากเมือง เซนได จังหวัดมิยากิ ราว 125 กิโลเมตร ลึกลงไปใต้ทะเล 10 กิโลเมตร ก่อนที่จะปรับระดับความรุนแรงขึ้นเป็น 8.9 ริกเตอร์ และ 9.0 ริกเตอร์   ซึ่งนับเป็นเหตุแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดในรอบ 140 ปี พร้อมมีการประกาศเตือนภัยการการเกิดสึนามิสูง 6 เมตร ขณะที่ แรงสั่นสะเทือนส่งผลกระทบไปหลายเมือง รวมทั้งกรุงโตเกียวทำให้บ้านเรือน และอาคารสูงสั่นสะเทือน เกิดไฟไหม้บ้านเรือน และโรงกลั่นน้ำมันได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก ประชาชนแตกตื่นวิ่งหนีกันอย่างโกลาหล 
 
เกิดคลื่นยักษ์สึนามิความสูงถึง 10 เมตร ซัดเข้าถล่มเมืองเซนได กวาดสิ่งปลูกสร้าง บ้านเรือน รถยนต์ และทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางหน้าจนพังเสียหายยับเยิน โดยสื่อมวลชนญี่ปุ่นได้ถ่ายทอดสดภาพเหตุการณ์ขณะที่เกิดสึนามิ สร้างความตกตะลึงไปทั่วโลก ก่อนที่จะทิ้งเมืองทั้งเมืองให้กลายเป็นเมืองร้างที่เต็มไปด้วยกองเศษซากปรักหักพังในพริบตา 
 
ความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงในครั้งนี้ ยังส่งผลให้เกิดความเสียหายกับระบบหล่อเย็นของเตาปฎิกรณ์นิวเคลียร์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 2 แห่งในจังหวัด ฟูกูชิม่า ทำให้อาคารเตาปฎิกรณ์นิวเคลียร์เกิดระเบิด 
 
ผศ.ดร.อาณัติ เรืองรัศมี อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สรุป เกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหวไว้ว่า “ถึงแม้ว่าเราไม่อาจคาดเดาได้ว่าจะเกิดเมื่อไร อย่างไร แต่เราสามารถที่จะเตรียมการรับมือได้ โดยการหมั่นฝึกฝนเตรียมความพร้อมหากเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริง ศึกษาเส้นทางการหลบภัยจากแผนที่เสี่ยงภัย นอกจากนั้นสิ่งที่สำคัญสุดคงหนีไม่พ้น ควรจะมีการเตรียมตัวเรื่องสภาพจิตใจ ไม่ควรตื่นตระหนกเมื่อเกิดเหตุการณ์
 

Produced by VoiceTV

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog