สมาคมสตรีข้ามเพศแห่งประเทศไทย โดยนายกสมาคม คือคุณ นก ยลดา เกริกก้อง สวนยศ เปิดตัวโครงการ Sister’s Hand หรือเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า “จิ๋มเอื้ออาทร” หรือเรียกให้เป็นชาวบ้านมากกว่านั้นภาษาพาดหัวข่าวใช้คำว่า “เฉาะฟรี” ซึ่งเป็นโครงการทำที่ร่วมกับโรงพยาบาลยันฮี โดยคัดเลือก ผู้ที่จะได้รับการแปลงเพศฟรี จากผู้สมัครทั้งหมด ซึ่ง ทางกลุ่ม สตรีข้ามเพศอ้างว่า เหตุที่ต้องสนับสนุน ช่วยเหลือให้คนได้รับการแปลงเพศ เนื่องจากภาวะที่สภาพจิตใจไม่ตรงกับเพศสภาพของตนเองนั้นเป็นความป่วยไข้ อย่างหนึ่งที่เรียกว่า G.I.D (Gender Identity Disorders) และคนป่วยได้รับความทุกข์ทรมาณอย่างมากจากการที่ตนเองเปิดเป็นผู้หยิงแล้ว ต้องถูกกักขังในร่างกายของผู้ชาย
แนว คิดว่าด้วยเรื่องเพศ การทำให้การแบ่งเพศ ออกเป็น 2 เพศ คือหญิงและชาย อีกทั้งการกำหนดพฤติกรรมการร่วมเพศว่าต้องเป็นการร่วมเพศระหว่างชายกับหญิง โดยหญิงเป็นฝ่ายรับ ชายเป็นฝ่ายสอดใส่ เรื่อยไปจนถึงการร่วมเพศเพื่อการสร้างครอบครัว การมีลูกนั้นเป็นเรื่อง “ธรรมชาติ” เป็นเรื่อง “ปกติ –ธรรมดา” นั้นเป็นผลผลิตขององค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ของตะวันตก
ความ สัมพันธ์ทางเพศ ในคำอธิบายทางการแพทย์ เชื่อว่ามนุษย์ที่มีเพศสัมพันธ์กับเพศตรงกันข้ามคือคนปกติ ส่วนคนที่มีเพศสัมพันธ์กับคนเพศเดียวกัน ถือเป็นความผิดปกติ และมีคำเรียกว่าคือ Heterosexual กับ Homosexual อันเป็นคำที่เกิดขึ้นมาในปี 1860 โดยใช้ความรู้ทางการแพทย์ และจิตวิทยามาช่วยอธิบาย และสร้างสิ่งที่เรียกว่า normalization คือกระบวนการสร้างความปกติ ธรรมดาให้กับ พฤติกรรมรักต่างเพศ และเหยียดพฤติกรรมรักร่วมเพศ ว่าคือความป่วยไข้หรือความผิดปกติ
ทั้งนี้ เพื่อ ยืนยันว่าความรู้เหล่านี้สร้างขึ้นมาได้ ก็เปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน เพราะเมื่อทำให้รักร่วมเพศเป็นความป่วยไข้ทางจิตได้ ก็ยกเลิกได้ เพราะทางรัฐบาลประเทศฝรั่งเศสได้ถอดถอนภาวะบุคคลข้ามเพศออกจากบัญชีโรคทาง จิตเวทแล้ว ดังนั้น การเป็นคนข้ามเพศ หรือการที่เราเป็นคนรักเพศเดียวกัน ไม่ถือว่าเป็นโรคจิตอีกต่อไป ซึ่งคำตัดสินนี้ ขยายองค์ความรู้ของเราและ ทำให้เรื่องเพศ เพศสภาพ และพฤติกรรมทางเพศ นั้นมีความหลากหลายมากกว่าที่เราคิด
สิ่ง ท้าทายสังคมของเราในอนาคต คือการลื่นไหลในความหมายของเพศที่จะไม่ตายตัวอยู่กับความเป็นหญิง ชาย ยิ่งไปกว่านั้น ยังหลากหลายไปกว่า ความเป็นเกย์ กะเทย ทอม ดี้ ทั้งนี้ เพศสภาพหรือ Gender ของเรา นอกจากจะไม่จำเป็นต้อง��อดคล้องกับอวัยวะเพศของเรา ยังปรับเปลี่ยนได้เสมอ หรือที่เรียกกันว่า Gender as performance คือ เพศสภาพเป็นแค่บทบาทที่เราแสดงออกไปบางครั้งอาจจะสอดคล้องกับบทบาท ที่สังคมวางไว้ให้ ซึ่งความ ไม่ตายตัวของอัตลักษณ์ทางเพศ ในโลกปัจจุบันและแนวโน้มของโลกอนาคต อันเป็นคำถามว่า และอัตลักษณ์ที่ยังเชื่อมโยงกับรัฐชาติอันเป็นผลผลิตของสังคมปลายศตวรรษที่ 19 ที่ยังกำหนด คำนำหน้า นาย นาง นางสาว นั้น จะต้องปรับเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง
Produced by VoiceTV