ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - แอมะซอนเล็งทำเลสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ - Short Clip
World Trend - เรียนดนตรี-พูดภาษาอื่น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพสมอง - Short Clip
World Trend - ประชากรญี่ปุ่นลดต่อเนื่อง 10 ปี - Short Clip
World Trend - 'อาหารห่อกลับ' ปัจจัยเร่งโรคอ้วนในเด็กอังกฤษ - Short Clip
World Trend - 'ล่าหินอุกกาบาต' ธุรกิจทำเงินมหาศาล - Short Clip
World Trend - ญี่ปุ่นมุ่งแก้ปัญหาฆ่าตัวตายอย่างจริงจัง - Short Clip
World Trend - ผลสำรวจชี้ คนรุ่นใหม่มองชีวิตในแง่ร้าย - Short Clip
World Trend - ‘แดร็กควีน’ สอนเด็กอนุบาลอังกฤษให้เปิดกว้างทางเพศ - Short Clip
World Trend - คุณยายชาวญี่ปุ่นวัย 116 ปี อายุมากที่สุดในโลก - Short Clip
World Trend - ข้อมูลออนไลน์ช่วยให้คนซื้อรถตัดสินใจซื้อเร็วขึ้น - Short Clip
World Trend - ทั่วโลกมีคนตายเพราะเซลฟี่กว่า 250 คน ในช่วง 6 ปี - Short Clip
World Trend - GM เตรียมปิดโรงงานในอเมริกาเหนือ-ปลดพนง. 14,000 คน - Short Clip
World Trend - นักวิจัยแนะใช้โซเชียลมีเดียวันละ 30 นาที - Short Clip
World Trend - วิจัยชี้ อักษรไขว้ไม่ช่วยป้องกันสมองเสื่อม - Short Clip
World Trend - 'อาหารไร้กลูเตน' เพิ่มความเสี่ยงเป็นเบาหวาน - Short Clip
World Trend - แอมะซอนเตรียมเปิดธุรกิจร้านชำ - Short Clip
World Trend - กูเกิลทุ่มงบแก้ปัญหาการเคหะในซานฟรานซิสโก - Short Clip
World Trend - การสูญทรัพย์ครั้งใหญ่ช่วงวัยกลางคนอาจทำให้ตายไว - Short Clip
World Trend - 'นักวิชาการผิวสี' ยังขาดโอกาสในวิชาชีพ - Short Clip
World Trend - วาฬเพชฌฆาต: ซูเปอร์สตาร์หรือนักโทษของสวนน้ำ? - Short Clip
World Trend - คนเคยอ้วนจะหิวกว่าคนทั่วไป - Short Clip
Feb 13, 2018 10:50

วิจัยใหม่ระบุ คนเคยอ้วนจะหิวกว่าคนทั่วไป และโรคอ้วนเป็นปัญหาที่กินเวลายาวนานตลอดชีวิต คนรอบข้างควรทำความเข้าใจ

มหาวิทยาลัยการวิจัยด้านวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีนอร์วีเจียน ประเทศนอร์เวย์ เปิดเผยผลการศึกษาใน 'วารสารสรีรวิทยา วิทยาต่อมไร้ท่อ และระบบการเผาผลาญ' โดยระบุว่า คนที่ลดน้ำหนักลงแล้ว ร่างกายยังคงผลิต 'เกรลิน' ซึ่งเป็นเปปไทด์ฮอร์โมนที่กำหนดความรู้สึกหิว เท่ากับว่าการลดน้ำหนักนั้นจะทำให้หิวยิ่งขึ้น และความไม่สมดุลของฮอร์โมนนี้จะไม่เปลี่ยนแปลงแม้เวลาผ่านไป

ทั้งนี้ ทีมนักวิจัยใช้เวลา 2 ปี ศึกษาและตรวจสอบพฤติกรรมการกินของผู้ป่วยโรคอ้วนที่มีน้ำหนักเฉลี่ย 125 กิโลกรัม จำนวน 34 คน ที่เข้าโปรแกรมลดน้ำหนักในช่วงเวลาดังกล่าว พบว่าทุกคนรู้สึกหิวมากกว่าช่วงก่อนลดน้ำหนัก โดยเมื่อจบโปรแกรมแต่ละคนเฉลี่ยลดน้ำหนักได้ 11 กิโลกรัม

อย่างไรก็ตาม ฮอร์โมนไม่ใช่สาเหตุเดียวของความรู้สึกหิว โดยในหลายกรณี เมื่อคนลดน้ำหนัก ร่างกายจะสั่งให้กักตุนพลังงานไว้ เพื่อเตรียมร่างกายให้กลับสู่น้ำหนักเท่าเดิม ทำให้ร่างกายรู้สึกหิวแม้ว่าจะไม่ต้องการพลังงานก็ตาม ซึ่งนอกจากปัจจัยทั้งหมดนี้แ��้ว ยังมีปัจจัยปลีกย่อยไปตามแต่ละบุคคลด้วย เช่น พันธุกรรม พฤติกรรมการกิน และการใช้ชีวิต

สุดท้ายแล้ว งานวิจัยฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่า โรคอ้วนเป็นปัญหาระยะยาวที่ต้องอาศัยความพยายามปรับตัวตลอดชีวิต ไม่ใช่ว่ารักษาระยะสั้นให้น้ำหนักผ่านเกณฑ์แล้วจะถือว่าสิ้นสุดปัญหาได้ คนรอบข้างจึงควรทำความเข้าใจและให้กำลังใจอย่างต่อเนื่อง

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog