นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ระบุในประเทศที่เป็นสังคมอารยะ สิทธิเสรีภาพของสื่อเป็นเรื่องที่ต้องปกป้อง อันที่ 2 ผมคิดว่าทางศาลปกครองมองในภาพรวมอย่างแน่นอน ถึงแม้ว่า Voice TV เอาข้อมูลที่มันเป็นข่าวเสร็จแล้ว ก็วิพากษ์วิจารณ์เติมเข้าไปโดยพิธีกรซึ่งมองประเด็นต่างๆ ตามพื้นฐานของตัวเอง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ประชาชนจะเสพแต่เฉพาะ Voice TV เท่านั้น ประชาชนก็เสพจากสื่ออื่นได้ด้วย แล้วประชาชนก็ไปชั่งใจใช้วิจารณญาณ
สื่ออื่นๆ อาจจะมีบางสื่อที่ไปเชียร์พรรคการเมืองโน้นหรือไปมองประเด็นนี้ ซึ่งมีมากมายแตกต่างจากที่พิธีกรของ Voice TV ได้พูดอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ไม่ได้หมายความว่า พิธีกร Voice TV มีอิทธิพลมากถึงขนาดพูดปั๊บแล้วประชาชนเชื่อเลย ผมคิดว่า ทางศาลปกครองมองจากมุมนั้น
มล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล ระบุ ในมุมหนึ่ง การนำเสนอมุมมองซึ่งอาจเป็นมุมมองทางการเมืองถ้าไม่เข้าข่ายยุยงปลุกปั่นหรือสร้างความสับสนอย่างจริงๆ ที่พิสูจน์ได้เนี่ย มันก็เป็นเพียงการจัดรายการ การทำหน้าที่ แต่ผมพูดตามตรงนะ ผมอ่านคำวินิจฉัยนี้ สำหรับผม มันก็ยังมีเส้นแบ่งอยู่ คือหมายความว่าสมมติผมแสดงความคิดเห็นทางการเมือง หรือ หมอเลี๊ยบแสดงความเห็นทางการเมือง เวลาจัดรายการ อย่างนี้ แล้วเราถึงขั้นหลอกลวง ประชาชนสร้างความสับสน หรือยั่วยุ สมมติผมบอกว่าเฮ้ย ไปชุมนุมกัน ไปทำโน่นทำนี่ ไปบุกรุกสถานที่ราชการ ไปทำร้ายคนโน้น คนนี้ ถ้าเกิดทำอย่างนั้น อันนั้น จะเลยกรอบ เพราะฉะนั้น นี่คือมันมีเส้นแบ่งอยู่ การทำรายการอย่างอารยะ อย่างศิวิไลซ์ มันมีมาตรฐานของมันอยู่
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ย้ำจุดสำคัญคือ ต้องไม่เอาข้อมูลลวง ข้อมูลเท็จ ซึ่งอันนี้มันพิสูจน์กันได้ในปัจจุบันที่มีโซเชียลมีเดีย มากมาย ใครพูดข้อมูลเท็จเนี่ย ภายในวันเดียว ชั่วโมงเดียวก็จะมีคนมาค้านสิ่งที่คุณพูดได้เลย อันที่ 2 ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากคือจะต้องไม่ยุยงปลุกปั่น เพราะในอดีตความเจ็บปวดที่มันผ่านมา ถึง 12 ปี ส่วนหนึ่งเพราะมีสื่อบางส่วนที่ยุยงปลุกปั่น สร้างความเกลียดชัง
ชมคลิปเต็มรายการสุมหัวคิด - 'VOICE TV กรณีศึกษาการทำหน้าที่สื่อ' ได้ที่ https://www.voicetv.co.th/watch/ixDVGDBXx