ไม่พบผลการค้นหา
สนช.ถอนติดดาบ ป.ป.ช.ดักฟังข้อมูล
สมาชิก 'สนช.' จี้ตัดทิ้งติดตาบ 'ป.ป.ช.' ดักฟัง
ป.ป.ช. ชง สนช.ถอดถอน "ยิ่งลักษณ์"
Wake Up News - สารพัดคดีการเมือง ที่สร้างความขุ่นเคืองให้ป.ป.ช.- Short Clip
ป.ป.ช.ให้จับตาปมจำนำข้าว 7 พ.ย.นี้
ยังไว้ใจการทำงานของ ป.ป.ช. ได้ไหม?
Voice News - ป.ป.ช.สั่งสอบเพิ่มปมนาฬิกาหรู - FULL EP.
ป.ป.ช.เดินหน้าเปิดบัญชีทรัพย์สิน สนช. 3 ต.ค.นี้
ป.ป.ช.มั่นใจคดีถอดถอนสำเร็จ
Talking Thailand - “วีระ” ไม่ปล่อยให้ลอยนวล! #ปารีณาต้องติดคุก ซัด ป.ป.ช.ดองคดี..ไม่คืบหน้า  - Short Clip
Wake Up News - การทำงานของป.ป.ช. ตอบโจทย์ปราบโกงหรือไม่ - Short Clip
ป.ป.ช.สอบ สนช.ตั้งสภาญาติ 5 มี.ค.นี้
มีชัย ไม่ห่วง สนช.คว่ำร่าง กม.ลูก2 ฉบับ
สุมหัวคิด - องค์กรอิสระต้องทำงาน หมดเวลา ป.ป.ช.จะปกป้องคอร์รัปชัน - Short Clip
Wake Up News - 2 คู่หูจี้ ป.ป.ช. เร่งสอบนาฬิกาหรู - Short Clip
ถ้าพล.อ.‘ปรีชา’โปร่งใส ทำไมป.ป.ช.ต้องยื้อเปิดข้อมูล
ป.ป.ช.คาดสรุปคดีข้าวยิ่งลักษณ์ภายใน ม.ค.​
ป.ป.ช.มติเอกฉันท์ถอดถอน 'นิคม' พ้นปธ.วุฒิสภา
Talking Thailand - “ปารีณา-รุกป่า” ยังไม่ถึงไหน แม้แต่ ป.ป.ช. ยังขอเวลาสอบปม “แจ้งบัญชีเท็จ” - Short Clip
ป.ป.ช. ยึดข้อบังคับ สนช. ชงถอด 'ยิ่งลักษณ์'
สนช.รุมค้านเพิ่มอำนาจ ป.ป.ช.ดักฟังข้อมูล
Dec 21, 2017 11:55

การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วย ป.ป.ช.วาระ 2 และ 3 ยังไม่สามารถลงมติได้ เนื่องจากสมาชิกบางส่วนคัดค้าน การเพิ่มอำนาจ ป.ป.ช.เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล ด้าน ประธาน ป.ป.ช.คนปัจจุบัน อ้างว่าเพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน 

โดยมาตรา 37/1 ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ให้เพิ่มอำนาจ ป.ป.ช. ในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ และประชาชน ผ่านช่องทางโทรศัพท์ โทรสาร โทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์สื่อสารทั้งหมด ถูกอภิปรายอย่างกว้างขวาง เนื่องจาก สมาชิก สนช.ส่วนหนึ่ง เห็นว่า อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ และละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน 

นายวิชา มหาคุณ อดีตประธาน ป.ป.ช. ในฐานะกรรมาธิการฯ เสียงข้างน้อย อภิปรายโต้แย้งด้วยเหตุผลว่า ตามอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทุจริตฯ UNCAC มาตรา 50 กำหนดให้การสืบสวนสอบสวนโดยวิธีพิเศษ ต้องใช้อย่างเหมาะสม ภายใต้การควบคุมของกฎหมาย ขณะเดียวกัน อำนาจที่มากเกินไป อาจทำให้ ป.ป.ช.ถูกครอบงำ ใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง 

ขณะที่ พลตำรวจเอก ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ เป็นประธานกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติฯ ยืนยันความจำเป็นของกฎหมายในการสืบหาพยานหลักฐาน และให้เหตุผลเพิ่มเติมว่า การดักฟัง ไม่ใช่อำนาจส่วนบุคคล แต่ต้องผ่านมติคณะกรรมการ ป.ป.ช. และมีอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบออกคำสั่งอนุญาต 

สอดรับ พลตำรวจเอก วัชรพล ประสานราชกิจ ประธาน ป.ป.ช. ในฐานะกรรมาธิการเสียงข้างมาก อภิปรายสนับสนุนร่างกฎหมายฉบับนี้ ต้องการปฏิรูป ป.ป.ช.ให้ทำงานเชิงรุก ดังนั้น ควรเพิ่มเครื่องมือให้ ป.ป.ช. โดยไม่พิจารณากฎหมายด้วยอคติ

นอกจากนี้ที่ประชุม สนช. ยังอภิปราย โต้แย้งอย่างกว้างขวาง ใน มาตรา 100 และ 104 กำหนดให้ ป.ป.ช. เปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน และเอกสารประกอบเฉพาะของนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. และ ส.ว. รวมทั้งของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้ประชาชนทราบ เป็นการทั่วไปโดยเร็ว แต่ต้องไม่ระบุถึงรายละเอียดทรัพย์สิน เหมือนในอดีต 

รวมทั้งกรณีปรับแก้ เรื่องการดำรงตำแหน่งคณะกรรมการป.ป.ช.ชุดปัจจุบัน ให้อยู่จนครบวาระ 9 ปี ซึ่งร่างเดิมที่มาจากกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ ให้รีเซตกรรมการ ป.ป.ช.ชุดปัจบันและให้อยู่เท่าที่มีคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญเท่านั้น /ทำให้ประธานสั่งพักการประชุม เพื่อพิจารณาและลงมติวาระ 2 และ 3 ในวันพรุ่งนี้