ไม่พบผลการค้นหา
ท่ามกลางพัฒนาการชุมนุมของกลุ่มต่างๆ ได้แก่ “กลุ่มไทยไม่ทน” หลังจาก 'จตุพร พรหมพันธุ์' แกนนำกลุ่มฯ ต้องกลับเข้าเลื่อนจำอีกครั้ง ก็ทำให้การเคลื่อนไหวของกลุ่มไทยไม่ทนแผ่วลงไป

กลุ่มที่เคลื่อนไหวเพื่อ “รับไม้ต่อ” คือ “คาร์ม็อบ” ที่เริ่มจาก “บก.ลายจุด”สมบัติ บุญงามอนงค์ จัดขึ้นมา จากนั้น “เต้น”ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ได้มาร่วมทัพนำคาร์ม็อบ และปรับเป็น “คาร์ปาร์ค” ผสมผสาน “คาร์ม็อบ-ไฮปาร์ก” เข้าด้วยกัน มาพร้อมกลิ่นอายการชุมนุมยุค นปช. เมื่อ 10 ปีก่อน รวมทั้งการกลับมาของ “เน็ตเวิร์ก” ต่างๆ ทั้งสายรีเดม – ปลดแอก – ราษฎร – ธรรมศาสตร์และการุชุมนุม – ทะลุฟ้า รวมทั้งกลุ่มอาชีวะ เช่น กลุ่มอาชีวะพิทักษ์ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กลุ่มฟันเฟืองประชาธิปไตย เป็นต้น และล่าสุดคือกลุ่มทะลุแก๊ซ

ที่ผ่านมา “ยุทธวิธี” การต่อสู้ของแต่ละกลุ่มปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ แต่เมื่อเข้าเดือน ส.ค. การจัดชุมนุมได้ขยับถี่ช่วงต้นเดือน เรียกได้ว่าจัดกันรายวัน โดยเฉพาะเหตุการณ์ปะทะระหว่างผู้ชุมนุม กับ ตร.ควบคุมฝูงชน บริเวณแยกดินแดง-วิภาวดี ที่กลายเป็น “สมรภูมิดินแดง” ที่ผ่านมาฝ่ายความมั่นคงติดตามเหตุการณ์อยู่ตลอด

ในส่วนของ ตร. ได้มีการวิเคราะห์พฤติการณ์ของผู้ชุมนุม ที่มีหลายกลุ่มที่เข้ามาในพื้นที่ เพื่อปรับ “ยุทธวิธี” ในการเข้าควบคุมพื้นที่ เช่น การจัด “ชุดเคลื่อนที่เร็ว” ในการบุกจับ ทั้งบริเวณแยกดินแดง-วิภาวดี และขยายไปยังพื้นที่ถนนสายหลักโดยรอบ รวมทั้งการเดินเท้าเข้าซอยต่างๆ เพราะการชุมนุมในช่วงหลังนั้น พบว่าผู้ชุมนุมเป็นกลุ่มวัยรุ่นที่ขับมอเตอร์ไซค์มาชุมนุม และบางส่วนพักอยู่ในชุมนุมย่านดินแดง

แก๊สน้ำตา ม็อบ ดินแดง -45A5-4DBE-912A-C94A4EA82DA5.jpegดินแดง ม็อบ F300C91D-71AA-47FF-9B6C-AF7CE3CA02C9.jpeg

ในสถานการณ์เช่นนี้ ฝ่ายความมั่นคงยังคงให้ ตร. เป็นผู้ทำหน้าที่หลัก ในส่วนของทหารยังคงอยู่ในที่ตั้ง เช่น การดูแลภายในพื้นที่ ร.1 ทม.รอ. ซึ่งเป็นเขตพระราชฐาน แม้ว่า ตร. จะปรับแผนยกเลิกการตั้งตู้คอนเทนเนอร์ขวาง ถ.วิภาวดีฯ แต่บริเวณหน้า ร.1 ทม.รอ. ยังมีการตั้งตู้คอนเทนเนอร์

ในส่วน พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผบ.ทบ. ที่สุ่มทำงานอยู่ใน ทบ. เงียบๆมานาน ก็มอนิเตอร์การเคลื่อนไหวต่างๆด้วยตนเอง ผ่านการใช้ทวิตเตอร์ ทั้งความเคลื่อนไหวของผู้ชุมนุมและภารกิจของ ทบ. 

จึงทำให้ ทบ. ยุคนี้ เน้นการประชาสัมพันธ์ทางเดียวเชิงรุก หลีกเลี่ยงการตอบโต้การเมือง ยกเว้นในกรณีที่ ทบ. ถูกพาดพิงโดยตรง เช่น การปล่อยข่าวรัฐประหาร ทำให้ พล.อ.ณรงค์พันธ์ ให้ “ทีมโฆษก ทบ.” ชี้แจงกลางดึกทันที

ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว พล.อ.ณรงค์พันธ์ จะใช้วิธีการ “รีทวีต-กดไลค์” มากกว่าการ “ทวีต” เอง เพื่อหลีกเลี่ยงการแสดงความเห็น จึงทำให้แต่ละหน่วยของ ทบ. เปิดแอคเค้าทวีตเตอร์มากขึ้น เพื่อพีอาร์งานและชี้แจงนโยบาย ทบ.

ล่าสุดพบว่ามีการนำทวีตเตอร์ “เจ๊จุก คลองสาม” แอคเค้าท์ที่มีการจัด “ทีมงาน” ลงพื้นที่การชุมนุม เพื่อบันทึกภาพผู้ชุมนุมมาทวีตในแอคเค้าท์ตัวเอง พร้อมทั้งการเปิดหลักฐานต่างๆ รวมทั้งมีข้อความเหน็บแนม

หากเข้าไปดูในทวีตดังกล่าวจะพบการทำงาน “อย่างเป็นระบบ” โดยมีการมีการแชร์ในโซเชียลฯ เป็นภาพจอแอลอีดีของ ทบ. ที่ได้แชร์ “เจ๊จุก คลองสาม” ขึ้นจอที่ บก.กองทัพบก (มัฆวาน) และ สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก ถ.วิภาวดีรังสิต ข้างสโมสร ทบ. โดยมีรายงานว่า นายทหารใน ทบ. ก็ติดตาม “เจ๊จุก คลองสาม” เช่นกัน จึงเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ขึ้นตามมา

เจ๊จุก 30-8598BCAF63A9.pngกองทัพบก เจ๊จุก-B3D806E86CF0.jpegกองทัพบก F-B76E-B2027D7A7C0D.jpeg

ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองภายนอกที่ตึงเครียด แต่ภายในรั้ว ทบ. ก็ฝุ่นตลบไม่น้อยเช่นกัน หลังการจัดโผทหารของ ทบ. เหลือเพียงเหล่าเดียวที่ยังไม่ลงตัว จึงทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ต้องเลื่อนการประชุม “บอร์ด7 เสือกลาโหม” หรือ คณะกรรมการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารชั้นนายพล จากเมื่อวันที่ 25ส.ค. ที่ผ่านมา ไปเป็นวันที่ 30 ส.ค.นี้ แทน หลัง ทบ. พึ่งเสร็จสิ้นการคัดเลือกนายทหาร ทบ. ที่จะโอนไปเป็น ทม.รอ. ทำให้ต้องมีการปรับโผทหารในตำแหน่งที่ว่างลงไป

สำหรับ พล.อ.ณรงค์พันธ์ ผบ.ทบ. ที่มีอายุราชการอีก 2 ปี การจัดโผทหารครั้งนี้ของ พล.อ.ณรงค์พันธ์ ถือเป็นครั้งแรกที่ได้จัดด้วยอำนาจเต็มมือ หลังโผครั้งก่อนยังคงมี พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ อดีตผบ.ทบ. ร่วมจัดโผทหารทบ.ก่อนเกษียณฯ

ซึ่งโผทหาร ทบ. ครั้งนี้ มีการปรับเปลี่ยนหลายครั้ง โดยเฉพาะตำแหน่ง 5 เสือ ทบ. ที่ก่อนหน้านี้ จะเป็นรุ่น ตท.22 รุ่นเดียวกับ พล.อ.ณรงค์พันธ์ ขึ้นมาผงาดหลายนาย แต่ล่าสุดมีการปรับ “กระจายรุ่น” ให้รุ่นน้อง ตท.23-24 มากขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา “คอขวด” ในอนาคต

เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์  ณรงค์พันธ์ กองทัพไทย กองทัพบก ทหาร 1223_05.jpg

โดยคาดว่า พล.อ.ณรงค์พันธ์ จะดัน พล.อ.อภินันท์ คำเพราะ เพื่อน ตท.22. จากที่เป็น หัวหน้าสำนักงาน ผบ.ทบ. ขึ้นเป็น รอง ผบ.ทบ. พร้อมขยับ พล.ท.ภูมิพัฒน์ จันทร์สว่าง รุ่นน้อง ตท.24 จาก ผบ.หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ หรือ “ทหารหมวกแดง” ที่จะเกษียณฯปี 2566 พร้อมกัน ขึ้นเป็น ผช.ผบ.ทบ. 

รวมทั้งดันรุ่นน้อง ตท.23 นั่นคือ พล.ท.เจริญชัย หินเธาว์ แม่ทัพภาคที่ 1 ขึ้นเป็น ผช.ผบ.ทบ. ที่เกษียณฯปี 2567 เพื่อจ่อขยับขึ้นเป็น ผบ.ทบ. คนต่อไป

พร้อมขยับ พล.ท.สันติพงศ์ ธรรมปิยะ เพื่อน ตท.22 จาก รองเสธ.ทบ. เป็น เสธ.ทบ. ที่ต้องนั่งควบตำแหน่ง เลขาธิการ กอ.รมน. ด้วย สำหรับ พล.ท.เจริญชัย และ พล.ท.สันติพงศ์ เติบโตมาจากสายทหารเสือฯ ร.21 รอ. ถือว่าคนละสายกับ พล.อ.ณรงค์พันธ์ แต่เป็นสายเดียวกับ พล.อ.ประยุทธ์ นายกฯ และมีความใกล้ชิดกับ นายกฯ

แต่ตำแหน่งที่ถูกจับตาอย่างยิ่ง คือ “แม่ทัพภาคที่ 1” ที่เป็นการชิงกันระหว่าง พล.ท.สุขสรรค์ หนองบัวล่าง (ตท.23) แม่ทัพน้อยที่ 1 กับ พล.ท.ทรงวิทย์ หนุนภักดี (ตท.24) รองเสธ.ทบ. บุตรชาย พล.อ.อิสระพงศ์ หนุนภักดี อดีตผบ.ทบ. โดย พล.ท.ทรงวิทย์ ออกจาก ทภ.1 มาติดยศ พลโท ที่ตำแหน่ง รองเสธ.ทบ. เมื่อปีที่แล้ว แต่ปีนี้กระแสมาแรงมีโอกาสได้ขึ้นเป็น แม่ทัพภาคที่ 1 คนต่อไป ซึ่งถือเป็นตำแหน่งที่ “การันตี” มีโอกาสขึ้นเป็น ผบ.ทบ. ในอนาคต 

โดย พล.ท.ทรงวิทย์ เกษียณฯปี 2568 หากขึ้นเป็น ผบ.ทบ. ต่อจาก พล.ท.เจริญชัย ได้นั้น ก็จะเป็นการ “แหวกประเพณี ทบ.” ที่คนเป็น ผบ.ทบ. ต้องจบ นายร้อย จปร. เพราะ พล.ท.ทรงวิทย์ จบนายร้อยเวอร์จิเนีย หรือ VMI สหรัฐฯ ซึ่งทั้ง พล.ท.เจริญชัย พล.ท.ทรงวิทย์ ต่างเป็นนายทหาร ฉก.ทม.รอ.904 ด้วย เพราะตำแหน่ง ผบ.ทบ. จะต้องเป็น ผบ.ฉก.ทม.รอ.904 ด้วย นับตั้งแต่ยุค พล.อ.อภิรัชต์ เป็นต้นมา

อย่างไรก็ตามโผทหารในส่วน ทบ. จะต้องดูไปถึงรุ่นน้อง ตท. อื่นๆลงไปอีก ในระดับ ผบ.กองพล-ผู้การ ที่จะต้องวางไลน์การเติบโตต่อในอนาคต เพราะในแต่ละรุ่นก็หวัง “ชิงดำ” เพื่อให้ “รุ่นตัวเอง” เข้าป้ายมากที่สุด จนกลายเป็น “ความขัดแย้ง” ระหว่างรุ่น ตท. กันเองมาแล้ว ในส่วนเหล่าทัพอื่นๆ ยังคงเผชิญกับพลังแรงของ ตท.20-21 ที่ยังคงปกคลุม ทร. และ ทอ. อยู่นั่นเอง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปริศนา ลายพราง
164Article
0Video
39Blog