นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ อดีต ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ ยื่นหนังสือถึง ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช ผ่านนายสุทธิ บุญมี ผู้อำนวยการสำนักสืบสวนและกิจการพิเศษ สำนักงาน ป.ป.ช. เพื่อขอให้ตรวจสอบโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ กรณีกระทำส่อว่าผิดกฎหมาย การทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดในหน้าที่ราชการของเลขาธิกรสกาผู้แทนราษฎรเเละผู้เกี่ยวข้อง
เพราะการที่สำนักงานเลขาธิการสภาฯ ได้ทำสัญญาก่อสร้างอาการรัฐสภาแห่งใหม่กับบริษัทซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2556 ระยะเวลาก่อสร้าง 900 วัน ตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2556 ถึงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 แต่เมื่อเริ่มก่อสร้างมีปัญหาเรื่องการส่งมอบพื้นที่ ทำให้ต้องขยายสัญญาครั้งที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 ถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2559 รวม 387 วัน
แล้วมีการขยายสัญญาครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2559 ถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 รวม 421 วัน เนื่องจากความล่าช้าในการขนย้ายดินขุดเพื่อก่อสร้างชั้นใต้ดิน โดยทั้งสองกรณีที่มีการขยายสัญญานี้เป็นเรื่องที่ยอมรับและเข้าใจได้ ซึ่งถือว่าสมเหตุสมผล
แต่เมื่อมีการขยายระยะเวลาก่อสร้างครั้งที่ 3 วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 ถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2562 รวม 674 วัน โดยอ้างปัญหาความล่าช้าในการส่งมอบ พื้นที่ ซึ่งเป็นโรงเรียน, ศูนย์สาธารณสุขและชุมชนบ้านพักองค์การทอผ้า แล้วบ้านพักข้าราชการนั้นฟังไม่ขึ้น และเห็นว่าน่าจะมี ปัญหาความไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการขยายเวลาครั้งที่ 2 คิดคำนวณการสมบูรณ์ของโครงการแล้ว อีกทั้งการส่งมอบเสร็จเรียบร้อยตั้งแต่การขยายสัญญาครั้งที่ 2 แล้ว
ที่สำคัญยังมีการขยายเวลา ก่อสร้างครั้งที่ 4 ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2562 ไปถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563 รวม 382 วัน ที่มีการลงนามเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2562 โดยให้เหตุผลว่าเกิดจากปัญหาในการจัดหาผู้รับจ้างรายอื่นหรืองานนอกสัญญา เกี่ยวกับระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและสาธารณูปโภค งานประกอบอาคารและภายนอกอาคาร มีความล่าช้า ซึ่งนายวิรัตน์มองว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยสิ้นเชิงเพราะการขยายระยะเวลาครั้งที่ 3 ไม่ชอบส่วนการอ้างเหตุผลในการขยายสัญญาครั้งที่ 4 เป็นการอ้างเหตุผลที่ผิดจากเอกสารแนบท้ายสัญญาผนวกที่ระบุว่า
"ผู้รับจ้างจะต้องทราบว่าผู้ว่าจ้างได้จัดหาผู้รับจ้างรายอื่นเข้ามาทำงานในโครงการ" และ " ผู้รับจ้างจะยกเอาเหตุ ที่ผู้รับจ้างราย อื่นๆรายใดรายหนึ่งหรือหลายรายทำงานล่าช้า เป็นข้ออ้างเพื่อขอขยายเวลาทำงานหรือขอปรับค่าดำเนินการเพิ่มขึ้นอีกไม่ได้"
นอกจากนี้ ยังมีหนังสือลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2562 ของกลุ่มงานพัสดุสำนักงานการคลังและงบประมาณเสนอแนะให้ ปรึกษาฝ่ายกฎหมาย ในเรื่องดังกล่าว ซึ่ง จะสามารถเอาผิดผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งการขยายระยะเวลาครั้งหนึ่งครั้งใดไม่ชอบจะทำให้รัฐเสียหายจากการไม่คิดค่าปรับถึงวันละ 12.28 ล้านบาท จึงขอให้ป.ป.ช.พิจารณาดำเนินการตามกฎหมายทั้งทางแพ่งและทางอาญาต่อผู้เกี่ยวข้อง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง: