ไม่พบผลการค้นหา
ที่ประชุมรัฐสภามีมติรับหลักการร่าง รธน. 2 ฉบับตั้ง ส.ส.ร. โดยยึดร่างของรัฐบาลเป็นหลักในวาระที่สอง พร้อมโหวตคว่ำร่าง รธน. 5 ฉบับ ด้าน ส.ว. 3 คนโหวตสวนรับร่างของประชาชน

เมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2563 ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา พิจารณาเรื่องด่วนญัตติร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับประชาชนที่ จอน อึ๊งภากรณ์ กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 98,041 คนเป็นผู้เสนอร่วมกับโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) 

โดย พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล อภิปรายถึงความจำเป็นในการที่รัฐสภาต้องรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของประชาชนหรือร่างของไอลอว์ โดยระบุว่าประวัติศาสตร์การเมืองไทยต้องจารึกไว้ว่าในวันนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่รัฐสภาและประชาชนมีความพยายามให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับถาวรทั้งฉบับเพื่อเปิดทางให้มีการตั้ง ส.ส.ร. เพื่อจัดร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยไม่ให้การร่างรัฐธรรมนูญของประเทศมาจากการรัฐประหารเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ทั้งนี้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 211 ในอดีตก็สำเร็จได้เมื่อวันที่ 14 ก.ย. 2539 โดยมีการเลือก ส.ส.ร.มาทำหน้าที่ยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ

พิธา อภิปรายว่า การอภิปรายรัฐธรรมนูญเมื่อวันวานเต็มไปด้วยความหดหู่ ความอดสู และที่สำคัญที่สุดคือมีความไม่ไว้วางใจกัน ทั้งนี้สิ่งที่เกิดขึ้นคือสมาชิกรัฐสภาไม่ไว้วางใจอำนาจของตัวเองก็ว่าหนักแล้ว แต่รัฐสภายังไม่ไว้วางใจอำนาจของประชาชนอีก อันนี้เป็นความน่าละอาย รวมทั้งกรณีที่่รัฐสภาไม่สามารถคลี่คลายความขัดแย้งได้เลยและต้อนรับประชาชนทุกกลุ่มอย่างไม่เท่าเทียมกัน ประชาชนถูกเจ้าหน้ารัฐใช้ความรุนแรง ถูกฉีดน้ำผสมแก๊ซหน้าตา มีคนโดนยิงด้วยกระสุนจริง และมีบาดเจ็บจำนวนมาก ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นที่หน้าอาคารรัฐสภา

ก้าวไกล รัฐสภา พิธา 7771118_4.jpg

“ถ้าเราต้องการจะให้ประเทศมีทางออก พวกเราต้องช่วยกันเอาข้อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญของประชาชนเข้าสู่ระบบ แต่ถ้าพวกเราผลักข้อเสนอของประชาชนลงสู่ท้องถนนอีกก็เท่ากับเป็นการสร้างเงื่อนปมใหม่จนทำให้โอกาสที่จะพูดคุยกันซึ่งมีน้อยอยู่แล้วน้อยลงไป ทั้งนี้ผมได้อ่านหลักการและเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญของภาคประชาชนทั้ง 11 ข้อแล้ว ในเชิงหลักการผมเห็นด้วยทั้งหมด เพราะเป้าหมายของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือการสร้างหนทางกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยให้กับประเทศไทย หลักการทุกข้อเป็นหลักการพื้นฐานที่ต่างก็เคยเกิดขึ้นในรัฐธรรมนูญไทยฉบับก่อนหน้ามาแล้ว เช่น ในรัฐธรรมนูญ 2540 ดังนั้นข้อกล่าวหาว่าต่างชาติจะมาแทรกแซงการแก้รัฐธรรมนูญไทยจึงเป็นเรื่องที่บางท่านอาจจินตนาการเกินเลยไปมาก ” นายพิธา กล่าว เน้นย้ำ

ติงโยงร่างไอลอว์ปฏิปักษ์สถาบัน ทำประเทศสู่ทางตัน

พิธา ย้ำว่า อย่าใช้วาทกรรมว่ารับร่างประชาชนเป็นปฏิปักษ์กับสถาบันพระมหากัตริย์ และการไม่รับร่างเป็นการปกป้องสถาบันฯ การอภิปรายเช่นนั้นเป็นการทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ออกห่างจากประชาชน ทำให้สถาบันออกห่างประชาธิปไตย สิ่งที่สมาชิกรัฐสภาบางคนทำเป็นการเอาสถาบันพระมหากษัตริย์มาเป็นเกราะกำบังให้ตัวเอง การกระทำเช่นนี้จะพาประเทศไปสู่ทางตัน ไปสู่การนองเลือด หน้าที่ของพวกเราคือการต้องหาทางออกให้กับประเทศ คือการหาวิธีให้ประชาชนและสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ร่วมกันให้ได้ รัฐสภาต้องเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้สำหรับทุกกลุ่มทุกฝ่าย เจรจาประนีประนอมหาทางออกร่วมกัน

“พวกเรารัฐสภาต้องยืนยันว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญคือสิ่งที่ทำได้ และอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญต้องเป็นของประชาชน ขอวิงวอนต่อทุกท่านให้รับร่างของภาคประชาชน ควบคู่ไปกับร่างญัตติ 1 และ 2 เพื่อให้เกิดสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มีอิสระและไม่ผูกขาดกับชุดความคิดการเมืองใดการเมืองหนึ่ง ถึงแม้ว่าเราจะยังหาฉันทามติไปสู่อนาคตไม่เจอ แต่อย่างน้อยที่สุดเราสามารถถอดบทเรียนความสำเร็จในอดีต เฉกเช่นที่หลายๆ ท่านในสภาแห่งนี้เคยได้ทำมาแล้วครั้งหนึ่งในการหาทางออกให้กับประเทศไทยอันเป็นที่รักของเรา” พิธา ระบุ

ด้าน นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับภาคประชาชนไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ อีกทั้งเนื้อหาสอดคล้องกับร่างรัฐธรรมนูญของฝ่ายค้าน จึงไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ส่วนที่ร่างภาคประชาชนถูกมองว่าล้มสถาบันนั้น เป็นการมองแบบมายาคติสร้างภาพหลอกลวง ไม่มีเหตุผล 

นพ.ชลน่าน ระบุว่า พรรคเพื่อไทยยินดีรับร่างรัฐธรรมนูญ 7 ฉบับแบบไม่มีเงื่อนไขและขอให้เอาร่างรัฐธรรมนูญฉบับภาคประชาชนเป็ฯหลัก อย่าไปยึดข้อบังคับการประชุมรัฐสภา เพราะถ้าไม่แก้ไขบ้านเมืองอาจลุกเป็นไฟได้

ชัยวุฒิ พลังประชารัฐ ประชุมรัฐสภา​_20111กกก8_4.jpg

พปชร.ซัดร่างแก้คุณสมบัตินายกฯ ทำ 'ประยุทธ์' พ้นทันที

ขณะที่ ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ อภิปรายว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับภาคประชาชนไม่ใช่ของไอลอว์ แต่เป็นของคณะราษฎรของผู้ชุมนุม เมื่อวันที่ 17 พ.ย.ที่หน้ารัฐสภา เขาพูดชัดเจนครับว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นของคณะราษฎร ไม่ใช่ของไอลอว์ รัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงมีความสำคัญที่เราต้องพิจารณา

"ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ตอบโจทย์พรรคฝ่ายค้านแน่นอน โจทย์ที่หนึ่ง ยกเลิก พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต หมายความว่า ถ้ายกเลิกพ.ร.บ.นี้ คนที่มีคดีทุจริต คนที่หนีไปอยู่ต่างประเทศ ทั้งทักษิณ ชินวัตร ทั้งยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ ได้กลับบ้านหมด ถ้ายกเลิกพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยเรื่องคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) วันนี้ใครโดนคดีอยู่ พรรคอนาคตใหม่ ถูกยุบพรรค กกต.กำลังดำเนินคดีกับหัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ถ้ายกเลิกพ.ร.บ.นี้ คดีเหล่านี้หยุดหมด ฝ่ายค้านได้ประโยชน์จากการเห็นชอบร่างของไอลอว์แน่นอน"

ชัยวุฒิ ระบุว่า ร่างรัฐธรรมนูญเขียนชัดเจนว่า ให้นายกฯ มาจากส.ส.เท่านั้น นายกฯที่เราให้การสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มาตามรัฐธรรมนูญ 2560 ที่มาจากเสนอชื่อโดยพรรคพลังประชารัฐ แต่ไม่ใช่ ส.ส. ถ้าแก้ข้อนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จะพ้นจากตำแหน่งนายกฯ ซึ่งตรงกับที่ฝ่ายค้านต้องการ ฝ่ายค้านจะได้มาเป็นรัฐบาล 

"วันนี้จึงไม่แปลกใจเลยที่ฝ่ายค้านจะโหวตรับร่างของคณะราษฎร แค่เรื่องนี้ผมก็ไม่รับแล้วครับ ที่ท่านจะปลด พล.อ.ประยุทธ์" ชัยวุฒิ ระบุ

มงคลกิตติ์ ประชุมรัฐสภา​_201118_9.jpg

มงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยศรีวิไลย์ อภิปรายว่า อยากวิงวอนไปยังเพื่อนสมาชิกรัฐสภาในการชี้แจงร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในแต่ละฉบับ อย่าไปสร้างความสับสนให้กับประชาชน อย่าไปบอกว่าร่างรธนบางฉบับล้มล้างสถาบันกษัตริย์ บางฉบับสามารถฟ้องร้องสถาบันพระมหากษัตริยได้เท่าที่อ่านดูไม่มีแม้แต่ข้อเดียว และไม่มีการนิรโทษกรรมให้กับ ทักษิณ และยิ่งลักษณ์ ดังนั้น อย่าทำให้ประชาชนเข้าใจในสาระการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวผิด

"ผมก็คิดว่าร่างของประชาชนเป็นร่างที่บริสุทธิ์มากที่สุด นั่นหมายความว่าสุดซอยในการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่สมบูรณ์แบบที่สุดเพราะฉะนั้นแล้วผมก็อยากฝากเรียนไปยังท่านสมาชิกวุฒิสภา เพราะร่างการแก้ไขทั้ง 7 ฉบับนี้จะผ่าน หรือไม่ผ่านไม่ได้ขึ้นอยู่กับ ส.ส. แต่ขึ้นอยู่กับ ส.ว.เป็นหลัก" มงคลกิตติ์ ระบุ

'จอน' วอนรัฐสภาแก้วิกฤตประเทศ

ด้าน จอน อึ๊งภากรณ์ ผู้แทนผู้ริเริ่มเสนอร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับประชาชน ชี้แจงว่า ต่อให้พูดว่าเจตนาดีแค่ไหน พูดยังไงก็ไม่เชื่อ แม้จะอยู่ที่เจตนาแต่เนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญ 1 แสนคนร่วมลงชื่อ โดยขอให้สมาชิกรัฐสภาดูที่เนื้อหา การนำเสนอครั้งนี้เป็นการนำเสนอของ 1 แสนคน ส่วนใครอยากจะรู้เรื่องไอลอว์ให้ติดต่อตนได้ ถ้าอยากจะตรวจสอบบัญชีรายรับและรายจ่าย หรือแหล่งทุนยินดีให้ข้อมูลหรืออ่านได้จากเว็บไซต์ไอลอว์ ประเด็นสำคัญ ไอลอว์เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นเพื่อพิทักษ์เสรีภาพประชาชน และสิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมืองตามอนุสัญญาที่ประเทศไทยเป็นภาคี เราทำงานตามหลักวิชาการทุกเรื่องเราเห็นว่าเป็นสิทธิเสรีภาพที่แสดงความเห็นได้ 

"อยากคาดหวังว่ารัฐสภานี้จะช่วยแก้ปัญหาวิกฤตของประเทศ จะสร้างความเข้าใจในหมู่ประชาชนที่เผชิญหน้าในปัจจุบัน เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนกัน นี่คือความหวัง ถ้าท่านทำให้ผิดหวังประเทศเราจะแย่ ท่านมีภารกิจที่หนักที่จะต้องสร้างความเข้าใจหรือความตึงเครียดในสังคม ทำให้ประชาชนสิ่งที่เขาได้รับความสนใจ" จอน ระบุ

จอน ไอลอว์ ยิ่งชีพ ประชุมรัฐสภา​_201118_3.jpg

จากนั้นที่ประชุมรัฐสภาได้ลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 7 ฉบับในวาระที่หนึ่งขั้นรับหลักการ ทั้งนี้มีสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ 732 คน โดยจะต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งหรือ 366 เสียง และยังต้องมีเสียง ส.ว.ร่วมเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ หรือไม่น้อยกว่า 82 เสียง

การลงมติร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 7 ฉบับในวาระที่หนึ่งขั้นรับหลักการเป็นเรียกชื่อรายบุคคลและลงคะแนนโดยเปิดเผย โดยที่ประชุมได้เริ่มต้นให้สมาชิกลงคะแนนตั้งแต่เวลาประมาณ 13.00 น. จนถึงเวลา 17.45 น. สมาชิกรัฐสภาทั้งหมด 732 คนได้ลงมติเสร็จสิ้น

รัฐธรรมนูญ ประชุมรัฐสภา​_201118.jpgชวน พรเพชร ประชุมรัฐสภา​_2กกกก01118_11.jpg

รัฐสภาโหวตรับหลักการ 2 ฉบับตั้ง ส.ส.ร. คว่ำ 5 ฉบับ

กระทั่งเวลา 19.05 น. ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ได้แจ้งผลการลงมติว่า ที่ประชุมรัฐสภามีมติรับหลักการร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 ของ สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทยและคณะ โดยรับหลักการ 576 คะแนน ไม่รับ 21 คะแนน งดออกเสียง 123 คะแนน ส.ว. รับหลักการ 127 คะแนน

และฉบับที่ 2 ของ วิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ และคณะ รับหลักการ 647 คะแนน ไม่รับ 17 คะแนน งดออกเสียง 55 คะแนน ส.ว. รับหลักการ 176 คะแนน

โดยสองร่างดังกล่าวแก้ไขให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.ร. โดยมี ส.ว.รับหลักการถึงจำนวน 1 ใน 3 ของ ส.ว.ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่

ขณะที่อีก 5 ฉบับรวมถึงร่างภาคประชาชนนั้นที่ประชุมมีมติไม่รับหลักการ เพราะคะแนนเสียงรับหลักการไม่ถึงกึ่งหนึ่ง คือ 366 เสียงของสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ทำให้ร่างรัฐธรรมนูญ 5 ฉบับไม่ได้รับความเห็นชอบ

จากนั้นที่ประชุมเสนอให้ตั้งคณะกรรมาธิการ จำนวน 45 คน กำหนดเวลาแปรญัตติ 15 วัน โดยยึดร่างของ วิรัชเป็นหลักในวาระที่สอง พร้อมนัดประชุมคณะกรรมาธิการนัดแรกในวันที่ 24 พ.ย. 2563 เวลา 09.30 น. ห้อง 307 อาคารรัฐสภา

สำหรับ ผลการลงมติทั้ง 7 ฉบับ มีดังนี้

ฉบับที่ 1 เลือกตั้ง ส.ส.ร. (ฝ่ายค้าน) รับหลักการ 576 ไม่รับ 21 งดออกเสียง 123 ส.ว. รับหลักการ 127

ฉบับที่ 2 เลือกตั้ง ส.ส.ร. (รัฐบาล) รับหลักการ 647 ไม่รับ 17 งดออกเสียง 55 ส.ว. รับหลักการ 176  

ฉบับที่ 3 ยกเลิกอำนาจของ ส.ว.ปฏิรูปประเทศ และอำนาจยับยั้งกฎหมาย (ฝ่ายค้าน)

รับหลักการ 213 ไม่รับ 35 งดออกเสียง 472 ส.ว. รับหลักการ 4 

ฉบับที่ 4 เลือกนายกฯ จาก ส.ส. ยกเลิกอำนาจ ส.ว.เลือกนายกฯ (ฝ่ายค้าน) รับหลักการ 268 ไม่รับ 20 งดออกเสียง 432 ส.ว.รับหลักการ 56

ฉบับที่ 5 ยกเลิกมรดกคำสั่ง-ประกาศ คสช. (ฝ่ายค้าน) รับหลักการ 209 ไม่รับ 51 งดออกเสียง 460 ส.ว. รับหลักการ ไม่มี 

ฉบับที่ 6 แก้ไขระบบเลือกตั้ง หวนคืนบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ (ฝ่ายค้าน) รับหลักการ 268 ไม่รับ 19 งดออกเสียง 432   ไม่ลงคะแนน ส.ว.รับหลักการ 59  

ฉบับที่ 7 ฉบับภาคประชาชน รับหลักการ 212 ไม่รับ 139 งดออกเสียง 369 ส.ว.รับหลักการ 3  

ปรีชา จันทร์โอชา ประชุมรัฐสภา​_201118_0.jpgกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ สมาชิกวุฒิสภา ประชุมรัฐสภา​_201118_12.jpgเสรี สมาชิกวุฒิสภา รัฐธรรมนูญ ประชุมรัฐสภา​_20กไ1118_0.jpg

3 ส.ว.แตกแถวโหวตรับร่างภาคประชาชน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างการลงมตินั้นมี ส.ว.ที่ลงมติรับหลักการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับประชาชน คือ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ พิศาล มาณวพัฒน์ พีรศักดิ์ พอจิต  ด้าน พล.อ.ธวัชชัย สมุทรสาคร ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง (รมว.) กลาโหม โหวตคว่ำไม่รับร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 7 ฉบับ

ขณะที่พรรคเพื่อไทย พลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ ส.ส.กทม. พรพิมล ธรรมสาร ส.ส.ปทุมธานี ไม่ได้มาลงคะแนน นอกจากนี้ มงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคไทยศรีวิไลย์ ลงมติรับหลักการทั้ง 7 ร่าง

ส่วน ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ ส.ส.อุตรดิตถ์ พรรคเพื่อไทย รับหลักการ 7 ฉบับแต่ขอพูดก่อนการลงมติ ว่าตนมีข้อมูลแต่กลับไม่ได้อภิปราย ทำให้ พรเพชร วิชิตชลชัย รองประธานรัฐสภาที่ทำหน้าที่ประธานการประชุม ต้องปิดไมค์เพื่อให้ ศรัณย์วุฒิ ลงมติ

4 ส.ส. 3 ส.ว.โหวตคว่ำ 7 ร่าง

ส.ส.ที่ลงมติไม่รับทั้ง 7 ร่าง ประกอบด้วย ชาญวิทย์ วิภูศิริ ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ ชุมพล จุลใส ส.ส.ชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ และสุพล จุลใส ส.ส.ชุมพร พรรครวมพลังประชาชาติไทย

ส.ว.ที่ลงมติไม่รับทั้ง 7 ร่าง ประกอบด้วย พล.อ.ธวัชชัย สมุทรสาคร ว่าที่ ร.ต.วงศ์สยาม เพ็งพานิชภักดี และ สุรสิทธิ์ ตรีทอง

ศรัณย์วุฒิ เพื่อไทย รัฐสภา 118_14.jpg

วิปรัฐบาลย้ำยึดร่างฉบับ รบ.เป็นหลักตั้ง ส.ส.ร.

ขณะที่ วิรัช รัตนเศรษฐ ประธานวิปรัฐบาล พร้อมด้วย อนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและส.ส.พรรคพลังประชารัฐแถลงภายหลังเสียงสนับสนุนร่างของรัฐบาลเกินกึ่งหนึ่งโดยระบุว่า  ขอบคุณทุกเสียงที่สนับสนุนร่างของรัฐบาล ขณะนี้ ร่างที่ 1 ของฝ่ายค้าน และร่างที่ 2 ที่เสนอโดยรัฐบาล ได้รับเสียงเกินกึ่งหนึ่งคือเกิน 366 เสียง จากทั้งหมด 732 เสียง โดยตามตามธรรมเนียมร่างที่เป็นหลักในการนำมาพิจารณา คือ ร่างที่ 2 ที่เสนอโดยรัฐบาล และที่ผ่านมาการตั้งคณะกรรมการศึกษา รธน.ก่อนรับหลักการนั้นถือว่าเป็นประโยชน์ไม่เสียเปล่าอย่างที่มีคนปรามาสกัน  

ส่วนร่างอื่นๆรวมถึงร่างของไอลอว์ ที่ไม่ผ่านการพิจารณานั้น อะไรที่คิดว่าสามารถนำมาปรับได้ก็คงจะมีการนำมาเสนอในคณะกรรมาธิการที่จะตั้งขึ้นมา แต่ย่ำว่าจะไม่มีการเเตะ หมวด 1 และ 2 

ทั้งนี้ วิรัชกล่าวด้วยว่าในส่วนของผู้ชุมนุม ที่บอกว่าหากไม่รับหลักการร่างของไอลอว์จะยกระดับการชุมนุนนั้นตนก็ยืนยันว่าตนไม่รับหลักการ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง