ไม่พบผลการค้นหา
อดีตเลขา สมช.ระบุ ความอดอยากไม่มีกิน คือวิกฤตซ้อนวิกฤต ที่ตามมาหลังโรคระบาดลด หากไม่เร่งบริหารจัดการ อาจถึงขั้นต้องเปลี่ยนรัฐบาล ย้ำต้องยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินเพราะไม่จำเป็นแล้ว

พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช.ยืนยันว่าสมควรจะยุติการบังคับใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยเห็นว่า พ.ร.ก.ฉบับดังกล่าวไม่สมควรจะประกาศใช้ตั้งแต่ต้น เพราะเครื่องมือหลักที่จะมาระงับยับยั้งการระบาดของโรค ได้ตรงเป้ามีประสิทธิภาพ คือ พ.ร.บ.โรคติดต่อ 

อดีตเลขา สมช.ระบุด้วยว่าการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ยังสะท้อน ไปถึงการทำงานของรัฐบาลในอดีตซึ่งเคยเผชิญกับโรคระบาดและภัยธรรมชาติอย่างสึนามิ แต่เหตุใดผู้นำในอดีต ไม่บังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ใช้เพียงอำนาจบริหารตามระบบปกติ และผลสัมฤทธิ์ออกมาในทิศทางที่ดีและสามารถแก้ไข คลี่คลายสถานการณ์ได้ ดังนั้นเมื่อนำอดีตกับปัจจุบันมาเทียบเคียง จะพบว่านายกรัฐมนตรี ที่มีศักยภาพในการบริหารจึงไม่มีความจำเป็นที่จะใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 

ซึ่งการบังคับใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินตั้งแต่เริ่มจนถึงขณะนี้สะท้อนถึงความไม่เป็นเอกภาพในการบริหารจัดการของรัฐบาลเอง จึงต้องนำเครื่องมือเหล่านี้ออกมาใช้บังคับ ขณะที่นายกรัฐมนตรี ก็ดึงอำนาจไปไว้ที่ตนเองเพื่อสั่งการแต่เพียงผู้เดียว 

พล.ท.ภราดร เห็นว่า ในส่วนของประชาชนที่แสดงความกังวลว่าหากยกเลิก การใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จะทำให้โรคกลับมาระบาดอีกครั้งว่า เกิดขึ้นเพราะรัฐบาลไม่อธิบายว่ารัฐมีกลไกที่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะพระราชบัญญัติโรคติดต่อ และเป็นเครื่องมือสำคัญในการกำกับควบคุมโรค นอกจากนี้ รัฐบาลยังขาดการประชาสัมพันธ์และชี้แจงให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ประชาชนจึงมีความกังวลในลักษณะเช่นนั้น

พล.ท.ภราดร ย้ำว่าความสัมฤทธิ์ผลของการลดการระบาดของโควิด-19 มาจากความร่วมมือร่วมใจของประชาชน ที่ตระหนัก ถึงผลกระทบจากการระบาดของโรค คงไม่สามารถพูดได้ทั้งหมดว่า สิ่งเหล่านี้คือความสำเร็จของรัฐบาล ทั้งยังมี ในส่วนของมิติทางเศรษฐกิจซึ่งกำลังเข้าสู่วิกฤต ความอดอยากไม่มีกินกำลังตามมา 

"เพราะเราจะต้องยุติวิกฤตหนึ่ง แล้วไม่ให้เกิดอีกวิกฤตหนึ่งซ้ำซ้อนขึ้นมาในทางทฤษฎีในการบริหารจัดการทุกอย่างไม่ใช่ว่าแก้วิกฤต 1 แต่กลับไปสร้างวิกฤตใหม่ เช่นนี้ถือว่าคุณไม่ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการ" พล.ท.ภราดรกล่าว

พล.ท.ภราดร ย้ำว่าการจ่ายเงินเยียวยา สะท้อนถึงฐานข้อมูลของรัฐบาลที่เกิดปัญหา การจ่ายเงินเยียวยาสามารถทำได้เพียงครึ่งหนึ่งของความต้องการประชาชน จึงทำให้เกิดความไม่เสมอภาคเท่าเทียมซึ่งรัฐบาลต้องตอบคำถามให้ได้ว่าจะสร้างความเสมอภาคขึ้นมาได้อย่างไร เพราะหากไม่สามารถบริหารจัดการสิ่งเหล่านี้ได้ จะเกิดวิกฤตตามมาอย่างแน่นอนและสุดท้ายอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลและในที่สุด