หัวหน้าพรรคการเมืองฝ่ายค้าน พร้อมคณะทำงานพรรคร่วมฝ่ายค้านเพื่อประชาชน ร่วมแถลงข่าวถึงการพิจารณา พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติโดยมีความเห็นว่า ร่าง พ.ร.บ.ว่าเ้วยการออกเสียงประชามติของรัฐบาล เป็นร่างที่มีปัญหาหลายอย่าง ทั้งในการรณรงค์เรื่องการจำกัดเสรีภาพประชาชนคล้ายกับการรณรงค์ปี 2559 ทำให้เกิดการไม่ยอมรับ ยังมีประเด็นการถามที่เห็นว่ายังไม่ชัดเจน เป็นคำถามตามแนวทางรัฐบาลต้องการ แต่ไม่ได้เป็นไปตามสิทธิเสรีภาพยังอ้างอิงว่าขอบเขตอำนาจให้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีปัญหา
ดังนั้นพรรคร่วมฝ่ายค้านจะทำร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ประกบร่างรัฐบาล และผู้นำฝ่ายค้านจะสอบถามหารือประธานรัฐสภา เพราะมองว่ากฎหมายฉบับนี้ไม่ได้เป็นกฎหมายเพื่อการปฏิรูป โดยจะถามประธานรัฐสภาว่าเห็นยังไง เกี่ยวกับการปฏิรูป ทั้งอยู่ที่ประธานวินิจฉัยเป็นที่สุด และหากแต่ยังจะเป็นการประชุมรัฐสภา ด้วยอ้างว่าเป็นกฎหมายปฏิรูป พรรคร่วมฝ่ายค้าน จะขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิฉัยว่า ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติฉบับของรัฐบาล เกี่ยวกับการปฏิรูปหรือไม่ โดยเห็นว่ารัฐบาลยืมมือ ส.ว.เพื่อให้ร่างกฎหมายของรัฐบาลผ่าน และยังเห็นว่าการตราพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ควรให้ท้องถิ่นได้ประโยชน์ในการนำไปใช้ด้วย
ขณะที่ ชูศักดิ์ ศิรินิล รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ฝ่ายกฎหมาย ชี้แจงเพิ่มเติมว่าที่จะถามประธานรัฐสภา เพราะเหตุจากพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี เสนอ การตรากฎหมาย โดยอ้างว่าทำขึ้นตามหมวด 16 ว่าด้วยการปฏิรูปประเทศ แต่พรรคฝ่ายค้านเห็นว่ากฎหมายฉบับนี้ ไม่ได้เป็นกฎหมายปฏิรูปประเทศ ควรตราตามปกติกฎหมายทั่วไป และเมื่อพิจารณารายละเอียด กฎหมายต้องทำประชาพิจารณ์ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญปี 2560 ด้วย ซึ่งร่างฉบับดังกล่าวยังไม่มีข้อมูลการรับฟังความเห็นจากประชาชน พรรคฝ่ายค้านสงสัยว่าฟังความเห็นประชาชนมาอย่างไร ฟังจริงหรือไม่แค่ไหน
และการทำประชามติเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่กฎหมายรัฐบาลเขียนไว้กว้างๆว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติม ให้ประธานรัฐสภาแจ้งนายกรัฐมนตรีรับทราบเพื่อทำประชามติ โดยย้ำถ้ามถึงการตั้งคำถามที่จะถามประชาชนจะเป็นเช่นไร เชื่อว่าอาจจะเป็นปัญหาภายหลังที่ใช้คำถามแบบกว้าง ซึ่งไม่มีการกำหนดไว้ โดยอ้างว่าการถามเมื่อปี 2559 ถามหลายคำถามและยังมีคำถามพ่วงตามด้วย ดังนั้นการเขียนโดยไม่ได้ระบุว่าแก้รัฐธรรมนูญในเรื่องใด เกรงว่าจะเกิดปัญหา สุดท้ายเห็นว่าร่างกฎหมายประชามติของรัฐบาลไม่มีบทบัญญัติที่เปิดโอกาสให้ประชาชนไม่ว่ากลุ่มใด จะเห็นด้วยหรือไม่ ร่วมรณรงค์ให้ความรู้เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญแก่ประชาชน เป็นการทั่วไป
โดย ชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล เห็นว่าร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยประชามติของรัฐบาล จะปรับจากฉบับปี 2559 แต่ยังมีการจำกัดสิทธิประชาชน ไม่มีการรับรองส่งเสริมสิทธิเสรีภาพประชาชน และยังกังวลว่าอาจเกิดเหตุการณ์อย่างในอดีตที่อ้างอิงว่า กกต.ปิดกั้นการแสดงสิทธิเสรีภาพการแสดงออก พรรคฝ่ายค้านมีความเป็นจำเป็นเสนอร่างฯประกบร่างฯของรัฐบาลในสัปดาห์หน้า พร้อมตั้งคำถามว่าทำไมจึงเร่งรัดการตรากฎหมายเป็นการด่วน ซึ่งไม่เห็นด้วยและสงสัยในเจตนาว่าต้องการเตะถ่วงกระบวนการแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่
สำหรับการการยื่น 48 ส.ส.และ ส.ว. อ้าง จิรวัฒน์ อรัณยกานนท์ ส.ส.กทม. พรรคก้าวไกล ระบุว่ากระบวนการยื่นศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 256 มีช่องทางยื่นหลังโหวตผ่านวาระ 3 โดยชี้ว่าเป็นประเด็นทางการเมืองมากกว่า เป็นการยืดเวลา และย้ำว่าต้องการให้ร่างแก้รัฐธรรมนูญทั้ง 7 ญัตติผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา เพราะไม่ต้องการให้เกิดเงื่อนทางการเมืองต่อไป