ไม่พบผลการค้นหา
‘วอยซ์ออนไลน์’ ขอย้อนทบทวนผลงานที่มาของสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ซึ่งทำหน้าที่มาครบ 1 ปี ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นสถาบันทางการเมืองที่ยึดโยงกับประชาชน โดยในรอบ 1 ปีมีเหตุการณ์สำคัญทั้งในส่วนของรัฐบาล และฝ่ายค้านที่น่าสนใจ
  • 3 ผลงาน ฝ่ายรัฐบาล "เสียบบัตรแทน-แก้ผลโหวต-ซื้องูเห่า"

1.เสียบบัตรแทนงบปี'63 – ศาล รธน.ชี้ ให้โหวตใหม่  

เริ่มต้นด้วยผลงานอื้อฉาวสภาไทยหลังได้เข้าทำหน้าที่ เมื่อ นิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ อดีต ส.ส.พัทลุง มือกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ ออกโรงแฉพร้อมหลักฐานปรากฏชัด พฤติกรรมเสียบบัตรแทนกันของส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล ต่อเนื่องด้วยภาพนิ่งภาพ-ภาพเคลื่อนไหวจากสื่อหลายสำนัก ฉายรายเอียดส.ส.อีกหลายรายมีพฤติกรรมเดียวกัน ก่อให้เกิดการเปรียบเทียบอย่างกว้างขวางกับเหตุการณ์ทำนองเดียวกัน ยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญชี้ชัด เสียบบัตรออกเสียงแทนกันถือเป็นการทุจริต มติไม่ชอบ ร่างพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550 และร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ไร้ผลในทางกฎหมาย ด้วยเหตุว่า ตราขึ้นไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ นำไปสู่การเข้าชื่อเสนอญัตติส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย หวังเห็นบรรทัดฐานตีความเดิม

ปรากฏว่า หักปากเซียนทุกสำนัก มติ 5ต่อ 4 เสียง ชี้ว่า พ.ร.บ.งบประมาณปี 2563 ไม่โมฆะ เนื่องด้วยเหตุแห่งความจำเป็นเร่งด่วนที่ประเทศชาติจะต้องได้กฎหมายฉบับนี้ไปแก้ปัญหาความล่าช้าและอุปสรรคในการเบิกจ่ายงบประมาณแผ่นดิน ส.ส.ซีกรัฐบาลผู้สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้โอกาสแก้มือลงมติร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวในวาระที่ 2-3 ใหม่อีกครั้ง    

ฝ่ายค้าน วอล์กเอาต์  อภิปรายไม่ไว้วางใจ สภา kdkdkdkdqqq.jpg

2.งัดข้อบังคับที่ 85 แก้ผลโหวตเช็คบิล ม.44 สภาล่ม 2 ครั้ง 2 วัน  

เมื่อสภาฯ  เสนอให้ตั้ง คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญศึกษาผลกระทบจากประกาศและคำสั่ง คสช.และการใช้อำนาจ หัวหน้า คสช.ตามมาตรา 44 ภายหลังการอภิปรายประณามการใช้อำนาจพิเศษอย่างกว้างขวาง ผลการลงมติปรากฎว่า เห็นชอบญัตติดังกล่าวด้วยคะแนนเสียง เห็นชอบ 236 ต่อ 231 งดออกเสียง 2  

แต่อย่างไรก็ตาม กล่องดวงใจของคณะรัฐประหารที่ใช้มาตลอด 5 ปี โดยไร้การตรวจสอบเป็นเสมือนพื้นที่ที่แตะต้องมิได้ ทำให้ผู้นำส.ส.ฝ่ายรัฐบาลต้องออกโรงใช้ข้อบังคับการประชุมข้อที่ 85 เสนอให้มีการนับคะแนนใหม่ ท่ามกลางความงุนงงของสื่อมวลชน และประชาชนที่รับชมการตรวจสอบ

ขณะที่เหตุการณ์ในที่ประชุมเป็นไปอย่างชุลมุนฝ่ายค้านประท้วงการตัดสินให้นับคะแนนใหม่ของประธาน เพราะการลงมติชี้ขาดด้วยเสียงข้างมากต้องยึดเป็นหลักการ มิเช่นนั้นเมื่อรัฐบาลโหวตแพ้ก็จะต้องโหวตใหม่อยู่ร่ำไปนั้นไม่ได้ หลังโต้แย้งนานนับชั่วโมงก็สุดจะต้านทาน

ทำให้ฝ่ายค้านตัดสินใจวอล์กเอ้าต์ จนสภาล่ม 2 ครั้ง ในรอบ 2 วัน เมื่อตรวจสอบภายหลังจึงพบว่า เหตุแห่งความพ่ายแพ้เกิดจากความไร้วินัย ของส.ส.ซีกรัฐบาลที่ควบตำแหน่งรัฐมนตรี และไม่ให้ความสำคัญกับการประชุมสภา ขาดการประชุมจำนวนมากถึง 18 คน  

ศรีนวล บุญลือ - กวินนาถ ตาคีย์วิรัช ศรีนวล อนาคตใหม่ ภูมิใจไทย 00226.jpg

3. การเมืองน้ำเน่า-กว้านซื้องูเห่า แก้เกมเสียงปริ่มน้ำ

นายกฯ ที่ได้รับเสียงโหวตจากรัฐสภา 500 เสียง ได้รับเสียงสนับสนุนจาก 249 ส.ว.ลากตั้ง แต่ส.ส.ในสภาล่างกลับได้รับเพียง 251 เสียง จึงทำให้มีสภาพไม่ต่างจากรัฐบาลเป็ดง่อยการผลักดันกฎหมายของทั้งพรรคแกนนำและพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อนำไปสู่การบริหารราชการแผ่นดินตามนโยบายที่หาเสียงไว้แทบไม่อาจกระทำได้

รัฐบาลเสียงปริ่มน้ำไร้เสถียรภาพเอาตัวรอดประคองตัววันต่อวัน ท่ามกลางการต่อรองขนานใหญ่จาก 10 พรรคจิ๋วเบี้ยหัวแตกรายวัน ทางแก้ลำที่รัฐบาลเลือก คือ ถนนการเมืองสายเก่าที่เรียกธนกิจการเมือง เมื่อไร้เสถียรภาพ ก็สร้างเสถียรภาพด้วยการใช้เงิน "ซื้อ-ดูด" ส.ส.ฝ่ายค้าน อย่างอนาคตใหม่ที่ถูกวินิจฉัยยุบพรรค ฐาน ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ปล่อยเงินกู้ พรรคร่วมรัฐบาลมูมมามไม่รอช้า รีบยื่นข้อเสนอให้ส.ส.ขายตัว 23 ล้านบาท (ส่วนต่าง 2 ล้าน หัวคิวพ่อค้า) หวังเพิ่มเสียงต่อรองเก้าอี้รัฐมนตรีถอนทุนคืน ก่อนเจอแฉขบวนการล่อซื้องูเห่าด้วยคลิปเพื่อนชวนเพื่อน ทำเสี่ยหน้าเสียไปเลยเจ้า

ปิยบุตร สภา อนาคตใหม่

ด้านฝ่ายค้าน พบ 5 ผลงานที่มีการใช้ทุกกลไกในระบบรัฐสภาที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจ เดินหน้าตรวจสอบรัฐบาลสืบทอดอำนาจ แม้ไร้ผลในทางการเมืองหรือกฎหมาย ทว่าได้กลายเป็นการต่อสู้ทางความคิดตีแผ่ให้ประชาชนได้เห็นถึงความผิดปกติในบ้านเมืองนับจากคสช.ยึดอำนาจ

1. ต้อน 'ประยุทธ์-วิษณุ' จนมุม อึกอัก 'ถวายสัตย์ฯ'

ฝ่ายค้านเดินหน้าขอเปิดอภิปรายทั่วไป ตามมาตรา 152 ปมถวายสัตย์ฯไม่ครบ และไม่ยอมแจ้งที่มารายได้ของรัฐบาลในการผลักดันนโยบายตามมาตรา 161-162 ของรัฐธรรมนูญ ภายหลังพบหลักฐานจากคลิปข่าวการนำทีมครม.ประยุทธ์ถวายสัตย์ฯปฏิญาณไม่ครบ ส.ส.พรรคร่วมฝ่ายค้านไม่รอช้า เดินเกมขอซักฟอกทันที งัดหลักคิดการสาบานตนถวายสัตย์ ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 มุ่งหมายให้มีการปกป้องกฎหมายสูงสุด บรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญ 17 ฉบับ ก่อนถูกนายกฯสืบทอดอำนาจทำลายหลักการ

แม้ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับวินิจฉัย ด้วยเหตุว่า เป็นเรื่องของฝ่ายบริหาร แต่กลไกในสภาก็ได้ฉายภาพให้เห็นถึงผู้นำที่ไร้สัจจะวาจาตั้งแต่ครั้งยึดอำนาจ ทำทีขึงขังขอเข้าชี้แจงด้วยตนเองบนบัลลังก์ในสภา ทว่าตลอด 27 นาที ที่ยืนอ่านโพยกลับไม่เอื้อนเอ่ยถึงการถวายสัตย์ฯไม่ครบสักประโยคเดียว ด้านหลวงประดิษฐ์วาทการก็ล้มละลายความน่าเชื่อถือครั้งแล้วครั้งเล่า ไม่เพียงเจองัดบันทึกในหนังสือลายมือตนเองถึงการถวายสัตย์ฯ ว่า จะกล่าวสั้นหรือยาวกว่าที่กฎหมายสูงสุดกำหนดไม่ได้ ก็ได้แต่ยืนอึกอักชักแม่น้ำทั้ง 5 สร้างข้อยกเว้นให้พวกตนเอง

2.ซักฟอกเดือด แฉไอโอกองทัพ ปั่นความขัดแย้ง 

แม้เสียงในสภาจะสู้รัฐบาลที่ใช้กลเกมธนกิจการเมืองเอาตัวรวดได้เสมอ แต่ฝ่ายค้านยังคงเดินเกมตรวจสอบถ่วงดุลอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจในรอบ 5 ปี ที่เหล่าคนดีที่มาจากการยึดอำนาจหวาดผวาการตรวจสอบย้อนหลังถึงยุคคสช. เมื่อการอภิปรายไม่ไว้วางใจสาวไส้ รัฐมนตรีเป็นรายบุคคล

แต่ที่เรียกเสียงฮือจากทางบ้านคงหนีไม่พ้น รัฐมนตรีแป้ง  ที่ออกอาการหลุดอย่างเห็นได้ชัด ขู่ฟ้องกราวรูดใครพาดพิงเรื่องฉาวเข้าคุกที่ออสเตรเลีย

โดยไฮไลต์สำคัญอยู่ที่การตีแผ่เอกสารชั้นลับที่สุดของพรรคน้องใหม่หัวก้าวหน้า ทศวรรษแห่งความขัดแย้ง ประชาชนดำรงอยู่ด้วยความเกลียดชังไม่ใช่เรื่องบังเอิญ หากแต่มีมือดีในเครื่องแบบลายพรางคอยใช้งบประมาณของรัฐอยู่เบื้องหลังในการยุยงปลุกปั่น สร้างความเกลียดชัง ผ่านปฏิบัติการข่าวสาร หรือ ไอโอ

ประหนึ่งประเทศไทยอยู่ในภาวะสงคราม มุ่งให้คนในชาติแตกคอ ทะเลาะเบาะแว้ง เพื่อความง่ายดายต่อการแทรกแซงการปกครองของอำนาจนอกระบบที่ถูกทำให้เป็นเรื่องปกติ หนำซ้ำยังเห็นสภาพโครงสร้างที่ไม่เป็นธรรมของชายชาติทหาร ที่กัดกินเอารัดเอาเปรียบผู้ใต้บังคับบัญชา กินหัวคิวยอดปั่นกระแสกันหลัก 100 บาท แต่สุดท้ายไม่อาจต้านทาน ผู้ถูกอภิปรายไดรับความไว้วางใจทั้งคณะด้วยกลเกมทางการเมือง

ประวิตร-ประยุทธ์ สภา อภิปรายไม่ไว้วางใจ

3. ไล่บี้คสช.-ม.44 ประจานรบ.ไร้สปิริต-พลิกโหวต

ส.ส.ฝ่ายค้านได้เดินหน้าตรวจสอบถ่วงดุลรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นกินความย้อนหลังไปยังยุค คสช. เรืองอำนาจอย่างไร้การตรวจสอบ โดยมีการเสนอญัตติให้มีการตั้ง กมธ.วิสามัญตรวจสอบ อย่างน้อย 8 ญัตติ ครอบคลุมในประเด็น ผลกระทบจากการใช้มาตรา 44 ของประชาชน เหยื่อการเมืองที่คิดต่างจากอำนาจรัฐ จนถึงแวดวงตำรวจ การใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การเมืองท้องถิ่น และแนวทางป้องกันไม่ให้รัฐประหารเกิดขึ้นอีกในอนาคต

ผลปรากฏว่า ญัตติที่เกี่ยวข้องกับ มาตรา 44 กล่องดวงใจของคณะรัฐประหารไม่สามารถเกิดขึ้นได้

ทั้งนี้ ญัตติที่พุ่งเป้าไปยังคณะรัฐประหารที่ละเมิดเสรีภาพปวงชนชาวไทยโดยตรงไม่อาจตรวจสอบได้ แต่ยังมีหนึ่งญัตติที่ได้รับความเห็นชอบให้เกิดการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน จากการทำร้ายจ่านิว ‘สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์’ กลางเมืองกลางวันแสกๆ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการพิจารณา ศึกษาและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการลอบประทุษร้ายประชาชน

ผู้นำฝ่ายค้าน สภา อภิปรายไม่ไว้วางใจ 0228_0018.jpg

4. ตีแผ่รายงานรัฐประหารละเมิดสิทธินับไม่ถ้วน

การตรวจสอบรัฐบาลยังคงเดินหน้าผ่านการใช้กระบวนการในชั้นกรรมาธิการ (กมธ.) มีการพิจารณาศึกษาและจัดทำรายงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจอย่างไร้ขีดจำกัดของรัฐบาลทหารทยอยตีแผ่ข้อมูลต่อสังคม เช่น รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ผลกระทบจากประกาศ คสช. คำสั่ง คสช. และคำสั่งหัวหน้า คสช. ศึกษากรณีการดำเนินคดีต่อพลเรือนในศาลทหาร การจำกัดเสรีภาพการแสดงออกและการจำกัดเสรีภาพสื่อมวลชน

ซึ่งคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนพิจารณาเสร็จแล้ว มีข้อมูลที่น่าสนใจ เช่น สถิติการพิจารณาลงโทษสื่อมวลชน ด้วยกลไกกสทช. ตั้งแต่การรัฐประหารเมื่อ 22 พ.ค. 2557 รวมทั้งสิ้น 59 ครั้ง แชมป์คือสื่อฝ่ายตรงข้าม เช่น พีซทีวี และวอยซ์ทีวี ตั้งข้อหาการชุมนุมทางการเมือง ฝ่าฝืนประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557 และ 3/2558 ข้อ 12 จำนวน 421 ครั้ง ตั้งข้อหาไม่มารายงานตัวฝ่าฝืนประกาศ คสช. ฉบับที่ 41/2557 จำนวน 14 ครั้ง ตลอดจนข้อเสนอต่อการจัดการผลพวงรัฐประหาร โดยศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เช่น ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และยกเลิกบทบัญญัติที่ยกเว้นความรับผิดให้กับการกระทำของคสช.

ครช.-แก้รัฐธรรมนูญพีระพันธุ์ วัฒนา แก้รัฐธรรมนูญแก้รัฐธรรมนูญ ประชาชน

5. สร้างความหวัง ดันตั้ง กมธ.วิสามัญแก้รัฐธรรมนูญ

ความหวังหนึ่งประการที่พรรคแนวร่วมฝ่ายค้านผลักดันให้เกิดความคืบหน้าได้อย่างเป็นรูปธรรม คือ การตั้งกมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์ และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ถึงแม้จะถูก ส.ส.รัฐบาล เสนอญัตติประกบชิงตำแหน่งประธาน กมธ. ไปครอบครอง

แต่อย่างน้อยที่สุด ก็มีผู้แทนประชาชนที่เคลื่อนไหวให้มีการแก้รัฐธรรมนูญ อันเป็นพิษร้ายจากการรัฐประหารเมื่อปี 2557 และเพื่อเป็นความไม่ประมาทหากรัฐบาลไม่ดำเนินการตามี่ระบุไว้ในการแถลงนโยบายที่กำหนดให้มีการศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูยภายใน 1 ปี

โดยล่าสุดมีกาประชุมไปแล้ว 12 ครั้ง แต่ต้องชะลอไว้เนื่องจากวิกฤตโควิด-19 ขณะเดียวกันก็ได้มีการตั้งคณอนุกมธ.จำนวน 2 ชุด คือ คณะอนุกรรมาธิการศึกษาวิเคราะห์บทบัญญัติรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่น และ คณะอนุกรรมาธิการประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน

  • จำนวน ส.ส.เท่าที่มีอยู่ 487 คน ในปัจจุบัน

1 ปี สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 

  • พรรครัฐบาล 20 พรรค 275 เสียง (ปี 2562 มี 254 เสียง )

พรรคพลังประชารัฐ 118 เสียง

ภูมิใจไทย 61 เสียง

ประชาธิปัตย์ 52 เสียง

ชาติไทยพัฒนา 12 เสียง

รวมพลังประชาชาติไทย 5 เสียง

พลังท้องถิ่นไท 5 เสียง

ชาติพัฒนา 4 เสียง

รักษ์ผืนป่าประเทศไทย 2 เสียง

พรรคพลังชาติไทย 1 เสียง

พรรคประชาภิวัฒน์ 1 เสียง

พรรคพลังไทยรักไทย 1 เสียง

พรรคครูไทยเพื่อประชาชน 1 เสียง

พรรคประชานิยม 1 เสียง

พรรคพลเมืองไทย 1 เสียง

พรรคประชาธิปไตยใหม่ 1 เสียง

พรรคพลังธรรมใหม่ 1 เสียง

พรรคไทยศรีวิไลย์ 1 เสียง

พรรคประชาธรรมไทย 1 เสียง

พรรคไทรักธรรม 1 เสียง

พรรคเศรษฐกิจใหม่ 5 เสียง


  • พรรคฝ่ายค้าน 212 เสียง (ปี2562 มี 246 เสียง) 

พรรคเพื่อไทย เหลือ 134 (เดิม 135 คน อิทธิรัตน์ จันทรสุรินทร์ ส.ส.ลำปาง เขต 4 เสียชีวิต)

ก้าวไกล 54 เสียง

เสรีรวมไทย 10 เสียง

ประชาชาติ 7 เสียง

เพื่อชาติ 5 เสียง

พลังปวงชนไทย 1 เสียง

มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ (พรรคเศรษฐกิจใหม่) 1 เสียง

หมายเหตุ - กรุงศรีวิไล สุทินเผือก ส.ส.สมุทรปราการ พลังประชารัฐ หยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. / อิทธิรัตน์ จันทรสุรินทร์ ส.ส.ลำปาง เพื่อไทย เขต 4 เสียชีวิต

สภาผู้แทนราษฎร สส สภา 27 พค 2563 888_n.jpg

ข่าวที่เกี่ยวข้อง