กีเยิม เฟารี ซีอีโอของบริษัทแอร์บัสเปิดเผยว่า แอร์บัสกำลังมีแผนจะผลิตเครื่องบินพาณิชย์ 3 แบบแรกที่ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศเท่ากับศูนย์ (Zero-emission) โดยใช้เชื้อเพลิงจากไฮโดรเจน ซึ่งถือเป็น “ช่วงเวลาประวัติศาสตร์” สำหรับธุรกิจการบินพาณิชย์ และแอร์บัสคาดว่าจะผลิตเครื่องบินเหล่านี้ออกมาใช้ได้ในปี 2578
พิมพ์เขียว ZEROe ออกมา 3 แบบ ได้แก่ แบบเครื่องยนต์เทอร์โบแฟนที่สามารถรองรับผู้โดยสารได้มากกว่า 200 คนในระยะทางมากกว่า 2,000 ไมล์ทะเล ส่วนแบบเครื่องยนต์เทอร์โบพรอปจะรองรับผู้โดยสารได้ราว 100 คนในระยะมากกว่า 1,000 ไมล์ทะเลและเครื่องบิน “ผสมผสานปีกกับตัวเครื่องด้วยกัน” ซึ่งเป็นแบบที่แปลกตาที่สุดใน 3 แบบนี้
แอร์บัสระบุว่า เครื่องบิน 3 แบบนี้จะขับเคลื่อนโดยเครื่องยนต์กังหันก๊าซที่ถูกปรับให้เผาไหม้ไฮโดรเจนเหลว และใช้แผงเชื้อเพลิงไฮโดรเจนผลิตพลังงานไฟฟ้า แต่แอร์บัสยอมรับว่าจะผลิตเครื่องบินเหล่านี้ๆด้ เครื่องบินต่างๆ จะต้องลงทุนก้อนใหญ่กับการสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการเติมเชื้อเพลิง
เฟารีกล่าวว่า การเปลี่ยนผ่านมาใช้ไฮโดรเจนเป็นแหล่งเชื้อเพลิงหลักสำหรับเครื่องบินจะต้องอาศัยการตัดสินใจที่เด็ดขาดในการเปลี่ยน “ระบบนิเวศน์ในการบิน” ทั้งหมด ต้องอาศัยการสนับสนุนจากรัฐบาลและหุ้นส่วนในอุตสาหกรรม จึงจะลุกขึ้นสู้กับความท้าทายในการใช้พลังงานทดแทนและไฮโดรเจน เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของอุตสาหกรรมการบิน
นักวิเคราะห์อธิบายว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการดึงไฮโดรเจนมาใช้ในการการเดินทางทางอากาศ ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ก็เคยมีการใช้ไฮโดรเจนกับเครื่องบินมาแล้ว แต่ยุคแห่งการใช้เชื้อเพลิงจากไฮโดรเจนสิ้นสุดลงเมื่อเกิดเหตุเครื่องบินพาณิชย์ฮินเดนบวร์กของเยอรมนีไฟไหม้เมื่อปี 2480
ช่วงปี 2543-2545 แอร์บัสก็เพิ่งร่วมโครงการ ‘ไครโยเพลน’ ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรปให้ศึกษาความเป็นไปได้ของเครื่องบินที่ใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนเหลว แต่หลังจากนั้นก็ไม่มีใครสนใจเชื้อเพลิงไฮโดรเจนนัก