ไม่พบผลการค้นหา
ท่ามกลางสถานการณ์โควิด ระลอก 3 ที่ไม่มีท่าทีจะลดลงง่ายๆ ทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและรมว.กลาโหม ต้องระดมสรรพกำลังในการแก้ปัญหา หนึ่งในนั้นคือ ‘กองทัพ’ ที่มีทั้งอุปกรณ์และกำลังคน

โดยมีขุนพลฝ่ายทหาร ได้แก่ พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล รมช.กลาโหม พล.อ.ณัฐ อินทรเจริญ ปลัดกลาโหม พล.อ.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผบ.ทหารสูงสุด ในฐานะหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม.) และ ผบ.เหล่าทัพ ในการตอบสนองรัฐบาล ซึ่งในภาพรวมเป็นไปในลักษณะทำตามคำสั่งและในรูปแบบงานประจำ หรือในภาษาทหารเรียกว่า ‘ระเบียบปฏิบัติประจำ’ หรือ รปจ. ซึ่งแตกต่างจากยุค ผบ.เหล่าทัพ ก่อนหน้านี้ที่มี ‘แอคชั่น’ มากกว่า ผบ.เหล่าทัพ ชุดปัจจุบัน

ย้อนกลับไป ผบ.เหล่าทัพ ชุดก่อนหน้านี้ จะเห็นได้ว่า พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ อดีต ผบ.ทบ. มีแอคชั่นอยู่มาก ถึงขั้นสวมชุดป้องกันลงพื้นที่ฉีดน้ำยาพ่นฆ่าเชื้อด้วยตนเอง แต่อย่าลืมว่าในการระบาดระลอกแรก ทบ. ถือเป็นจำเลยสังคม เพราะเกิดจากกรณีการจัดแข่งขันมวยที่สนามวยลุมพินี รามอินทรา ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมสวัสดิการ ทบ.

ส่วน พล.อ.อ.มานัต วงษ์วาทย์ อดีต ผบ.ทอ. ก็คิดค้นนวัตกรรมต่างๆของ ทอ. ออกมาซัพพอร์ตการควบคุมการแพร่ระบาด เป็นอุปกรณ์เสริมทางการแพทย์ แม้แต่ พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ อดีตผบ.ทร. ก็เคยฝากผลงานการรองรับคนไทยที่กลับจากอู่ฮั่น และเข้าพักที่อาคารรับรองสัตหีบ อ่าวดงตาล ในพื้นที่ ทร. ถือเป็นเป็นโมเดลแรกในการจัดทำสถานที่กักกันโรค หรือ State Quarantine เป็นต้น

ตัดภาพกลับมา ผบ.เหล่าทัพ ชุดปัจจุบัน ยังคงทำงานสนับสนุนรัฐบาล แต่ไม่ได้มีความเคลื่อนไหวเฉกเช่น ผบ.เหล่าทัพ ชุดเดิม โดยภารกิจที่กองทัพทำในปัจจุบันเป็นในลักษณะการสนับสนุนหน่วยงานต่างๆ เช่น การจัดตั้ง รพ.สนาม การจัดรถครัวสนาม การแจกจ่ายสิ่งของอุปโภคบริโภค การป้องกันแนวชายแดน การส่งเครื่องบินแอร์บัส ทอ. ไปรับข้าราชการสถานทูตไทยและคนไทยจากอินเดียกลับไทย การสนับสนุนการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เป็นต้น

อภิรัชต์ ณรงค์พันธ์   กองทัพบก ผบ.ทบ.ใหม่

อย่างไรก็ตามในยามยากเช่นนี้ กองทัพถือเป็นองคาพยพที่สำคัญของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เพราะเป็นหน่วยงานที่สามารถตอบสนองรัฐบาลได้รวดเร็ว หากได้รับการสั่งการมา ในการรับมือสถานการณ์โควิดที่เกิดขึ้น แต่อีกแง่หนึ่งเพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึกในการจัดลำดับความสำคัญ

พล.อ.ประยุทธ์ จึงย้ำเสมอว่าตนฟังทั้งสาธารณสุขและภาคเอกชนในการทำงาน ไม่ได้ฟังเพียงฝ่ายความมั่นคงอย่างเดียว เปรียบเป็น ‘ทีมประเทศไทย’ นั่นเอง.

ทั้งนี้เพื่อไม่ให้กองทัพตกเป็น ‘จำเลยสังคม’ จึงต้องคุมเข้มในรั้วทหารไม่ให้เกิดคลัสเตอร์ใหม่ขึ้นมา นับตั้งแต่ต้นเดือน เม.ย. 2564 ที่โควิดระลอก 3 ระบาดใหม่ ผบ.เหล่าทัพ ได้ออกกฎเหล็กคุมเข้มหน่วยทหารและบ้านพักทหาร โดยมีการคาดโทษวินัยทหารหากฝ่าฝืนด้วย พร้อมทั้งตั้ง รพ.สนามทหาร ขึ้นมา โดยใช้ทีมแพทย์จาก รพ.เหล่าทัพ เพื่อไม่ให้เป็นภาระของ รพ.รัฐบาล รวมทั้งให้มีการบริหารจัดการภายในกองทัพ เพื่อรองรับผู้ติดเชื้อที่เป็นกำลังพลและครอบครัว

ประยุทธ์ โรงพยาบาลสนามเอราวัณ 1164410000000.jpg

หลังเกิด ‘คลัสเตอร์’ ขึ้นภายในกองทัพก่อนหน้านี้ เช่น การแข่งฟุตบอลของพี่น้องทหารม้า ที่มี พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ร่วมแข่งขันด้วย

รวมทั้งมีนายทหารคอแดงที่สังกัด พล.ม.2 รอ. และ ฉก.ทม.รอ.904 ต่างติดเชื้อโควิดจากก๊วนฟุตบอลดังกล่าว ในส่วนของ ทอ. มีการติดเชื้อภายใน กองบิน 41 จ.เชียงใหม่ จึงต้องปิดกองบิน เพื่อรักษากำลังพลที่ติดเชื้อ และทำการกักตัวกำลังพลเกือบทั้งหมด รวมทั้งมีกำลังพลติดเชื้อที่ กองบิน 1 จ.นครราชสีมา เป็นต้น

ในส่วนของ ทบ. ถือเป็นกองทัพที่ใหญ่ที่สุดได้ตั้ง รพ.สนาม ทบ. 9 แห่ง ในพื้นที่ 7 จังหวัด หนุน สธ. รองรับผู้ป่วยได้ 1,371 เตียง ได้แก่ กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1, มณฑลทหารบกที่ 11 , กรมพลาธิการทหารบก

ศูนย์การทหารราบ , กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 15 , กองพลทหารราบที่ 15 , กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 5 , กองพันเสนารักษ์ที่ 1 และมณฑลทหารบกที่ 28

อีกทั้งให้ รพ.ค่ายทหาร ทบ. 36 แห่ง ตั้ง รพ.สนามเพิ่มเติม โดยรองรับผู้ป่วยได้ 2,828 เตียง โดยกระจายอยู่ในทุกกองทัพภาค นอกจากนี้ยังมี รพ.สนาม ทบ. ซึ่งบริหารจัดการโดย รพ.พระมงกุฎเกล้า 2 แห่ง ได้แก่ รพ.สนาม ทบ. (เกียกกาย) และ รพ.สนาม ทบ. (กรมยุทธศึกษา ทบ.)

ส่วน ทอ. ได้ตั้ง รพ.สนาม 2 แห่ง คือที่ ร.ร.การบิน กำแพงแสน รองรับได้ 120 เตียง และที่ดอนเมือง รองรับได้ 120 เตียง ส่วน ทร. ได้ตั้ง รพ.สนาม 3 แห่ง ได้แก่ ที่ศูนย์ฝึก สอ.รฝ. (เกล็ดแก้ว) รองรับได้ 320 เตียง ค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้า ในการดูแลของกองพลนาวิกโยธิน รองรับได้ 174 เตียง และที่สนามฝึก ทร. บ้านจันทเขลม รองรับได้ 346 เตียง เพื่อรองรับการแพร่ระบาดในพื้นที่ภาคตะวันออกโดยเฉพาะ

ทั้งหมดนี้เป็นภาพรวมของกองทัพในการเผด็จศึกโควิด-19 ระลอกที่ 3 และเป็นภาพสะท้อนถึงท่าทีและบทบาทของกองทัพต่อรัฐบาล และการบริหารจัดการภายในกองทัพควบคู่กันไป

แน่นอนว่ากองทัพยังคงเป็นกองหนุนสำคัญของ พล.อ.ประยุทธ์ โดยภารกิจที่อยู่ระหว่างการเตรียมการคือการวางสรรพกำลังแพทย์และพยาบาลที่สังกัดกระทรวงกลาโหม แต่ไม่ได้ปฏิบัติงานในสายแพทย์ รวมทั้งแพทย์และพยาบาลทหารที่เกษียณฯไปแล้ว เพื่อแสตนบายทำงานร่วมกับ สธ. ในการระดมฉีดวัคซีนให้กับประชาชน ที่รัฐบาลเตรียมปูพรมฉีดเข็มแรกในเดือน มิ.ย.นี้ เป็นต้นไป

ปฏิบัติการ ‘รปจ.’ หนุน ‘ประยุทธ์’ !!

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปริศนา ลายพราง
164Article
0Video
39Blog