นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ชี้แจงกระทู้ถามสดของนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ ส.ส.พรรคชาติไทยพัฒนา ถึงกรณีการเสียชีวิตของ งพะยูนมาเรียมง โดยชี้ให้เห็นว่าปรากฎการณ์การจากไปของมาเรียม เปรียบเสมือนเด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว ซึ่งน่าจะทำให้คนไทยได้ตระหนักถึงการทิ้งพลาสติกในทะเลว่าจะส่งผลกระทบอย่างไร เพราะเพียงแค่ทิ้งขยะลงทะเลเพียงชิ้นเดียว กลับทำให้คนไทยและเด็กๆ ทั้งประเทศต้องโศกเศร้าเสียใจกับการจากไปของพะยูนมาเรียม
โดยปัจจุบันขยะทะเลมาจากขยะบกถึงร้อยละ 80 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นขยะพลาสติก โดยในปีงบประมาณ 2562 กระทรวงฯ ได้วางทุ่นกักขยะในแม่น้ำแล้ว 24 จุด เหลืออีก 125 จุด ที่จะทยอยดำเนินการติดตั้ง ขณะเดียวกันกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้นำเรือเก็บขยะจำนวน 2 ลำ ประจำการที่จังหวัดสมุทรสาคร และ จ.ภูเก็ต เพื่อจัดเก็บขยะบริเวณปากแม่น้ำก่อนไหลสู่ท้องทะเล และจะมีการจัดหาเพิ่มเติมอีก 7 ลำ ไปประจำการเก็บขยะในจังหวัดต่างๆ อาทิ ระยอง ชลบุรี ชุมพร ระนอง
นายวราวุธ ยังกล่าวว่าพลาสติกที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร เช่น เม็ดบีดในโฟมล้างหน้า ปัจจุบันยังไม่มีเทคโนโลยีในการกำจัดได้ ยอมรับว่า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้พลาสติกของคนไทยยังเป็นเรื่องยาก แต่ก็มีความจำเป็นที่จะต้องช่วยกันทำให้สำเร็จ ทั้งนี้แม้ว่านโยบายรัฐบาลจะดีอย่างไร แต่หากพฤติกรรมของประชาชนไม่ตระหนักรู้ในเรื่องนี้ ก็ไม่มีประโยชน์และจะยังคงเกิดปรากฎการณ์มาเรียมซ้ำอีกในอนาคต
พีมูฟ ยื่น วราวุธ สางปมปัญหาที่ดินทำกิน
ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม หรือพีมูฟ ได้ยื่นหนังสือถึงนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เพื่อสอบถามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาป่าไม้และที่ดิน ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะกรณีปัญหาเร่งด่วนให้มีทางออกในการแก้ปัญหาที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมและพอใจ หลังจากที่พีมูฟได้ยื่นหนังสื่อถึง รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไปเมื่อวันที่ 22 ก.ค.ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ พีมูฟยังได้เสนอแนวทางการแก้ปัญหาป่าไม้และที่ดินในเขตป่า อาทิ กรณีผู้ได้รับผลกระทบจากคดีป่าไม้ที่ดินที่เกิดจากนโยบายทวงคืนผืนป่า ให้ยุติการดำเนินคดีฟ้องร้องชาวบ้านในระหว่างการแก้ไขปัญหา, เยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากคำพิพากษาให้มีที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย, ยุตินโยบายทวงคืนผืนป่า, ผลักดันให้มีมาตรการคุ้มครองพื้นที่โฉนดชุมชน, ทบทวนปรับปรุงเนื้อหา พ.ร.บ. ป่าชุมชน, ผลักดันให้มี พ.ร.บ.สิทธิชุมชนในการจัดการที่ดินและทรัพยากรในรูปแบบโฉนดชุมชน เป็นต้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง: