ย้อนไปในปี 2559 ราว 2 ปี หลังการรัฐประหารของ คสช. มีคำสั่งหัวหน้า คสช.ตามมาตรา 44 รัฐธรรมนูญชั่วคราวออกมาในเดือนสิงหาคม ระงับการทำหน้าที่ของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่ากทม.ในขณะนั้น จากนั้นในเดือนตุลาคมได้มีคำสั่งหัวหน้า คสช.อีกฉบับตั้งรองผู้ว่าฯ อัศวิน ขวัญเมือง เป็นผู้ว่าฯ แทน
หากดูสถิติจะพบว่า ตั้งแต่ปี 2557-2562 มีการใช้คำสั่งหัวหน้าคสช. 212 ฉบับ ในจำนวนนี้มีอย่างน้อย 34 ฉบับที่เป็นคำสั่งปลด-โยกย้าย-แต่งตั้งใหม่-ระงับการปฏิบัติหน้าที่-ขยายเวลาปฏิบัติหน้าที่ รวมแล้วเกือบ 500 ตำแหน่ง แบ่งเป็นกรรมองค์กรอิสระ 3 ตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัด 11 ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน 24 ตำแหน่ง องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) หลายระดับ 300 กว่าตำแหน่ง ฯลฯ
นับเป็นการโยกย้ายข้าราชการจำนวนมหาศาล ตามอำเภอใจ ของ คสช.เนื่องจากไม่มีใครทราบเหตุผลหลักเกณฑ์ หากดูเฉพาะ ‘กรณีตรวจสอบการทุจริต’ จะพบว่า มีคำสั่งอยู่ 6 ฉบับ ครอบคลุมคนกว่า 200 ตำแหน่ง รวมถึง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ด้วย และจนบัดนี้ก็ไม่มีใครทราบผลการตรวจสอบ
สายธารอำนาจของ คสช.ไหลจากคำสั่งคณะผู้ยึดอำนาจมาสู่กฎหมายปกติด้วย คือ แทนที่การเลือกตั้งผู้ว่าฯ จะเป็นไปตามวาระ 4 ปี พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2562 ที่ออกโดยสภานิติบัญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้บัญญัติให้อำนาจการกำหนดวันเลือกตั้ง อปท.ทั้งหลายรวมถึงกรุงเทพมหานคร อยู่ในมือของ คสช. และกรณีที่ไม่มี คสช.แล้ว ให้อำนาจตัดสินใจนั้นอยู่ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ดังนั้น ผู้กุมชะตากรรมว่าคนกรุงเทพ 5 ล้านกว่าคนจะมีสิทธิมีเสียงเมื่อไหร่ก็คือ ครม.รัฐบาลประยุทธ์
ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับเลือกเป็นนายกฯ จากรัฐสภาซึ่งมีส.ส.จากการเลือกตั้ง และส.ว.จากการแต่งตั้ง เมื่อเดือนมิถุนายน 2562 ผ่านมาเกือบ 3 ปี จึงเริ่มทนแรงเสียดทานไม่ไหว กำหนดให้มีการเลือกตั้ง อบจ.เมื่อปลายปี 2563 และเลือกตั้ง อบต.เมื่อปลายปี 2564 และล่าสุด กำหนดแล้วว่า จะมีการเลือกตั้ง กทม.-พัทยา ในวันที่ 22 พ.ค.2565
ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งที่น่าจับตา เปิดตัวแล้วอย่างน้อย 6 คน คือ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครอิสระ, วิโรจน์ ลักขณาอดิศร จากพรรคก้าวไกล, สุรัชชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ จากพรรคประชาธิปัตย์, สกลธี ภัททิยกุล อดีตรองผู้ว่าฯ กทม., รสนา โตสิตระกูล ผู้สมัครอิสระ, ประยูร ครองยศ จากพรรคไทยศิวิไลซ์
มีการวิเคราะห์กันมากมายว่า ‘คนกรุงเทพฯ’ ซึ่งเป็นพลังคนชั้นกลางที่มักเสียงดังกว่าใคร จะเทคะแนนไปให้ผู้สมัครคนไหนโดยมีหลากหลายเหตุปัจจัย ทั้งตัวผู้สมัคร นโยบาย รวมถึงพรรคที่สังกัดหรือลงแบบอิสระ
แต่เรื่องหนึ่งที่สำคัญและอาจเป็นปัจจัยหนึ่งในการวิเคราะห์ หนีไม่พ้น ‘วัย’ วัยที่แตกต่างก็นำมาซึ่งวิธีคิดทางการเมืองที่แตกต่าง ความไวต่อการวิพากษ์วิจารณ์สิ่งต่างๆ ที่แตกต่าง ความจงรักภักดีต่อพรรคที่แตกต่าง ฯลฯ
‘วอยซ์’ ชวนสำรวจประชากรกรุงเทพฯ โดยใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์ของกระทรวงมหาดไทย อัพเดทล่าสุดในเดือนธันวามคม 2564 ซึ่งจำแนกไว้อย่างละเอียดว่าประชากรที่มีทะเบียนราษฎรใน กทม. แต่ละขวบปีมีอยู่จำนวนเท่าใด โดยเลือกนำเสนอตั้งแต่ 18 ปี ซึ่งจะเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกไปจนถึง 85 ปี โดยพบว่ามีอยู่ 4,410,206 คน หากแบ่งตามเจนซึ่งเป็นที่นิยมในปัจจุบันจะพบว่า
Gen Z (อายุ 18-24 ปี) มีจำนวน 464,463 คน
Gen Y หรือ Millenials (อายุ 25-40 ปี) มีจำนวน 1,249,543 คน
Gen x (อายุ 41-56) ปี มีจำนวน 1,81,562 คน
Baby Boomer (อายุ 57-75 ปี) มีจำนวน 1,114,963 คน
Silent Generation (อายุ 76-85 ปี) มีจำนวน 199,675 คน
แม้ กกต.ยังไม่ได้ประกาศตัวเลขผู้มีสิทธิเลือกตั้งรอบนี้อย่างเป็นทางการ แต่จำนวนก็น่าจะอยู่ราวๆ นี้ ทั้งนี้ ในปี 2556 ซึ่งมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ครั้งล่าสุดที่ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์คว้าชัยชนะ ก็จะพบว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง มีอยู่ 4,244,465 คน และคน กทม.มาเลือกตั้งกัน 63.98%
รายละเอียดจำนวนประชากร มีดังนี้
อายุ (ปี) - จำนวน (คน)
18 - 60,666
19 - 61,058
20 - 60,625
21 - 70,183
22 - 67,486
23 - 67,781
24 - 76,664
25 - 78,275
26 - 80,250
27 - 76,001
28 - 76,186
29 - 76,871
30 - 76,513
31 - 76,500
32 - 73,178
33 - 74,672
34 - 70,569
35 - 74,335
36 - 78,804
37 - 80,210
38 - 83,248
39 - 85,920
40 - 88,011
41 - 90,622
42 - 90,916
43 - 87,544
44 - 88,787
45 - 88,666
46 - 85,561
47 - 84,877
48 - 82,812
49 - 85,972
50 - 88,338
51 - 86,397
52 - 84,821
53 - 87,126
54 - 84,016
55 - 81,434
56 - 83,673
57 - 84,005
58 - 80,659
59 - 78,462
60 - 75,218
61 - 75,418
62 - 71,787
63 - 66,478
64 - 64,146
65 - 62,101
66 - 57,861
67 - 57,757
68 - 53,275
69 - 50,694
70 - 48,530
71 - 45,461
72 - 42,903
73 - 37,633
74 - 33,134
75 - 29,441
76 - 26,886
77 - 25,284
78 - 23,623
79 - 21,386
80 - 21,360
81 - 17,204
82 - 18,535
83 - 16,773
84 - 14,871
85 - 13,753
ที่มา :
https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/displayData
https://ilaw.or.th/node/4809