นักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังเมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกี เพื่อเยี่ยมเยือนมัสยิดโบราณอายุหลายศตวรรษ หรือสถาปัตยกรรมอาณาจักรออตโตมัน มักจะได้เพื่อนใหม่เป็นน้องหมา หรือน้องแมว ที่ต่างเข้ายึดเอาเก้าอี้ร้านกาแฟ หลังคาเงาวับของรถยนต์ แผงลอยตามตลาด หรือฟุตบาธกลางแดดอุ่นๆ เป็นที่อยู่อาศัยแทบทุกหัวมุมถนน
คนเมืองอิสตันบูลส่วนใหญ่ยินดีกับการช่วยเหลือเพื่อนสี่ขา ที่มาอาศัยอยู่ในชุมชน เพื่อไม่ให้พวกมันอดอยาก ด้วยการนำถาดอาหารมาวางเสิร์ฟบริเวณประตู หรือหน้าต่างเป็นประจำ โดยทางทูเช เดอเมอร์เลค (Tugce Demirlek) หัวหน้าสัตว์แพทย์ในโรงพยาสัตว์แห่งหนึ่งคลายความกังวลว่า สัตว์จรจัดตสมหัวมุมถนนที่ได้กินอาหาร และรับการดูแลอย่างเพียงพอจะสงบ และไม่มีพฤติกรรมก้าวร้าว
นอกจากความเป็นห่วงเป็นใยจากคนเมืองแล้ว ด้านเทศบาลเมืองแห่งประวัติศาสตร์ก็พยายามสร้างความมั่นใจว่า สัตว์จรจัดบนท้องถนนต้องมีสุขภาพในเกณฑ์ดี เพราะทั้งคนอิสตันบูล และนักท่องเที่ยว มักจะแวะเวียนมาหยอกล้อกับเหล่าเพื่อนสี่ขา ซึ่งปรากฎตัวอยู่ทุกหนแห่ง ทำให้ต้องสัมผัสร่างกายกันอยู่บ่อยครั้ง
ด้วยความกังวลดังกล่าว เทศบาลเมืองอิสตันบลูเลยส่งเจ้าหน้าที่ออกตระเวนด้วยรถบัสสีขาวที่มีโลโก้สีแดงเขียนขนาบข้างว่า ‘Vetbus’ (เวตบัส) มากจาก ‘Veterinary’ (สัตวแพทย์) รวมกับ ‘Bus’ (รถบัส) นั่นเอง ซึ่งทำหน้าที่เสมือนคลินิกเคลื่อนที่ โดยจะเปลี่ยนตำแหน่งให้บริการไปเรื่อยๆ
ขณะที่คลินิกดังกล่าวออกตระเวนทั่วเมือง เมฟลูด (Mevlude) พนักงานในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งของอิสตันบูล นำแมวสีดำที่อาศัยอยู่บริเวณที่ทำงานของเธอมารับการดูแลรักษาที่ Vetbus เพราะเป็นห่วงสุขภาพของมัน เธอบอกว่า ชาวอิสตันบูลมักจะติดต่อไปยังเทศบาลเสมอ เมื่อเห็นเพื่อนสี่ขาจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ
ด้านสัตวแพทย์ที่ทำงานให้กับเทศบาลเมืองอิสตันบูลอย่าง นิฮาน ดิงเคอร์ (Nihan Dincer) บอกว่า ผู้คนควรจะนำสัตว์ที่อยู่ในความดูแลของตนเองมาที่ Vetbus เพื่อทำการฉีดวัคซีน เนื่องจากพวกเราสัมผัสกับสัตว์โดยตรงอยู่บ่อยครั้ง การป้องกันสัตว์ให้ปลอกโรคภัยก็เหมือนกับการดูแลตัวเองตามไปด้วย
สาเหตุที่ทำให้คนอิสตันบูลเอาใจใส่สัตว์ตามท้องถนน บางก็ว่ามาจากประเพณีดั้งเดิมของศาสนาอิสลาม ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งบอกว่ามาจากโครงสร้างของสถาปัตยกรรมในสมัยจักรวรรดิออตโตมัน โดย มายด์ เยลเดอริม (Mine Yildirim) นักวิจัยจากเดอะนิวสูคล มหาวิทยาลัยในนิวยอร์ก บอกว่า ในสมัยออตโตมันผู้คนสัญจรผ่านบ้าน มัสยิด หรือตลาด ทำให้ถนนกลายเป็นพื้นที่สำหรับสุนัข
ช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 ตุรกีมีนโยบายในการกำจัดสัตว์จรจัดออกมา ทำให้เจ้าหน้าที่ใช้ยาพิษสำหรับฆ่าสัตว์ตามท้องถนน จนกระทั่งมีกฎหมายคุ้มครองสัตว์ออกมายับยั้งกระบวนการดังกล่าวในปี 2004 ทำให้เจ้าหน้าที่รัฐต้องหันมาดูแลสัตว์จรจัดแทน ซึ่งปัจจุบันนอกจากคลินิกเคลื่อนที่แล้ว เทศบาลเมืองอิสตันบูลยังเปิดให้บริการโรงพยาบาลสัตว์อีก 6 แห่ง
เนื่องจากสัตว์แต่ละตัวมีการฝังไมโครชิปไว้เรียบร้อย ทันทีที่การรักษาเสร็จสิ้นพวกมันจะถูกส่งกลับไปยังแหล่งพักพิงดั้งเดิม เว้นแต่ว่าสัตว์ตัวไหนมีผู้ต้องการนำไปอุปการะ ซึ่งเป้าหมายของอิสตันบูลอยู่ที่การ ฉีดวัคซีน ฆ่าเชื้อ และดูแลรักษาสุนัขจรจัดจำนวน 130,000 ตัว รวมถึงแมวที่อาศัยอยู่ตามท้องถนน 165,000 ตัว
ต้องกล่าวชื่นชมเทศบาลเมืองอิสตันบูลที่พัฒนากการดูแลสัตว์จรจัดได้อย่างดีเยี่ยม เมื่อปี 2018 ที่ผ่านมา มีสัตว์ที่พวกเขาให้บริการไปทั้งหมด 73,608 ตัว เทียบกับปี 2004 ที่มีเพียง 2,470 ตัว และมีสัตว์แพทย์รอทำการรักษาเพื่อนสี่ขาของพวกเขากว่า 100 คน
แม้เทศบาลจะไม่ยอมเปิดเผยต่อสาธารณชนถึงงบประมาณที่ใช้ในการดูแลรักษาสัตว์ในแต่ละปี แต่รัฐมนตรีกระทรวงกระเกษตรและป่าไม้ เคยเปิดเผยว่า กระทรวงฯ ใช้เงินอุดหนุนโครงการดังกล่าวทั่วประเทศเป็นจำนวน 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ระหว่างปี 2009 - 2018