ไม่พบผลการค้นหา
ผลวิเคราะห์ที่มาของเศรษฐกิจโลกในอีก 5 ปี ข้างหน้า ชี้จีนยังคงเป็นที่ 1 ตามมาด้วยอินเดียที่ครองอันดับ 2 อย่างเหนียวแน่น ขณะที่ส่วนแบ่งเศรษฐกิจของสหรัฐฯ จะลดลงอย่างเห็นได้ชัดจากร้อยละ 12.9 ไปอยู่ที่ร้อยละ 8.5

ตามผลวิเคราะห์ที่ออกมาต้นเดือนตุลาคม มีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะมีอัตราการเติบโตของจีดีพีเฉลี่ยที่ร้อยละ 3.7 ระหว่างปี 2561 – 2563 ก่อนจะลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.6 ระหว่างปี 2564 – 2566 เมื่อวัดมูลค่าด้วยสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในทางกลับกัน เศรษฐกิจโลกจะมีมูลค่ารวมกว่า 100 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2565

สำนักข่าวบลูมเบิร์กหยิบรายงานคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ซึ่งประเมินกำลังซื้อของผู้บริโภค เพื่อตรวจสอบว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกมาจากไหน

ตามการคาดการณ์ระยะยาวขององค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ OECD เศรษฐกิจของจีนจะชะลอตัวลงและมีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจีนจะเติบโตในอัตราที่ต่ำกว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2583 อย่างไรก็ตามประเทศจีนจะยังเป็นหัวหอกหลักสร้างจีดีพีโลกด้วยสัดส่วนที่มากในระยะใกล้นี้ มีการคาดการณ์ว่าอัตราส่วนในจีดีพีโลกของประเทศจีนจะอยู่ที่ร้อยละ 27.2 ถึงร้อยละ 28.4 ภายในปี 2566

ส่วนสหรัฐอเมริกาที่แม้ว่าจะยังเป็นผู้มีส่วนสำคัญของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกจะเสียส่วนแบ่ง เนื่องจากความเป็นประชาธิปไตยของการเติบโตของจีดีพีนั้นกระจายตัวออกไปกล่าวคือ ประเทศอื่นๆ จะได้ส่วนแบ่งชิ้นใหญ่ขึ้นในพายจีดีพีโลกชิ้นนี้ 

โดยในปี 2566 คาดว่าส่วนแบ่งของสหรัฐฯ ในการเติบโตของจีดีพีนั้นจะลดลงจากร้อยละ 12.9 ไปอยู่ที่ร้อยละ 8

ขณะเดียวกัน อำนาจของอินเดียในฐานะอันดับที่สอง ในส่วนแบ่งของเศรษฐกิจโลกจะชัดเจนขึ้น มีการคาดการณ์ว่าส่วนแบ่งในการเติบโตของจีดีพีโลกของอินเดียจะสูงขึ้นจากร้อยละ 13 ถึงเกือบร้อยละ 16 ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นถึงเกือบร้อยละ 3 ส่วนอินโดนีเซียนั้นจะเป็นอันดับที่สี่ ด้วยส่วนแบ่งร้อยละ 3.7 ในปี 2566 ปิดท้ายด้วยบราซิลในอันดับที่ห้า

สหรัฐฯ ไม่ใช่เศรษฐกิจรายใหญ่รายเดียวที่หาช่องว่างในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปข้างหน้า ประเทศที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดอย่างอิหร่าน ตุรกี อินโดนีเซีย และบังคลาเทศจะไม่ปล่อยโอกาสตรงนี้ไปเช่นกัน ส่วนประเทศในกลุ่ม G7 อย่าง ญี่ปุ่น เยอรมนี อิตาลี และ แคนาดาจะมีบทบาทน้อยลงในการเติบโตของจีดีพีโลก