ไทยทัศนาชุดก่อนหน้าได้นำชมวิหารแบบไทลื้อ ณ เมืองน่าน มาแล้ว ในชุดใหม่นี้ ขอพาเที่ยววัดในเมืองหลวงพระบาง สร้างตามแบบศิลปกรรมของชนชาติเดียวกัน เนื่องด้วยมีรากเหง้าร่วมกับชาวลื้อในดินแดนที่กลายเป็นประเทศไทยในปัจจุบัน
วัดปากคานตั้งอยู่บริเวณจุดบรรจบของแม่น้ำโขงกับแม่น้ำคาน ใกล้กับวัดเชียงทองอันเรืองนาม มีคำบอกเล่าว่า พระอารามแห่งนี้สร้างในปีพ.ศ. 2280 ต่อมาถูกทิ้งร้างไป รูปแบบบ่งบอกว่า สิมหลังปัจจุบันสร้างในราวพุทธศตวรรษที่ 25
สิมในดินแดนล้างช้างนั้นเป็นทั้งอุโบสถสำหรับพระสงฆ์ทำสังฆกรรม เป็นทั้งวิหารสำหรับพุทธบริษัทไหว้พระฟังธรรม
สิมของวัดปากคานมีผังพื้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 3 ห้อง ยาว 6 ห้อง
หลังคามี 2 ชั้น ชั้นบนเป็นทรงจั่ว ชั้นล่างแยกเป็นหลังคาปีกนก คลุมรอบสิมทั้งสี่ด้าน ตัวอาคารมีทางเข้าทุกทิศทาง
สิมหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ทางขึ้นด้านหน้าเป็นบันไดกว้าง มีประตูหน้า 3 ประตู ตกแต่งด้วยซุ้มโขงแบบเรียบง่าย ภายในซุ้มประดับปูนปั้นรูปหงส์
ด้านหลังมี 2 ประตู แต่ประตูด้านหนึ่งไม่มีทางขึ้น
ด้านทิศใต้มีทางเข้า 1 ประตู มีเจดีย์ทรงบัวเหลี่ยมตั้งชิดกับฐานของสิม
ด้านทิศเหนือมีทางเข้า 2 ประตู รวมมีทั้งหมด 8 ประตู
ชายคาของหลังคาปีกนกถ่ายน้ำหนักลงสู่ผนัง ด้วยไม้ค้ำยันที่เรียกว่า แขนนาง
สิมในมุมมองด้านทิศเหนือ ระหว่างชั้นหลังคาคั่นด้วยแผ่นไม้คอสอง เหนือจั่วหลังคาด้านหน้าและหลังประดับช่อฟ้าหรือ โหง่ รูปพญานาค สันหลังคาปีกนกมีพญานาคทอดตัวลงมาทั้งสี่มุม
หลักสีมา กำหนดขอบเขตอุโบสถ มีรูปทรงเตี้ยมาก ทำเป็นรูปดอกบัว
บรรยากาศภายในสิม
ลวดลายตกแต่งโดดเด่นด้วย ลายฟอกคำ เสาคู่หน้าพระประธานประดับรูปพระเจดีย์ ผนังด้านหลังและด้านข้างประดับภาพอดีตพระพุทธเจ้า
เสาแถวกลางเป็นเสากลม แถวข้างเป็นเสาสี่เหลี่ยม ต่างประดับด้วยบัวหัวเสา
เสาเหลี่ยมรับน้ำหนักหลังคาปีกนก ตัวเสาแยกส่วนจากผนัง ผนังทำหน้าที่แค่ปิดล้อมอาคาร และเป็นที่ยึดของแขนนางที่รับน้ำหนักของชายคา
บานหน้าต่างเปิดรับแสงและลม ประดับไม้กลึงแบบเสาลูกมะหวด เรียกว่า ลูกติ่ง
ด้านขวาของพระประธานเป็นที่เก็บ ฮางฮด
ฮางฮดทำด้วยไม้แกะสลักลงรักปิดทอง ตกแต่งด้วยรูปหงส์และมกรคายนาค ใช้ในการสรงน้ำพระภิกษุที่ได้รับสมณศักดิ์
ภาพอดีตพุทธเจ้า คั่นด้วยลายหม้อดอก สื่อความหมายถึงความอุดมสมบูรณ์
บนผนังด้านใน เหนือบานประตู ประดับลายฟอกคำ ภาพพระเจดีย์ เทวดา หงส์ และดอกไม้ร่วงโปรยปราย
ดาวเพดาน
บุษบกธรรมาสน์
ส่วนฐาน ส่วนกลาง และส่วนยอดทรงปราสาทของธรรมาสน์
สิมทรงไทลื้อในเมืองหลวงพระบาง ยังปรากฏในวัดสำคัญอีกสองแห่ง นั่นคือ วัดธาตุหลวง และวัดวิชุนราช.
แหล่งข้อมูล
วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์. (2555). ชื่นชมสถาปัตย์ วัดในหลวงพระบาง. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ.
ติดตาม ไทยทัศนา ย้อนหลัง
ไทยทัศนา : (1) วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ
ไทยทัศนา : (2) วัดสุวรรณาราม ฝั่งธนบุรี
ไทยทัศนา : (3) วัดราชโอรส ฝั่งธนบุรี
ไทยทัศนา : (4) วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพฯ
ไทยทัศนา : (5) วัดสุวรรณดาราราม อยุธยา
ไทยทัศนา : (6) วัดเสนาสนาราม อยุธยา
ไทยทัศนา : (7) วัดจันทบุรี สระบุรี
ไทยทัศนา : (8) วัดสมุหประดิษฐาราม สระบุรี
ไทยทัศนา : (9) วัดกัลยาณมิตร ฝั่งธนบุรี
ไทยทัศนา : (10) วัดบางขุนเทียนใน ฝั่งธนบุรี
ไทยทัศนา : (11) วัดซางตาครู้ส ฝั่งธนบุรี
ไทยทัศนา : (12) วัดบางขุนเทียนนอก ฝั่งธนบุรี
ไทยทัศนา : (13) วัดบางกะพ้อม สมุทรสงคราม
ไทยทัศนา : (14) วัดนิเวศธรรมประวัติ อยุธยา
ไทยทัศนา : (15) สัตตมหาสถาน กรุงเทพฯ เพชรบุรี
ไทยทัศนา : (16) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ
ไทยทัศนา : (17) วัดตองปุ ลพบุรี
ไทยทัศนา : (18) มหาธาตุ ลพบุรี
ไทยทัศนา : (19) จิตรกรรม วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยา
ไทยทัศนา : (20) พระปรางค์มหาธาตุ ราชบุรี
ไทยทัศนา : (21) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ
ไทยทัศนา : (22) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่หนึ่ง)
ไทยทัศนา : (23) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่สอง)
ไทยทัศนา : (24) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่สาม)
ไทยทัศนา : (25) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่สี่-จบ)
ไทยทัศนา : (26) ประตูโขง วัดกากแก้ว นครลำปาง
ไทยทัศนา : (27) วัดไหล่หิน ลำปาง (ตอนที่หนึ่ง)
ไทยทัศนา : (28) วัดไหล่หิน ลำปาง (ตอนที่สอง-จบ)
ไทยทัศนา : (29) วัดปงยางคก ลำปาง
ไทยทัศนา : (30) วิหารโคมคำ วัดพระธาตุเสด็จ ลำปาง
ไทยทัศนา : (31) วิหารโถงทรงจัตุรมุข วัดปงสนุก ลำปาง
ไทยทัศนา : (32) ‘จอง’ แบบพม่า วัดพระแก้วดอนเต้า ลำปาง
ไทยทัศนา : (33) วัดศรีชุม ลำปาง
ไทยทัศนา : (34) วัดศรีรองเมือง ลำปาง
ไทยทัศนา : (35) วัดไชยมงคล (จองคา) ลำปาง
ไทยทัศนา : (36) วัดม่อนปู่ยักษ์ ลำปาง
ไทยทัศนา : (37) วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ (ตอนที่หนึ่ง)
ไทยทัศนา : (38) วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ (ตอนที่สอง)
ไทยทัศนา : (39) วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ (ตอนที่สาม-จบ)
ไทยทัศนา : (40) พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม
ไทยทัศนา : (41) วิหารไทลื้อ น่าน (ตอนที่หนึ่ง-วัดหนองแดง)
ไทยทัศนา : (42) วิหารไทลื้อ น่าน (ตอนที่สอง-วัดต้นแหลง)
ไทยทัศนา : (43) วิหารไทลื้อ น่าน (ตอนที่สาม-วัดดอนมูล)
ไทยทัศนา : (44) วิหารไทลื้อ น่าน (ตอนที่สี่-วัดร้องแง)
ไทยทัศนา : (45) วิหารไทลื้อ น่าน (ตอนที่ห้า-วัดพระธาตุเบ็งสกัด)
ไทยทัศนา : (46) วิหารไทลื้อ น่าน (ตอนที่หก-วัดหนองบัว)