ไม่พบผลการค้นหา
โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และคิมจองอึนผู้นำสูงสุดเกาหลีเหนือ พบหน้าและจับมือกันเป็นครั้งแรกในการประชุมครั้งประวัติศาสตร์ พร้อมลงนามร่วมกันในข้อตกลงระหว่างประเทศ ซึ่งจะนำไปสู่การรื้อฟื้นความสัมพันธ์และส่งเสริม 'ระบอบแห่งสันติภาพ' ในคาบสมุทรเกาหลี

การประชุมครั้งประวัติศาสตร์ครั้งแรกของโลกที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯที่ยังอยู่ในตำแหน่งเผชิญหน้ากับผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ เพื่อพูดคุยเจรจากันโดยตรงเรื่องการปลดอาวุธนิวเคลียร์เกาหลีเหนือได้เริ่มขึ้นที่โรงแรมคาเปลา บนเกาะเซ็นโตซา เมื่อเวลา 9:00 น. ตามเวลาท้องถิ่นในสิงคโปร์ หรือ 8:00 น. ตามเวลาในไทย ซึ่งนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และคิมจองอึน ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ พบปะกันเป็นครั้งแรกและก็จับมือกัน หลังจากนั้นทั้งคู่ก็ได้พูดคุยกันตัวต่อตัวผ่านล่ามแปลเป็นเวลา 48 นาที โดยประโยคแรกที่ทรัมป์พูดกับคิมก็คือ 'ผมรู้สึกเป็นเกียรติ เราจะมีความสัมพันธ์ที่ยิ่งใหญ่ต่อกัน ผมมั่นใจ' 

นายคิมจองอึนได้พูดตอบกลับเป็นภาษาเกาหลีและแปลผ่านล่ามว่า 'ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะมาถึงตรงนี้ อคติและระบบที่เคยมีเป็นอุปสรรค แต่เราก็ผ่านมันมาได้ ทำให้เรามาอยู่ตรงนี้'

ทรัมป์-คิม จับมือประชุมครั้งประวัติศาสตร์

นักวิเคราะห์ภาษาร่างกายมองว่าการพบกันครั้งแรกของผู้นำทั้งสองคน ในช่วงที่ทั้งคู่จับมือกันครั้งแรก ทรัมป์และคิมต่างพยายามที่จะแสดงความเป็นผู้นำต่ออีกฝ่าย การพูดคุยส่วนใหญ่ ทรัมป์จะเป็นฝ่ายพูด โดยคิมพยายามที่จะตั้งใจฟัง และผู้นำทั้งสองคนแสดงความประหม่าเล็กน้อยระหว่างการนั่งคุย

ทรัมป์-คิม-ซัมมิท-ซัมมิต-เกาหลีเหนือ-สหรัฐ-ประชุม-สิงคโปร์-เซนโตซา-sentosa-apทรัมป์-คิม-ซัมมิท-ซัมมิต-เกาหลีเหนือ-สหรัฐ-ประชุม-สิงคโปร์-เซนโตซา-sentosa-ap

หลังจากนั้นคณะเจ้าหน้าที่รัฐบาลระดับสูงของทั้งสองฝ่ายก็ได้ประชุมร่วมกันในกรอบทวิภาคี โดยประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายประชุมร่วมกัน นอกเหนือจากเรื่องการปลดอาวุธนิวเคล��ยร์เกาหลีเหนือแล้ว ก็มีเรื่องการยุติสงครามเกาหลี การสถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ สิทธิมนุษยชน และความมั่นคง

การประชุมในกรอบทวิภาคีกินเวลานานกว่า 2 ชั่วโมง หลังจากนั้นทั้งสองฝ่ายได้ลงนามร่วมกันในแถลงการณ์ รวมถึงรับประทานอาหารกลางวันและพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพิ่มเติม ก่อนที่ทรัมป์จะจัดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ตลอดจนตอบข้อซักถามของสื่อมวลชนที่ติดตามรายงานข่าวการประชุมสุดยอดผู้นำสหรัฐฯ-เกาหลีเหนือ

ako3.jpg

ความร่วมมือ 4 ข้อในแถลงการณ์สหรัฐฯ - เกาหลีเหนือ

บีบีซีเปิดเผยรายละเอียด 4 ประการในแถลงการณ์ปิดการประชุมที่ทรัมป์และคิมลงนามร่วมกัน โดยระบุว่า ทั้งสองประเทศยังต้องหารือเพิ่มเติม เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติที่จะะทำให้บรรลุเป้าหมายตามที่ปรากฏในแถลงการณ์ ซึ่งรวมถึงการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การเสริมสร้างระบอบแห่งสันติภาพ การยึดแนวทางในปฏิญญาพันมุนจอมที่เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ลงนามร่วมกันเมื่อปลายเดือน เม.ย. และการดำเนินโครงการส่งหลักฐานของเชลยสงคราม (POW) และผู้สูญหายขณะปฏิบัติหน้าที่ (MIA) สมัยสงครามเกาหลีที่สหรัฐฯ ส่งกองทัพเข้าร่วม

1. สหรัฐฯ และเกาหลีเหนือมีพันธกิจที่จะต้องส่งเสริมฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของสหัรฐฯ และเกาหลีเหนือ โดยสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนทั้งสองประเทศ เพื่อให้เกิดสันติภาพและความรุ่งเรือง

2. สหรัฐฯ และเกาหลีเหนือจะพยายามร่วมกันในการสร้างระบอบแห่งสันติภาพที่มั่นคงและยั่งยืนในคาบสมุทรเกาหลี

3. สนับสนุนข้อตกลงในปฏิญญาพันมุนจอมเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2561 โดยเกาหลีเหนือมีพันธกิจที่จะต้องยุติโครงการนิวเคลียร์ในคาบสมุทรเกาหลี

4. สหรัฐฯ และเกาหลีเหนือจะต้องรื้อฟื้นโครงการระบุตัวตนเชลยสงครามและผู้สูญหายขณะปฏิบัติหน้าที่ รวมถึงการส่งกลับหลักฐานที่เกี่ยวข้องที่ดำเนินการไปแล้ว

คิม-ทรัมป์-เกาหลีเหนือ-สหรัฐ-ซัมมิท-ซัมมิต-สิงคโปร์-เซนโตซา-12มิย2561-AP

นักวิเคราะห์ชี้ 'ไม่มีรายละเอียด' ปลดอาวุธนิวเคลียร์

ทรัมป์ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนภายหลังการประชุมสุดยอดผู้นำสหรัฐฯ-เกาหลีเหนือ โดยเดอะการ์เดียนอ้างคำพูดของทรัมป์ ซึ่งระบุว่าการเจรจากับคิมจองอึนนั้น 'ดีกว่าที่คาดคิด' พร้อมระบุว่าการเจรจาครั้งนี้เป็นเหตุการณ์อันยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์โลก ทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากหลายประเทศ

ลีเซียนลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ผู้อำนวยความสะดวกในการจัดประชุมครั้งนี้ พร้อมด้วยมุนแจอิน ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นผู้รับหน้าที่เจรจากับเกาหลีเหนือเมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา จนนำไปสู่การลงนามในปฏิญญาพันมุนจอม รวมถึงสีจิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน และชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ต่างแสดงความยินดีที่การประชุมผ่านพ้นไปด้วยดี

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากมองว่ารายละเอียดในแถลงการณ์ไม่มีีความชัดเจนเรื่องนิยามหรือแนวทางการปลดอาวุธนิวเคลียร์ ทั้งยังไม่มีการกำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนว่าจะเริ่มดำเนินการใดต่อไป แต่บางรายระบุว่าการไม่ลงรายละเอียดในแถลงการณ์จะสะดวกต่อการทำงานร่วมกันระหว่างทั้งสองประเทศมากกว่า

ภาพ: AP/AFP

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: