นิกร จำนง ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคชาติไทยพัฒนา และรองประธานคณะกรรมาธิการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร กล่าวในเวทีคุยเรื่องถนนผ่านระบบซูม เรื่อง รัฐสภาไทย มุ่งมั่นลดเจ็บลดตายบนท้องถนน จัดโดย สสส. สอจร.และสปสช. สรุปว่า มีความพยายามในการผลักดัน นโยบายลดเจ็บลดตายบนถนนไทย มานานมากกว่า 18 ปี แต่เมื่อภาพรวมยังคงเกิดปัญหา ในแต่ละปีมีผู้เสียชีิวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก จึงได้เริ่มต้นนโบาย 7 วันอันตราย ช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพื่อเพิ่มความเข้มข้นในการป้องกัน ช่วงที่ประชาชนเดินทางสัญจรหนาแน่น โดยขณะนั้นกระทรวงคมนาคมเป็นเจ้าภาพหลัก แต่อำนาจระดับกระทรวงหยุดไม่อยู่ จึงตั้งเป็นศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน โดยมีการปรับแผนแม่บทในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จนสามารถควบคุมอัตราการตายและบาดเจ็บ ให้ลดลงได้ในปีที่ 3 ของการดำเนินงาน
นิกร กล่าวว่า แต่คุมได้ไม่นานยอดค่อยๆ กลับมาสูงขึ้น เพราะคนเดินต้องเดินทางสัญจรไปมา และรถบนถนนไทยก็เพิ่มขึ้นมากจากอดีต ทำให้อัตราการเสียชีวิต พิการ และบาดเจ็บ พุ่งสูงขึ้นตามไปด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้หากไม่มีนโยบายใหม่ๆ มารองรับ ความเสียหายจากอุบัติเหตุทางถนน จะยิ่งสูงขึ้นจากค่าเฉลี่ยในปัจจุบัน ปีละประมาณ 5 แสนล้านบาท ซึ่งหากเทียบเคียงกับงบประมาณรายจ่ายแผ่นดิน ปี 2563 วงเงิน 3.2 ล้านล้านบาท มูลค่าความเสียหายจะคิดเป็น เกือบ 20% ของงบประมาณรายจ่ายแผ่นดินเลยทีเดียว เพื่อป้องกัน “เชื้อดื้อยา” และแก้ไขปัญหาเรื้อรังที่คร่าชีวิตคนไทย และสร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สิน ล่าสุดคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร จึงไดต้ั้งคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาความปลอดภัยทางและคมนาคม เพื่อพิจารณาศึกษา และจัดทำข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ 9 ด้าน เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยทางถนนและคมนาคมให้แก่พวกเราทุกคน ดังนี้
ด้านที่ 1 - การบริหารจัดการ: เสนอให้ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรในการบริหารจัดการ โดยปรับเปลี่ยนการบริหารโดยใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นกฎหมายแม่บทด้านความปลอดภัยทางถนนระดับพระราชบัญญัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความเป็นเอกภาพในการบริหารจัดการ
ด้านที่ 2 - กฎหมายและการบังคับใช้: เสนอให้มีร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีจราจร พ.ศ. .... เพ่ือเร่งรัดเปิดทาการแผนกคดีจราจร ในศาลแขวงและศาลจังหวัด รวมท้ังให้มีวิธีพิจารณาคดีจราจรเป็นการเฉพาะ เพ่ือดำเนินคดีและบังคับใช้กฎหมาย เกี่ยวกับความผิดจราจร ตลอดจนบังคับใช้กฎหมายเพื่อปรับพฤติกรรมการใช้รถใช้ถนน เช่น มาตรการตัดคะแนนความประพฤติการขับรถ และการพักใช้ใบอนุญาตขับรถหรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2562
ด้านที่ 3 - ถนนและสิ่งแวดล้อมปลอดภัย: เสนอให้ถนนในประเทศไทยมีมาตรฐานความปลอดภัย 3 ดาว และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท ทำความเข้าใจและดำเนินการจัดทำถนน 3 ดาว และเร่งแก้ไขปรับปรุงจุดเสี่ยงภัยและเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง พร้อมทั้งก่อสร้างจุดพักรถ (Rest Area) และจุดพักจอดรถบรรทุก (Truck Rest Area) ให้ผู้ใช้รถใช้ถนนได้จอดพักคลายความเหนื่อยล้า ป้องกันอุบัติเหตุชนท้ายรถบรรทุกบริเวณไหล่ทางบนถนนหลวง
ด้านที่ 4 - ยานพาหนะปลอดภัย: เสนอให้รัฐบาลมีนโยบายจักรยานยนต์ปลอดภัย เพื่อแก้ปัญหาการเสียชีวิตดจากยานพาหนะชนิดนี้มากที่สุด โดยส่งเสริมการใช้รถจักรยานยนต์ขนาดเล็ก หากเกิดอุบัติเหตุจะอันตรายน้อยกว่า รวมทั้งใช้มาตรการทางภาษีสรรพสามิตและภาษีประจำปี กลุ่มรถจักรยานยนต์ครอบครัว ขนาดปริมาตรกระบอกสูบไม่เกิน 90 ซีซี หรือรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าที่มีความเร็วต่ำในอัตราที่ถูกลง เพื่อให้ราคาจาหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาดเล็กราคาถูกลง จูงใจให้ใช้เพิ่มขึ้น รวมทั้งเสนอจัดเก็บภาษีนำเข้าอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย สำหรับรถจักรยานยนต์และระบบเบรค ABS (Anti – Lock Brake System) ในอัตราที่ถูกลง เพื่อให้อุปกรณ์ความปลอดภัยเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน ส่งผลให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงรถจักรยานยนต์ที่มีความปลอดภัยได้ในราคาถูกลง
ด้านที่ 5 - ให้การศึกษาวัฒนธรรมและพฤติกรรมเพื่อความปลอดภัยทางถนน: เสนอให้กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาปรับปรุง และเร่งบรรจุหลักสูตรการใช้รถใช้ถนนอย่าง ปลอดภัย เพื่อใช้ในการเรียนการสอนแก่นักเรียน นักศึกษา ทุกระดับชั้น เพื่อสร้างและปลูกฝังจิตสำนึกความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน รวมทั้งพิจารณาจัดสรรงบประมาณในการทัศนศึกษา ให้เพียงพอโดยคำนึงถึงความปลอดภัยมากกว่าความประหยัด
ด้านที่ 6 - นโยบายรัฐบาล: เสนอรัฐบาลชุดปัจจุบันให้ปฏิบัติตามนโยบาย ที่แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2563 ในด้านความปลอดภัยทางถนน และการดำเนินนโยบายใดๆ ของรัฐบาล ต้องศึกษาวิเคราะห์อย่างละเอียดรอบคอบ เช่น ทบทวนนโยบายการเพิ่มความเร็วทางถนนจาก 90 กม./ชม. เป็นไม่เกิน 120 กม./ชม. และไม่ควรอนุญาตให้ใช้รถตู้โดยสารเป็นรถสาธารณะระหว่างเมือง เนื่องจากการศึกษาประกอบกับข้อมูล จากรายงานสภาขับเคล่ือนการปฏิรูปประเทศด้านระบบความปลอดภัยทางถนน พบว่า เป็นรถท่ีมีอันตรายในการโดยสารอย่างชัดเจน
ด้านที่ 7 - บูรณาการทางรัฐสภา: เสนอให้รัฐสภามีแนวทางการดำเนินงานที่เสริมสร้างความปลอดภัยทางถนน โดยเสนอให้ตั้งคณะกรรมการร่วมกันระหว่างสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา เพื่อพิจารณากฎหมายและผลักดันกฎหมาย งบประมาณ ตลอดจนกำกับดูแลการดำเนินงานของรัฐบาล ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางถนน
ด้านที่ 8 - การต่างประเทศ: ประเทศไทยต้องทบทวนตามมาตรฐานขององค์การสหประชาชาติ (United Nations) ให้ครบถ้วนทุกข้อ และดำเนินการตามข้อแนะนำกรอบเป้าหมายโลกด้านความปลอดภัยทางถนน ทั้ง 12 ข้อ ที่สำคัญต้องนำองค์ความรู้และมาตรการความปลอดภัยทางถนนใหม่ๆ มาเป็นแนวทางในกำหนดนโยบาย แผนงาน และมาตรการ รวมถึงเชื่อมโยงรัฐสภาไทยกับเครือข่ายรัฐสภาโลก โดยเฉพาะเครือข่ายภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชีย เนื่องจากสภาพปัญหาในภูมิภาคนี้มีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน คือ อัตราความสูญเสียส่วนใหญ่มาจากอุบัติเหตุ โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์และบริบทการใช้รถที่คล้ายคลึงกัน
ด้านที่ 9 - คมนาคมระบบราง น้ำ และอากาศ: เสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาเพิ่มมาตรฐานความปลอดภัย ในการคมนาคมอย่างบูรณาการ เช่น การเสนอแก้ไขกฎหมายเข้มงวดผู้ประกอบการในการดูแลผู้โดยสาร เช่น ระบบราง ปัญหาจุดตัดระหว่างถนนกับทางรถไฟบ่อย เสนอให้แก้ไขปรับปรุงอัตราโทษปรับ ฐานฝ่าฝืนไม่ลดความเร็วหรือฝ่าฝืนสิ่งปิดกั้น และเสียงสัญญาณรถไฟว่ารถไฟกำลังจะผ่าน รวมทั้ง ฐานฝ่าฝืนไม่ลดความเร็ว และหยุดรถห่างจากทางรถไฟให้มีอัตราโทษสูงขึ้น ตลอดจนเสนอให้ติดตั้งกล้องวงจรปิด เพื่อความปลอดภัยและป้องปรามผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย เป็นต้น
นิกร กล่าวด้วยว่า เรามีองค์ความรู้ครบแล้ว แต่ขาดคนทำให้ประชาชนได้รับทราบปัญหา รัฐบาลต้องประกาศสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนน ต่อเนื่องทุกไตรมาส เช่นเดียวกับการแถลงตัวเลขเศรษฐกิจ ถ้าทุกคนรับรู้ว่าแต่ละไตรมาส คนตาย พิการ และบาดเจ็บ เท่าไหร่ คนไทยจะรับไหวไหม ขณะเดียวกันต้องแก้ไขที่ต้นน้ำด้วย โดยการปลูกฝัง DNA ประเทศ ผ่านพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน ตั้งแต่เด็กอนุบาลไปถึงระดับมหาวิทยาลัย หากทำได้เราจะลดความสูญเสียทั้งระบบ ไม่เฉพาะด้านชีวิตและทรัพย์สินส่วนบุคคลเท่านั้น แต่ยังลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจภาพรวมด้วย อย่างน้อยต้องลดจาก ปีละกว่า 5 แสนล้านบาท ให้เหลือ 3 แสนล้านบาท