ไม่พบผลการค้นหา
ภรรยา ‘อับดุลเลาะ’ ร้อง ‘อนาคตใหม่’ ช่วยบี้ภาครัฐแสวงหาข้อเท็จจริงการเสียชีวิตจากการถูกคุมตัวในค่ายทหาร จ.ปัตตานีจนกระทั่งเสียชีวิตอย่างมีเงื่อนงำ เรียกร้องดีเอสไอสอบ จนท.ตำรวจ - ทหารที่เกี่ยวข้อง พิสูจน์การเสียชีวิต ด้านโฆษกพรรคอนาคตใหม่ เรียกร้องตั้งคณะกรรมการอิสระสอบข้อเท็จจริง เร่งคลอดกฎหมายต้านซ้อมทรมาน

เวลา 12.00 น. ที่รัฐสภา เกียกกาย น.ส.ซูไมย๊ะห์ มิงกะ ภรรยาของนายอับดุลเลาะ อีซอมูซอ ซึ่งเสียชีวิตหลังตกเป็น ผู้ต้องสงสัยในคดีความมั่นคง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้ายื่นหนังสือผ่านคณะกรรมการบริหารพรรคอนาคตใหม่นำโดยพล.ท.พงศกร รอดชมภู รองหัวหน้าพรรค น.ส.พรรณิการ์ วานิช โฆษกพรรค เพื่อขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการเสียชีวิตของนายอับดุลเลาะ หลังถูกควบคุมตัวในค่ายอิงคยุทธบริหาร จ.ปัตตานี โดยขอให้ช่วยกรณีการเสียชีวิตของนายอับดุลเลาะ ถูกควบคุมตัวโดยทหาร ภายใต้อํานาจกฎอัยการศึกไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร ต่อมาเวลาประมาณ 03.00 น.ของวันที่ 21 ก.ค. 2562 นายอับดุลเลาะถูกพบหมดสติอยู่ในหน่วยซักถามของ หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 43 ภายในค่ายอิงคยุทธบริหาร โดยเจ้าหน้าที่ประจำค่ายส่งตัวนายอับดุล เลาะเข้ารับการรักษาเบื้ต้นที่โรงพยาบาลค่ายยอิงคยุทธบริหาร

จากนั้นได้ส่งตัวไปรักษาต่อที่อาคาร ผู้ป่วยวิกฤติ ( ICU) โรงพยาบาลปัตตานี เมื่อวันที่ 22 ก.ค. 2562 นายอับดุลเลาะ ถูกส่งตัวไปยังโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา นายอับดุลเลาะได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดย แพทย์ระบุว่าผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว ไม่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ ผลเอ็กซเรย์สมอง พบว่าสมองบวม มี เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองยังคงใส่เครื่องช่วยหายใจ มีสภาวะไตวายเฉียบพลัน และจําเป็นต้องรับการรักษาใกล้ชิดในหออภิบาลผ้ปู่วยวิกฤติทางอายุรกรรม

ต่อมาโรงพยาบาล สงขลาฯ ได้ออกหนังสือรับรองการเสียชีวิตของนายอับดุลเลาะ โดยระบว่าเขาเสียชีวิตจากภาวะสมองขาด ออกซิเจนและขาดเลือด

นับตั้งแต่ที่นายอับดุลเลาะถูกพบหมดสติอยู่ในค่ายอิงคยุทธบริหาร จนกระทั่งเสียชีวิต สมาชิก ครอบครัวของนายอับดุลเลาะ ไม่ว่าจะเป็นภรรยาและบุตรล้วนแล้วแต่ต้องการรับทราบข้อเท็จจริงว่าเกิดอะไรกับนายอับดุลเลาะระหว่างการควบคุมตัว จึงขอให้พรรคอนาคตใหม่ทำทุกวิถีทางตามที่จะสามารถทําได้ โดย

1. หาตัวผู้รับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของนายอับดุลเลาะมาลงโทษทางวินัย และอาญา กรณี กระทําหรือไม่กระทําไม่ป้องกันเหตุทำให้นายอับดุลเลาะเสียชีวิตหลังถูกควบคุมตัวในค่าย ทหาร

2. ให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) สอบสวนเจ้าหน้าที่ทหารหรือตํารวจที่เกี่ยวข้องกับการจับกุมควบคุมตัวจนถึงการส่งตัวเข้ารับการรักษา รวมทั้งสอบสวนบุคคลที่ถูกควบคุมตัวในระยะเวลาก่อนหน้าหรือระหว่างควบคุมตัวเพื่อเป็นพยานแวดล้อมการปฏิบตัวต่อผู้ถูกจับในค่ายทหาร

3. ให้กําหนดการเยียวยาทางด้านตัวเงินและรูปแบบการเยียวยาที่เหมาะสมกับครอบครัวนายอับดุลเลาะ และต้องมีหลักประกันว่าเหตุการณ์เช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นอีก รวมทั้งการยุติการจับกุม ต้องเคารพสิทธิผ้ถูกจับตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญาของไทยที่ใช้อย่างเสมอหน้ากันภายใต้กฎหมายไม่เลือกปฏิบัติต่อเฉพาะชาวมลายมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนใต้

4. ให้ดีเอสไอร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม ตรวจพิสูจน์สาเหตุการเสียชีวิต โดยสามารถเข้าถึงหลักฐานทางการแพทย์ทั้งหมด ตั้งแต่วันแรกของการรักษาพยาบาลทั้ง 3 โรงพยาบาล และมีอํานาจในการสอบสวน แพทย์หรือพยาบาลทั้งหมดทุกคน พร้อมจัดทํารายงานทางนิติเวชเผยแพร่ต่อญาติและสาธารณะ รวมทั้งตรวจเปรียบเทียบสุจภาพร่างกายของโรงพยาบาลเดิมที่เจ้าตัวมีสิทธิการ รักษาอยู่ เพื่อเทียบเคียงข้อมูลความเป็นไปได้ที่จะเกิดโรคอื่นๆ ก่อนการควบคุมตัว 

5. ขอให้กําหนดให้การทรมานและคนหายเป็นความผิดทางอาญาและยกเลิกการใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่เพื่อการแสวงหาหลักฐานในคดีอาญา

ด้าน น.ส.พรรณิการ์ วานิช โฆษกพรรคอนาคตใหม่ ระบุว่า ตัวเองได้ติดตามคดีนี้มาต่อเนื่องเคยเยี่ยมนายอับดุลเลาะที่เป็นเจ้าชายนิทรา ผู้ชายวัย 30 กว่าปีมีสุขภาพแข็งแรงไม่มีโรคประจำตัว แต่ทำไมอยู่ในค่ายทหาร 12 ชั่วโมง ถึงออกมาขาดออกซิเจน แต่การนำตัวมาส่งโรงพยาบาล กลับไม่มีบาดแผลเพราะล้มในห้องน้ำ แต่แพทย์บอกสมองขาดออกซิเจน โดยร่องรอยอาจถูกเจ้าหน้าที่กระทำเกินกว่าเหตุหรือไม่จึงอยากให้กองทัพช่วยชี้แจง เดิมทีพรรรอนาคตจะยื่นกระทู้ถามสดในสภา แต่พรรคประชาชาติได้ยื่นกระทู้สดแล้วจึงให้พรรคปรเชาชาติยื่นแทน

น.ส.พรรณิการ์ ระบุว่า พรรคขอเรียกร้อง 1. ให้กองทัพ กระทรวงกลาโหม นายกรัฐมนตรี อธิบายอย่างมีน้ำหนักทำไมนายอับดุลเลาะถึงเสียชีวิตเพราะเสมองขาดออกซิเจนตอนออกจากค่ายทหาร 2. เพื่อให้ข้อเท็จจริงที่กระจ่าง เราอยากให้รัฐบาลให้คำมั่นสัญญาในการให้ข้อมูลเมื่อทางครอบครัวของนายอับดุลเลาะขอข้อมูลเวชระเบียนจาก รพ.ค่ายอิงคยุทธบริหาร

3. นายอับดุลเลาะไม่ใช่คนแรกที่ออกจากค่ายทหาร 3 จังหวัดชายแดนใต้จนบาดเจ็บเสียชีวิต เพราะมีข้อมูลกลุ่มด้วยใจ และกลุ่มมูลนิธิผสานวัฒนธรรมการปฏิบัติไร้มนุษยธรรม ในช่วง 10 ปีมีการทรมานถึง 54 ราย ใน 54 รายเป็นชาวมุสลิมเชื้อสายมลายู และร้อยละ 57 เป็นชาวปัตตานี นายอับดุลเลาะถูกต้องสงสัยจะก่อความไม่สงบและเสี่ยงการถูกทรมาน ซึ่งมีกฎหมายพิเศษให้อำนาจเจ้าหน้าที่ควบคุมตัว 30 วันโดยไม่ตั้งข้อกล่าวหา ในขณะที่ประเทศไทยลงนามอนุสัญญาต่อต้านการซ้อมทรมาน แต่กฎหมายต่อต้านการซ้อมทรมานยังไม่สามารถออกจากสภาได้ พรรคยังเรียกร้องตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเป็นกลางอิสระโดยเริ่มกรณีนายอับดุลเลาะเป็นรายแรก ซึ่งเป็นการแสวงหาความเป็นธรรมให้กับประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง