ไม่พบผลการค้นหา
สวทช. เดินหน้าโชว์ผลงานการออกแบบและวิศวกรรม ผลักดันสตรีทฟู้ด นําร่อง “รถเข็นรักษ์โลกเวอร์ชั่น 3” แปลงโฉมรถขายข้าวแกงธรรมดา เป็นรถเข็นน้ําหนักเบา พร้อมระบบดูดควัน ระบบน้ําดี เพื่อสตรีทฟู้ด สะอาด ปลอดภัย ยกระดับพ่อค้า – แม่ค้าอาหารริมทาง

เกศวรงค์ หงส์ลดารมภ์ ผู้ช่วยผู้อํานวยการสํานักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สวทช.ดําเนินการตามพันธกิจ ด้านการเตรียมพร้อมและสนับสนุนให้มีโครงสร้างพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการ พัฒนาขีดความสามารถของประเทศ รวมถึงมีระบบคุณภาพการปฏิบัติงานทดสอบ สอบเทียบตรวจสอบ รับรอง ในระดับสากล ซึ่งได้รับการยอมรับและทํางานร่วมกับหน่วยงานควบคุมภาครัฐ ตลอดจนมีประสิทธิภาพและความสามารถ ในการออกแบบวิศวกรรม ,การสร้างเครื่องจักรอุตสาหกรรม รวมไปถึงการพัฒนา application ทางด้าน simulation , AI และ Big Data และความสามารถในการตรวจสอบคุณสมบัติเฉพาะของวัสดุ อาหาร โลหะ ฯลฯ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมหลักตามเป้าหมายของประเทศอย่างครอบคลุมและทั่วถึง และบริการให้คำปรึกษาในด้านการออกแบบวิศวกรรมที่ตอบโจทย์การใช้งานภาคอุตสาหกรรมและเอสเอ็มอี

สําหรับการพัฒนาเพื่อแก้ปัญหา Pain points และตอบโจทย์ให้กับผู้ประกอบธุรกิจ Street food แบบตรงเป้านั้น นางเกศวรงค์ กล่าวว่า สวทช.เข้ามามีส่วนร่วมที่สําคัญ เพราะเล็งเห็นประโยชน์ที่เกิดกับผู้ประกอบอาหารริมทาง และผู้บริโภคโดยตรงที่จะได้จําหน่ายและบริโภคอาหารที่นอกจากเรื่องความอร่อยแล้วยังมีคุณภาพปลอดภัย และลดการปลดปล่อยของเสียเข้าสู่สิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากนี้ ยังเล็งเห็นว่าธุรกิจ Street food ยังเชื่อมโยงกับ Value chain ทางธุรกิจอื่นๆอีกมาก อาทิ ผู้ผลิตอุปกรณ์เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ประกอบเป็นรถเข็น อุปกรณ์ ที่ใช้ในรถเข็น และหรือ Food truck และอื่นๆ รวมถึงการใช้วัตถุดิบ หรือผลิตภัณฑ์อาหารจากโรงงานแปรรูป ประเภทต่างๆ และยังมีอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องจําพวกบรรจุ ภัณฑ์ ภาชนะใส่อาหาร อุปกรณ์เครื่องครัวต่างๆ ที่ได้ประโยชน์จากการเติบโตของ street food โดยตรงอีกด้วย ทั้งนี้ สวทช. โดยศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรมหรือ DECC นําความรู้ทางด้าน วิศวกรรมและการออกแบบเข้ามาช่วย Matching ความต้องการที่แท้จริงของ Street food เพราะการตอบโจทย์ หรือแก้ปัญหาให้ลูกค้านับวันจะเป็นปัจจัยสําคัญที่จะทําให้ตัดสินใจว่าจะซื้อหรือไม่ซื้อ ใช้หรือไม่ใช้ โดยนอกเหนือจากการ สนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีแล้วยังมีการสนับสนุนงบประมาณบางส่วนเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระผู้ประกอบการ และกระตุ้นให้เกิดการขยายงานใช้จริงในวงกว้างต่อไปด้วย

อัมพร โพธิ์ใย ผู้อํานวยการ ศูนย์บริการศึกษาการออกแบบและวิศวกรรม (DECC) กล่าวว่า รถเข็นรักษ์โลกสําหรับ Street food ในเวอร์ชั่นที่ 3 เป็นการต่อยอดจาก รถเข็นเวอร์ชั่นแรกที่ผู้ประกอบการกะเพราซาวห้า ได้รับการสนับสนุนจากDECC สวทช. ในการพัฒนาปรับปรุงเพื่อพลิกโฉมรถกะเพราซาวห้า โดยมีโจทย์ที่ท้าทายคือ ต้องสามารถลดน้ําหนักรถเข็นให้มีน้ําหนักเบาที่สุด เพิ่มประสิทธิภาพ การดูดควันให้สามารถใช้งานในพื้นที่ปิดได้ รวมทั้งปรับปรุงระบบบําบัดน้ําให้ทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และในวันนี้ DECC สวทช. ได้ดําเนินการพัฒนานวัตกรรมรถเข็นรักษ์โลกเพื่อสตรีทฟู้ดที่สมบูรณ์แบบที่สุดสําเร็จ แล้วโดยการพัฒนาในเวอร์ชั่นที่ 3 นี้ เป็นรถเข็นน้ําหนักเบาพร้อมระบบน้ําดี, ถังบําบัดและซิงค์น้ํา+ ระบบ ดูดควัน + หัวเตาแก๊ส 2 หัว โดยคุณสมบัติที่สําคัญของรถ มีระบบน้ําทิ้งและน้ําดี โดยมีชุดถังดักไขมันด้านในของรถเข็นจากระบบน้ําทิ้ง และสํารองน้ําดี เพื่อใช้ ล้างกระทะและซิงค์ ระบบดูดและบําบัดควัน เพื่อทําการดูดควันจากการใช้เตาแก๊สและบําบัดควัน ก่อนปล่อยควันที่ไม่เป็น มลพิษคืนสู่อากาศ

ระบบสํารองไฟส่องสว่างแบบ LED ช่วยลดพลังงานการใช้ไฟฟ้า ระบบต่างๆ เช่น ระบบดูดควัน และระบบสํารองน้ํา และสามารถถอดประกอบได้ อย่างไรก็ตามพร้อมที่จะพัฒนารถเข็นเพื่อตอบโจทย์ผู้ประกอบการในอนาคต โดยอาจใช้ระบบโซล่าเซลล์เข้ามาใช้แทนเตาแก๊สเพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน

S__7192722.jpg

พงษ์ศรชัย สมิตะสิริ เจ้าของร้านคั่วกลิ้งผักสดโฮมเมดรสจัดจ้านแนวอาหารใต้ที่ขายมานานกว่า 13 ปี และเจ้าของร้านข้าวแกงพ่อมหา แบรนด์ใหม่ กล่าวว่า ในช่วงโควิด-19 เล็งเห็นว่ารูปแบบการซื้อขายอาหารเปลี่ยนแปลงไป เป็นยุคNew Normal ที่ต้องสะอาดสะดวกปลอดภัยได้มาตรฐาน จึงได้สั่งรถเข็นรักษ์โลกเวอร์ชั่น 3 มาใช้ซึ่งตอบโจทย์กับทางร้านเป็นอย่างมาก เนื่องจากร้านเปิดขายในเมืองที่มีคนพลุกพล่าน จึงต้องใส่ใจในเรื่องความสะอาดที่เป็นหัวใจสำคัญ อีกทั้งคำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยทั้งในเรื่องของกลิ่นอาหาร และระบบน้ําดี ระบบบําบัดน้ํา และรถเข็นยังมีน้ําหนักเบาจึงสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างสะดวก ประกอบกับการออกแบบที่ลงตัวทําให้ใช้งานได้ง่าย เหมาะกับช่วงเวลาเร่งด่วนของคนเมืองได้เป็นอย่างดี อีกทั้งเสริมสร้าง ภาพลักษณ์ที่ดีของการท่องเที่ยวเชิงอาหารของประเทศ กระตุ้นภาคธุรกิจในเรื่องการสร้างอาชีพ หลังจากทดลองใช้งานรถเข็นรักษ์โลกเวอร์ชั่น 3 คันแรกต่อมาจึงได้ทําการสั่งจองรถเข็นรักษ์โลกเพิ่มเติมอีก 1 คัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนํารถมาต่อยอดกิจการสําหรับการขายอาหารประเภทข้าวแกง โดยให้ DECC สวทช.ปรับรูปแบบฟังก์ชั่นการใช้งานให้เหมาะสําหรับการจําหน่ายข้าวแกงโดยเฉพาะ ได้แก่ การเพิ่มช่องใส่อาหารจํานวน 10 ช่อง พร้อมระบบอุ่นอาหาร ตัดซิงค์ด้านข้างออก ปรับขนาดเครื่องดูดควันให้มีขนาดเล็กลงเพื่อความคล่องตัวในการเคลื่อนย้าย

สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจรถเข็น สะดวก สะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐาน 2-3 โมเดลที่มีอยู่ในราคาพิเศษประมาณ 20,000- 35,000 บาท จากราคาเต็ม ประมาณ70,000 บาท สำหรับ100 คันแรกเท่านั้นสามารถสั่งจอง ผ่านทางออนไลน์ หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 025646310 -11 หรือ www.decc.or.th/streetfood 

S__7192725.jpgS__7192724.jpg