งานศึกษาวิจัยด้านพันธุกรรมที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์เดอะแลนซิต ชี้ให้เห็นว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกออล์แม้ในปริมาณน้อยส่งผลให้ระดับความดันเลือดเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นความเสี่ยงในการเกิดอาการเส้นเลือดในสมองแตก
งานวิจัยนี้เป็นการหักล้างการกล่าวอ้างว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์วันละ 1 - 2 แก้ว เป็นผลดีต่อสุขภาพ
นักวิจัยชาวอังกฤษและชาวจีนที่ติดตามชาวจีนกว่า 500,000 คน เป็นเวลา 10 ปี กล่าวว่า การค้นพบสามารถชี้ถึงปัจจัยเสี่ยงของการดื่มเครื่องดื่มแอลกออล์ในประชากรได้ โดยผู้เชี่ยวชาญออกมาเตือนให้ประชาชนจำกัดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของตน แม้จะมีงานวิจัยจำนวนหนึ่งที่ได้ผลออกมาว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีผลดีต่อสุขภาพ
ผลการศึกษา
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด มหาวิทยาลัยปักกิ่ง และสถาบันการแพทย์ของจีน พบว่า การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จำนวน 1 - 2 แก้ว ทุกวัน เพิ่มโอกาสการเกิดอาการเส้นเลือดในสมองแตกประมาณร้อยละ 10 - 15 ขณะที่การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จำนวน 4 แก้ว ทุกวัน เพิ่มโอกาสการเกิดอาการเส้นเลือดในสมองแตกประมาณร้อยละ 35
สำหรับการศึกษาชิ้นนี้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จำนวน 1 ครั้งหมายถึง การดื่มไวน์ 1 แก้ว การดื่มเบียร์ 1 กระป๋อง และ การดื่มสุราตาม 1 มาตรวัด
ตามปกติแล้ว ประชากรเพศชายชาวอังกฤษจำนวน 16 คน จาก 100 คน และ ประชากรเพศหญิงชาวอังกฤษจำนวน 20 คน จาก 100 คน จะต้องเผชิญหน้ากับอาการเส้นเลือดในสมองแตกหนึ่งครั้งในชีวิต หากกลุ่มจำนวนประชากรที่ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จำนวน 100 คน หันมาดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จำนวน 1 - 2 แก้วต่อวัน จำทำให้ตัวเลขประชากรที่ต้องเผชิญหน้ากับอาการเส้นเลือกในสมองแตกเพิ่มขึ้น 2 คน นอกจากนี้ งานศึกษาวิจัยชิ้นนี้ยังไม่พบข้อดีของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณน้อยต่อวัน
"การอ้างว่าไวน์และเบียร์ส่งผลดีต่อสุขภาพยังไม่ได้รับการพิสูจน์" ศ. ริชาร์ด เปโต้ จากภาควิชาสถิติการแพทย์ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด กล่าว
สิ่งที่งานวิจัยชิ้นนี้พยายามสื่อสารออกไปคือ ปัจจุบันไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณน้อยส่งผลดีต่อสุขภาพ ซึ่งหมายความว่าการดื่มเครื่องดื่มเหล่านั้นในปริมาณน้อยต่อวัน ก็เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการเส้นเลือดในสมองแตกได้
อ้างอิง; BBC