ไม่พบผลการค้นหา
ขณะที่กระแสการต่อต้านผู้อพยพเริ่มเพิ่มสูงขึ้น เอเชียกลายเป็นภูมิภาคที่รับผู้อพยพจำนวนมากภายใต้เศรษฐกิจที่มีการเติบโตสูงที่นำโดยจีน ตามรายงานของยูเอ็นมีการประเมินว่า จำนวนผู้อพยพทุกเชื้อชาติบนโลกที่อาศัยอยู่นอกประเทศของตนเอง มีประมาณ 258 ล้านคนในปี 2017 ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่า 50 เปอร์เซ็นต์จากปี 2000

ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา ประเทศไทยเป็นประเทศที่รับผู้อพยพมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก มีจำนวนผู้อพยพในไทยกว่า 2.3 ล้านคน ตามมากด้วยมาเลเซียและเกาหลีใต้ ทั้งนี้จำนวนผู้อพยพที่เพิ่มมากขึ้นในไทยและในเกาหลีใต้นั้น สำนักข่าวนิเคอิรายงานว่า มันเป็นผลสะท้อนจากนโยบายค่าแรงขึ้นต่ำที่ทางนายจ้างต้องจ่ายให้กับแรงงานที่มาจากต่างประเทศ ขณะที่จำนวนประชากรวัยแรงงานช่วงอายุ 15 - 64 ปีของทั้ง 2 ประเทศนี้กำลังจะลดลงภายในปี 2020

ขณะที่ในญี่ปุ่น ในปี 2017 มีผู้อพยพ 2.56 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่น ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 500,000 คน จากช่วงทศวรรษที่ผ่านมา สืบเนื่องมาจากบริษัทต่างๆและภาคธุรกิจการก่อสร้างต้องการแรงงานจากชาวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น 

ตามรายงานขององค์กรสหประชาชาติ (UN) ประเทศที่มีประชากรโยกย้ายถิ่นฐานมากที่สุด 10 อันดับนั้นมีประเทศในเอเชียติดถึง 6 อันดับ โดยมีอินเดียเป็นชาติที่มีจำนวนประชาชนอพยพออกไปยังต่างประเทศมากที่สุดโดยมีกว่า 16.6 ล้านคนในปี 2017 และกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ของผู้อพยพชาวอินเดียเข้าไปเป็นแรงงานและอาศัยอยุ่ในสหรัฐเอมิเรต์ โดยไปเป็นแรงงานในภาคการก่อสร้าง ขณะที่จีน บังคลาเทศและซีเรียก็ยังคงเป็นกลุ่มประชากรที่มีการโยกย้ายถิ่นอาศัยจำนวนมากเช่นกันเมื่อเทียบกับปากีสถานและฟิลิปปินส์

จ้าว หยวนหยวน คนจีนผู้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในไทยกล่าวว่า เธอรู้สึกตกหลุมรักประเทศไทยหลังจากที่เธอเดินทางมาเรียนปริญญาโทในไทยเมื่อ 7 ปีที่แล้ว กรุงเทพฯ มีความกดดันและเคร่งครัดน้อยกว่าที่จีน ขณะที่สภาพอากาศที่คล้่ายคลึงกับจีน เธอจึงตัดสินใจหางานทำในเมืองไทยหลังจากที่เรียนจบ

รายงานยังระบุอีกว่า ภูมิภาคเอเชียและตะวันออกกลางก็มีการประเมินว่า มีผู้อพยพอาศัยอยู่ประมาณ 80 ล้านคน หรือประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ และนับตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมาภูมิภาคเอเชียกลายเป็นภูมิภาคที่มีจำนวนผู้อพยพพุ่งสูงกว่าในยุโรป

ผู้อพยพในเอเชียกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปี 2017 ทั่วทั้งเอเชียมีจำนวนผู้อพยพกว่า 63 ล้านคน ซึ่งเกิดจากผู้อพยพกว่า36เปอร์เซ็นต์โยกย้ายไปยังประเทศต่างๆ ในเอเชีย ทำให้จำนวนผู้อพยพในสหรัฐและยุโรปลดลงกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ และจำนวนผู้อพยพจากเอเชียที่เข้าไปในยุโรปลดลงจาก 24 เปอร์เซ็นต์เหลือ 19 เปอร์เซ็นต์ 

 ค่าเฉลี่ยอายุของผู้อพยพที่ลดลง

การโยกย้านถิ่นฐานของประชากรประเทศต่างๆ นั้นพบว่า ประชากรรุ่นใหม่นั้นอพยพโยกย้ายถิ่นฐานกันเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจากข้อมูลพบว่า อายุของประชากรที่ย้านถิ่นฐานมายังภูมิภาคเอเชียนั้นมีอายุที่ลดลง โดยค่าเฉลี่ยอายุของผู้อพยพที่โบกย้ายมานั้นอยู่ที่ อายุ35ปี ซึ่งลดลงจาก 37 ปีในปี 2000

ขณะที่ค่าเฉลี่ยของผู้อพยพในอเมริกานั้นกลับสูงขึ้น จาก 38 ปี เป็น 45 ปี ในช่วงเวลาเกือบ 20 ปีตั้งแต่ปี 2000 และในยุโรปค่าเฉลี่ยอายุของผู้อพยพที่อาศัยอยู่ในประเทศต่างๆเพิ่มขึ้นจาก 41 ปี เป็น 43 ปี เช่นกัน

ยูเอ็นประเมินว่า ประชากรของยุโรปจะเริ่มลดลงหลังจากนี้ในอีก 10 ปีข้างหน้า ถ้าจำนวนผู้อพยพเข้าและผู้อพยพออกยังมีจำนวนที่คงที่เหมือนเช่นในปี 2015 ขณะที่ประชากรในอเมริกาจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจนกระทั่งถึงปี 2050 ถ้าอัตราของผู้อพยพเข้าไปยังคงตัวอยู่ในระดับปัจจุบัน แต่การเพิ่มขึ้นของผู้อพยพอย่างช้าๆ นี้ อาจส่งผลให้จำนวนประชากรลดลงได้ในปี 2040

ที่มา Nikkei