ไม่พบผลการค้นหา
เปิดไทม์ไลน์ งบประมาณจัดการเลือกตั้งในรอบ 20 ปี

24 มกราคม 2566 คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติหลักการให้สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้ง จำนวน 5,945,161,000  บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการควบคุมและการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไป เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ แบ่งเป็นค่าใช้จ่าย ดังนี้ 

  1. วงเงิน 5,104,546,750 บาท แบ่งเป็นรายการค่าใช้จ่ายในการควบคุมและจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 
  2. วงเงิน 840,614,250 บาท แบ่งเป็นรายการค่าใช้จ่ายในการควบคุมและจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยหน่วยงานสนับสนุน ทั้งราชการและรัฐวิสาหกิจ รวม 10 หน่วยงาน 

หากย้อนกลับไปสำรวจงบประมาณในการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา จะพบว่า ตัวเลขงบประมาณสูงขึ้นทุกปี และมีตัวเลขสูงสุดในการเลือกตั้งปี 2566 ดังนี้

  • 6 มกราคม 2544 ใช้งบประมาณ 2,000 ล้านบาท
  • 6 กุมภาพันธ์ 2548 ใช้งบประมาณ 1,500 ล้านบาท
  • 2 เมษายน 2549 ใช้งบประมาณ 2,159 ล้านบาท
  • 23 ธันวาคม 2550 ใช้งบประมาณ 2,521 ล้านบาท
  • 3 กรกฎาคม 2554 ใช้งบประมาณ 3,300 ล้านบาท
  • 2 กุมภาพันธ์ 2557 ใช้งบประมาณ 3,885 ล้านบาท
  • 24 มี.ค. 2562  ใช้งบประมาณ 4,220 บาท
  • 2566 วงเงิน 5,945 บาท (ตัวเลขสูงสุดในรอบ 20 ปี)

เมื่อเราลองเปรียบเทียบงบประมาณปี 2566 และการเลือกตั้งในปี 2562 จะพบว่า งบประมาณในการจัดการเลือกตั้งเพิ่มสูงขึ้นถึง 1,724,375,930 บาท โดยก่อนหน้านี้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ระบุว่า สาเหตุที่ต้องใช้งบประมาณมากกว่าเดิม เนื่องจากเขตเลือกตั้งเพิ่มขึ้นจาก 350 เขตเลือกตั้ง เป็น 400 เขตเลือกตั้ง และต้องใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ รวมทั้งเพิ่มจำนวนกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง จากหน่วยละ 5 คน เป็นหน่วยละ 9 คน เป็นต้น

เราจึงลองสำรวจอีกว่า การเลือกตั้งในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา มีเงื่อนไขและรูปแบบการเลือกตั้งแตกต่างจากปี 2566 ที่จะถึงนี้หรือไม่และอย่างไร ดังนี้

Screen Shot 2566-01-25 at 13.15.32.png

สิ่งที่น่าสนใจคือ ตัวเลขที่พุ่งสูงถึง 5.9 พันล้านในการเลือกตั้งปีนี้ กลับไม่มีการจัด ระบบรายงานผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ หรือการรายงานคะแนนเลือกตั้งเรียลไทม์ โดย แสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง ระบุไว้ว่า จะไม่มีแอปพลิเคชันในการรายงานผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการเหมือนการเลือกตั้งที่ผ่านมา ทำให้เกิดข้อกังวลหลายประการ โดยเฉพาะความโปร่งใสในการจัดการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นหน้าที่ของ กกต. โดยตรง อีกทั้งการมีระบบรายงานผลแบบเรียลไทม์ จะช่วยให้สื่อมวลชนและประชาชนเห็นความคืบหน้าของการนับคะแนน สามารถตรวจสอบและเปรียบเทียบระหว่างผลคะแนนที่ได้กับผลลัพธ์สุดท้ายได้

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขอันแสนแพงข้างต้น จะคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพในทางปฏิบัติหรือไม่ นี่คือประเด็นสำคัญที่ประชาชนต้องติดตามอย่างใกล้ชิด 

info4 งบเลือกตั้ง 66