ผู้เชี่ยวชาญแผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด (สอจร.) เผย “ผลสำรวจสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนนของประเทศไทยปี 2561” ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สนับสนุนให้มีการจัดทำขึ้น โดยใช้ข้อมูล 3 ฐาน ประกอบด้วยข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด พบสถานการณ์ในประเทศไทยยังน่าวิตก โดยเฉพาะอัตราการเสียชีวิตที่สูงกว่า 20,000 รายต่อปี โดยมีสัดส่วนการตายของเพศชายมากกว่าหญิงเป็นเยาวชนไทยกลุ่มวัยรุ่น-วัยเรียน ตายมากที่สุด ยานพาหนะประเภทมอเตอร์ไซค์ครองแชมป์ดับ ขณะที่จังหวัดภาคตะวันออกครองสัดส่วนเสียชีวิตสูงสุดในประเทศ
นายปรีดา จาตุรพงค์ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เปิดเผยผลการรวบรวมและวิเคราะห์สถานการณ์ความปลอดภัยทางถนนของประเทศไทยปี 2561 พบว่า ล่าสุดมีผู้เสียชีวิตจากการชนบนถนน 20,169 ราย โดย 3 ใน 4 ของผู้เสียชีวิตเป็นเพศชาย วัยรุ่นวัยเรียนเป็นอันดับ 1 ของผู้เสียชีวิตทางถนน ผู้ขับขี่จักรยานยนต์เสียชีวิต 70 เปอร์เซ็นต์ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล 14 เปอร์เซ็นต์ คนเดินเท้า 10 เปอร์เซ็นต์ รถจักรยานและรถใหญ่รวมกัน 6 เปอร์เซ็นต์
จังหวัดที่มีการเสียชีวิตสูงสุดต่อแสนประชากรของปี 2561 เรียงลำดับจากมากไปน้อย 10 อันดับแรก คือ ระยอง (65.53) ชลบุรี (49.63) จันทบุรี (49.02) สระบุรี (48.06) ฉะเชิงเทรา (47.55) ปราจีนบุรี (47.19) สระแก้ว (45.97) ประจวบคีรีขันธ์ (45.01) พระนครศรีอยุธยา (44.90) และนครนายก (43.06) ส่วนจังหวัดที่มีการเสียชีวิตต่ำสุดต่อแสนประชากร 10 อันดับแรก คือ แม่ฮ่องสอน (13.09) กรุงเทพฯ (13.48) ยะลา (15.22) ปัตตานี (15.60) นราธิวาส (15.83) สตูล (19.28) นครปฐม (19. 34) หนองคาย (19.34) หนองบัวลำภู (20.50) นนทบุรี (20.78)
ทั้งนี้ พบจังหวัดที่มีการเพิ่มขึ้นของอัตราการเสียชีวิตต่อแสนประชากรมากที่สุด 10 อันดับแรก โดยสรุปข้อมูลตั้งแต่ปี 2554-2561 คือ จังหวัดบึงกาฬ 38 เปอร์เซ็นต์ อำนาจเจริญ 30 เปอร์เซ็นต์ เลย 30 เปอร์เซ็นต์ นนทบุรี 28 เปอร์เซ็นต์ กาฬสินธุ์ 27 เปอร์เซ็นต์ ศรีสะเกษ 26 เปอร์เซ็นต์ สระแก้ว 22 เปอร์เซ็นต์ ยโสธร 20 เปอร์เซ็นต์ ชัยภูมิ 13 เปอร์เซ็นต์ และมุกดาหาร 13 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
ขณะที่ 10 จังหวัดที่มีการลดลงของอัตรการเสียชีวิตต่อแสนประชากรดีที่สุด ตั้งแต่ปี 2554-2561 คือ ยะลา -81 เปอร์เซ็นต์ สตูล -77 เปอร์เซ็นต์ สมุทรสาคร -71 เปอร์เซ็นต์ สุราษฎร์ธานีื -63 เปอร์เซ็นต์ ภูเก็ต -62 เปอร์เซ็นต์ สงขลา -59 เปอร์เซ็นต์ พะเยา -5 เปอร์เซ็นต์ ชุมพร -55 เปอร์เซ็นต์ ตรัง -49 เปอร์เซ็นต์ และนครพนม -47 เปอร์เซ็นต์
นายแพทย์วิทยา ชาติบัญชาชัย ประธานแผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด (สอจร.) และผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือด้านอุบัติเหตุและวิกฤติบำบัดขององค์การอนามัยโลกและโรงพยาบาลขอนแก่น กล่าวว่า แม้ตัวเลขการเสียชีวิตในปี 2561 จะลดลงและดูเหมือนว่าเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่อุบัติเหตุและการสูญเสียบนท้องถนนไทย ยังเป็นปัญหาสำคัญต่อเนื่องยาวนาน เฉพาะในกลุ่มอาเซียนไทยยังสูงเป็นอันดับ 1 และยังห่างไกลเป้าหมาย ทศวตรรษแห่งความปลอดภัยทางถนนในปี 2563 ที่ตั้งเป้าลดการตายลงครึ่งหนึ่งให้เหลือน้อยกว่า 20 รายต่อแสนประชากร ซึ่งองค์การอนามัยโลกชี้ว่าไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างแน่นอน โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวเนื่องกับการบังคับใช้กฎหมาย
ล่าสุดแม้ว่ารัฐบาลจะกำหนดแผนนโยบายที่เกี่ยวเนื่องกับ การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยทางถนน ที่สอดประสานกันระหว่างระบบการเตือนภัย การช่วยเหลือกู้ภัยและการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยที่มีประสิทธิภาพ แต่ยังไม่เห็นทั้งความชัดเจนและจริงจัง ดังนั้น ภาคีเครือข่าย องค์กร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องเดินหน้าช่วยกันกระทุ้งและผลักดันเชิงนโยบายให้เกิดขึ้นจริง คือ 1. มีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่จะต้องมีหน่วยงานหลัก รับผิดชอบในการกำหนดทิศวางแผนยุทธศาสตร์ การดำเนินงานอย่างเป็นระบบตามหลักการสากล ประสานการดำเนินงาน กำกับ และติดตามผล 2. รัฐบาลจะต้องจริงจังในการยกระดับการบังคับใช้กฎหมายอย่างแข็งขันมีประสิทธิภาพและทั่วถึงทุกพื้นที่ และ 3. ทุกภาคส่วนต้องมีมาตรการภายในองศ์ความปลอดภัยทางถนน
“จากรายงานข้างต้นที่ระบุรถมอเตอร์ไซค์คือยานพาหนะที่มีการตายสูงสุดนั้น สอดคล้องกับข้อมูลการบาดเจ็บในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา พบว่าการบาดเจ็บที่ศรีษะรุนแรงและนำไปสู่การตายสูงขึ้น ทั้งที่ผลการศึกษาระบุชัดเจนว่าการใส่หมวกกันน็อค ช่วยลดการบาดเจ็บได้ถึง 3 เท่าเมื่อเทียบกับการไม่ใส่ ซึ่งเพ่ิมโอกาสเสียชีวิตถึง 7 เท่า จึงเป็นคำถามที่ว่าเหตุใดแม้ใส่หมวกกันน็อค แต่ยังเจ็บและตายในอัตราสูง หนึ่งในเหตุผลสำคัญเกิดจากพฤติกรรมการขับขี่ ที่ในปัจจุบันคนไทยขับเร็วเกินกฎหมายกำหนด เมื่อเกิดอุบัติเหตุและการชนจึงเกิดความสูญเสียรุนแรง” นายแพทย์วิทยา กล่าว
นายแพทย์วิทยา กล่าวว่า ภาคีเครือข่ายเห็นว่าตามที่นายกรัฐนตรีได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนอย่างจริงจังในรัฐบาลที่ผ่านมา โดยแก้ไขฎหมายหลายฉบับรวมทั้งการประกาศนโยบายสำคัญคือให้ทำทั้งปีไม่ทำเฉพาะแค่เทศกาลสงกรานต์หรือเทศกาลปีใหม่ถือเป็นนโยบายที่มีความสำคัญในการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนส่งผลให้การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนลดลง จาก 21,607 ในปี 2560 เป็น 20,169 ในปี 2561 การที่คนไทยต้องสูญเสียชีวิตกว่าปีละสองหมื่นรายถือเป็นปัญหาสำคัญของสังคมไทยเนื่องจากส่วนใหญ่ของผู้ประสบอุบัติเหตุอยู่ในวัย 15-24 ปี ซึ่งจะเป็นกำลังหลักต่ออนาคตของประเทศ ผู้บาดเจ็บหนักที่ต้องนอนรักษาในโรงพยาบาลกลายเป็นผู้พิการถาวรถึง ร้อยละ 4.6 ซึ่งสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ 2560) ได้คำนวณมูลค่าความสูญเสียจากการเสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัสจากอุบัติเหตุทางถนในช่วงปี 2554 - 2556 เฉลี่ยต่อปีเท่กับ 545,435 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประทศ (GOP) ซึ่งระยะยาวจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยอย่างรุนแรง
สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนธนาคารโลกได้ออกรายงานฉบับล่าสุด THE HIGH TOLL OF TRAFFIC INJURES: Unacceptable and Preventable โดยยกตัวอย่างประเทศไทยเป็น 1 ใน 5 ประเทศว่าหากสามารถลดการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนลงได้ครึ่งหนึ่งในระยะเวลา 29 ปีข้างหน้าประเทศไทยจะมี GOP เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 22.1 เมื่อเทียบกับปี 25 และได้ให้แนวทางการแก้ไขโดยสรุป คือ ควรจัดตั้งองค์กรนำเพื่อดำเนินการเรื่องนี้โดยเฉพาะมีแนระดับชาติที่สอดคล้องกับปัญหาและมีการลงทุนเพื่อความปลอดภัยทางถนน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายระดับโลกด้านความปลอดภัยทางถนน 12 ข้อ ขององค์การสหประชาชาติโดยตัวชี้วัดของเป้าหมายข้อที่ดมีข้อเสนอแนะให้ประเทศต่างๆ ให้ความสำคัญกับการจัดให้มีหน่วยงานองค์กรนำ (Lead agent) และแนะนำให้ทุกประเทศดำเนินการภายในปี 2563
ดังนั้น ภาคีเครือข่ายเสนอความห็นต่อนายกรัฐนตรี เพื่อให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนให้ได้ผลดีมากยิ่งขึ้น 3 ประการ ประกอบด้วย
1.ให้การป้องกันปัญหาอุบัติเหตุทางถนนเป็นหนึ่งในแผนแม่บทของรัฐบาลภายได้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580)
2.มอบหมายให้มีการศึกษาทางเลือกต่างๆ ในการปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันและการลดอุบัติเหตุทางถนนปี 2554 เพื่อให้ระบบบริหารจัดการความปลอดภัยทางถนนที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3.มีนโยบายและแผนเพิ่มการลงทุนเพื่อยกระดับความมาตฐานความปลอดภัยของถนนที่ชัดเจนและวัดผลได้