สำหรับการเกิดขึ้นของ 'รวมไทยสร้างชาติ' นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์หลายคนระบุว่า นี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ที่ 'ทหาร' ตั้งพรรคมาแข่งในระบบเลือกตั้ง 2 พรรค ที่ผ่านมาพวกเขาเป็นเอกภาพมาก มักตั้งพรรคเดียว หรือไม่ก็มีพรรคหุ่นเชิดเพียงพรรคเดียว
การแยกกันเดินของ 2 ป.จึงเป็นสิ่งที่ 'ใหม่' มาก และน่าลุ้นว่าจะเปลี่ยนโฉมการเมืองไปอย่างไร โดยมี 'ประชาชน' ที่ก็คาดเดาไม่ง่ายว่าตอนนี้คิดอย่างไร-พฤติกรรมเปลี่ยนไปเพียงไหน เป็นผู้กำหนดชะตากรรมประเทศผ่านคูหาเลือกตั้ง
พรรคที่เลือดไหลออกที่สุดคือ พลังประชารัฐ เพราะพี่-น้อง แย่งส.ส.กันเอง เนื่องจากเกิดภาวะ 'มังกรสองหัว'
นักวิเคราะห์บางส่วนบอกว่า เป็นยุทธศาสตร์ 'แยกกันเดิน-รวมกันตี' ที่กำหนดร่วมกันแล้ว เพื่อแยกให้ความเข้มของอุดมการณ์ให้ชัด สามารถแบ่งพื้นที่กันได้ชัดเจน แล้วนัดเจอกันที่ทำเนียบรัฐบาล โดยรวมไทยสร้างชาติหวังเป็นพรรคหลัก
บ้างว่า เกม 'ตกปลาในบ่อเพื่อน' เป็นเพียงการตีกันไม่ให้พลังประชารัฐอ่อนตัวจนถึงขนาดไปจับมือกับเพื่อไทย ศัตรูเก่าหมายเลข 1 ของชนชั้นนำ ขณะที่บ้างเห็นว่า การจับมือ พปชร-เพื่อไทยต่างหากจะส่งผลดี เพราะจะกันพรรคที่แข็งกร้าวอย่างก้าวไกล ออกจากสมการจัดตั้งรัฐบาล
ท่ามกลางบทวิเคราะห์ร้อยแปด กระแสข่าวย้ายพรรคฝุ่นตลบ ก็มีข่าวที่สร้างความฮือฮาไม่นานนี้ เมื่อ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรค พปชร.เรียกคุย ส.ส.รายตัวและมีการเซ็นชื่อยืนยันว่าจะไม่ย้ายออก สื่อมวลชนรายงานว่า มีส.ส.เข้าพบในวันนั้นเพียง 40 คน
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์บางส่วนเห็นว่า 'แยกกันเดิน' ระวังจะกลายเป็นพรรคเล็กทั้งคู่ ไม่ทันได้ 'รวมกันตี' บางคนปรามาสว่า รวมไทยสร้างชาติแค่หาให้ได้ 25 ที่นั่งเพื่อมีสิทธิเสนอชื่อนายกฯ ก็ลำบากแล้ว บางส่วนประเมินว่า มีลุ้นอยู่หากดูด 'บ้านใหญ่' ได้เพิ่ม เพราะตามโพลล์แล้ว ‘ประยุทธ์’ ยังเนื้อหอมในหลายพื้นที่ ไม่นับรวมแบ็คอัพที่มองไม่เห็น บางคนคิดต่อไปอีกว่า แม้จับมือกับพรรครัฐบาลเดิม รวมถึง 'พรรค ส.ว.' จนชนะโหวตได้เป็นนายกฯ ก็ใช่จะคุมสภาพการบริหาร-เสียงในสภาได้ ฯลฯ
พรรคที่น่าจะชีช้ำระส่ำระสายหนักเห็นจะเป็น ‘ประชาธิปัตย์’ เพราะแรงกระเพื่อมสูงมาโดยตลอด จากปัญหาภายใน มีทีท่าว่า ส.ส.จะไหลออกหลายทิศทาง นโยบายที่จะขายก็ยังไม่ได้เริ่มขยับเป็นเรื่องเป็นราว
ที่นั่งยิ้มมาก่อนแล้ว เพราะ 'ทรงเสน่ห์' เป็นตัวแปรในทุกขั้วอำนาจ ลงทุนน้อย-ผลตอบแทนสูง ได้
เป็นพรรคร่วมรัฐบาลตลอด คือ ภูมิใจไทย พวก 'งูเห่า-ส.ส.ฝากเลี้ยง' ก็มีอยู่ในมือแล้วไม่น้อย ถึงขนาดเคยแพลมตัวเลขที่คาดหวัง 120 ที่นั่งออกมา แม้นักวิชาการบางคนจะเห็นว่า ระบบเลือกตั้ง บัตร 2 ใบแยกส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์-ส.ส.เขต จะส่งผลไม่ดีนักเพราะภูมิใจไทยกระแสความนิยมไม่สูง ปาร์ตี้ลิสต์จะได้ไม่มาก แต่นั่นก็อาจไม่ทำให้สะเทือน
สิริพรรณ นกสวน สวัสดี ประเมินว่า หากเพื่อไทยผนึกกำลังกับพรรคการเมืองประชาธิปไตยอื่นได้ จะเกิด 'แลนด์สไลด์ฝ่ายค้าน' ที่ 265 ที่นั่ง เรียกว่าไม่ได้ประเมินสูงนัก อย่างไรก็ตาม สิริพรรณไม่ได้มองว่า 'ประยุทธ์' จะไปได้สวย เพราะแม้กระแสดีในภาคใต้ แต่อย่าลืมว่า ภาคอีสานมีประชากรมากที่สุด มีที่นั่ง ส.ส.มากที่สุด
ประจักษ์ ก้องกีรติ ประเมินว่า ยุทธศาสตร์แยกกันเดิน-รวมกันตี จะสำเร็จต่อเมื่อระบบเลือกตั้งเป็นแบบบัตรใบเดียวที่เอื้อให้พรรคขนาดกลางเท่านั้น ถ้าระบบบัตรสองใบยิ่งแตกพรรค พรรคจะยิ่งเล็ก นอกจากนี้ยุทธศาสตร์นี้จะสำเร็จถ้าตกลงกันได้ในการ 'หลบพื้นที่' ส่งส.ส.ลงสมัคร-ประชาชนรู้ชัดว่าสองพรรคนี้คือแนวร่วม ไม่ใช่คู่แข่ง
"สูตรแบ่งปันอำนาจแบบ 'คนละครึ่ง' นี้ไม่มีในนวัตกรรมของไทย เคยมีคนพยายามทำมาก่อนแล้วในหลายประเทศ ล้วนล้มเหลวหมด ที่ชัดเจนคือ ดีลระหว่างมหาธีร์ โมฮัมหมัด กับอันวาร์ อิบราฮิม ในมาเลเซีย แต่สุดท้ายก็หักหลังกันจนการเมืองมาเลเซียไร้เสถียรภาพมาจนปัจจุบัน ขึ้นชื่อว่า อำนาจ ยากที่จะแบ่งปันกันได้" ประจักษ์ว่าไว้ในบทวิเคราะห์
สมชัย ศรีสิทธิยากร วิเคราะห์ไว้สั้นๆ ถึงผลกระทบเชิงโครงสร้างที่จะเกิดขึ้นหลังเปลี่ยนระบบเลือกตั้งหนนี้ว่า
1. สภาผู้แทนราษฏร จะเหลือพรรคการเมือง ไม่เกิน 10 พรรค
2. พรรคอันดับ 1 อาจมี ส.ส.ในสภาถึง 40-55% ของ ส.ส.ทั้งหมด
3. พรรคอันดับ 2 จะมี ส.ส. น้อยกว่าพรรคแรกกว่าครึ่ง
4. พรรคอันดับ 1 สามารถเลือกจับมือกับทุกพรรคที่เหลือ ยกเว้นบางพรรคที่ประชาชนผู้สนับสนุนพรรคไม่ประสงค์จะให้จับมือด้วย
5. ด้วยกติกาที่ให้ ส.ว.มาร่วมเลือกนายกฯ จึงอาจเห็นการร่วมจับมือจัดตั้งรัฐบาลให้เกิน 375 เสียง เพื่อเอา ส.ว.ออกจากสมการจัดตั้งรัฐบาลแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
6. หากพรรคลุง 2 พรรค รวมกันได้ต่ำกว่า 125 เสียงจะเป็นการส่งลุงกลับบ้านที่สมบูรณ์แบบ
สภาพวุ่นวายแต่กับการต่อรองอำนาจของพรรคร่วมรัฐบาล จนรัฐบาลผลักดันนโยบายไม่เป็นโล้เป็นพาย ส่วนหนึ่งมาจากการไร้ความสามารถของผู้นำรัฐบาล แต่อีกส่วนปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นเพราะ ‘จงใจออกแบบระบบให้ถอยหลัง’ ทั้งที่การเมืองไทยเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้นหลังเปลี่ยนระบบการเลือกตั้งในรัฐธรรมนูญ 2540 แม้จะมีปัญหาอยู่บ้างระหว่างทาง แต่ก็ถูกรัฐประหารซ้ำแล้วซ้ำเล่า เขียนกติกาใหม่ให้สภาพการเมืองถอยกลับไป 20 ปี
กล่าวเฉพาะระบบเลือกตั้ง ‘มีชัย ฤชุพันธุ์’ คิดระบบ ‘จัดสรรปันส่วนผสม’ บัตรใบเดียวคำนวณทั้ง ส.ส.เขต-บัญชีรายชื่อ เพื่อตอบโจทย์ คสช.ที่กำลังจะลงเล่นในกติกาเลือกตั้งในเวลานั้น ระบบนี้ใช้กันแค่ 4-5 ประเทศในโลก และส่วนใหญ่ยกเลิกไปหมดแล้วเพราะมีปัญหามาก ในเกาหลีใต้ศาลรัฐธรรมนูญถึงกับเคยตัดสินในปี 2554 ว่า ระบบนี้ผิดรัฐธรรมนูญเพราะไม่สะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชนและสร้างระบบที่บิดเบือน ยิ่งพรรคได้คะแนนส.ส.เขตมาก ยิ่งได้ส.ส.บัญชีรายชื่อน้อยลง
งานวิจัย ‘ระบบเลือกตั้งเพื่อลดความขัดแย้ง และส่งเสริมคุณภาพประชาธิปไตย’ ของประจักษ์ ก้องกีรติ ที่ทำให้สถาบันพระปกเกล้า ได้สรุปเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้สังคมไทยเปลี่ยนระบบเลือกตั้งในรัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งทำให้เกิดรัฐบาลไทยรักไทยในปี 2544 และเป็นระบบเดียวกันกับที่เราจะได้ใช้อีกครั้งในปี 2566 ว่า นั่นเป็นเพราะการเมืองไทยระหว่างปี 2518-2539 มีพรรคการเมืองที่มีโอกาสชนะเลือกตั้งมากกว่า 6 พรรค ไม่เคยมีพรรคการเมืองใดได้เสียงข้างมากเด็ดขาดในการเลือกตั้ง
“พรรคการเมืองจึงมีความเป็นสถาบันทางการเมืองต่ำ รัฐบาลผสมหลายพรรค มีอายุสั้นเพราะยุบสภาบ่อย ส.ส.มุ้งการเมืองมีอำนาจต่อรองสูง และไม่สามารถผลักดันนโยบายที่หาเสียงไว้ได้”
สภาพนี้ไม่ต่างจากปัจจุบัน เพราะคนออกแบบต้องการให้เป็นอย่างนั้น
หากดูสถิติจะเห็นได้ชัดเจนถึงความอ่อนแอของ ‘รัฐบาลเสียงปริ่มน้ำ-ผสมหลายพรรค’
(หลังใช้รัฐธรรมนูญ 2540)
รัฐธรรมนูญ 2560 ยังทำให้การเลือกตั้งที่ผ่านมาในปี 2562 เกิดพรรคที่เป็น ‘ส.ส.ปัดเศษ’ มากที่สุดในประวัติศาสตร์
การกลับมาของระบบเลือกตั้งบัตร 2 ใบคราวนี้ เป็นโอกาสทอง ‘โอกาสเดียว’ ที่จะเปลี่ยนโฉมหน้ารัฐบาล เปลี่ยนชะตากรรมประชาชน หากประชาชนต้องการเช่นนั้น แต่ก็ยังไม่แน่ว่าในบริบทปัจจุบันที่สภาพของตลาดการเมืองเปลี่ยนแปลงไปมาก แลนด์สไลด์ของพรรคฝ่ายประชาธิปไตยจะ ‘เด็ดขาด’ แค่ไหน รวมกันได้หรือเปล่า ตัดพลังของ ส.ว.ลากตั้ง 250 คนที่เป็น ‘พรรค’ ที่ใหญ่ที่สุดได้หรือไม่ แม้ยังไม่มีคำตอบสุดท้าย แต่เชื่อว่าหลายคนก็น่าจะรู้สึกอยากเข้าคูหา ... ปากกาในมือสั่นกันแล้ว
ช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา พร้อมๆ กับข่าว 'ประยุทธ์' แยกวง บรรดาส.ส.ก็มีข่าวย้ายพรรคกันจำนวนมาก บ้างประกาศตัวชัดแต่เนิ่นๆ บ้างยังยอมรับครึ่งๆ กลางๆ ย้ายแน่แต่ไม่บอกจุดหมายใหม่ชัดๆ บ้างยังแทงกั๊กย้าย-ไม่ย้าย รอข้อมูลใหม่ ฯลฯ หากรวบรวมจากข่าวการเมืองและบทวิเคราะห์ต่างๆ พอจะสรุปได้ดังนี้
พรรคพลังประชารัฐ มี ส.ส.116 คน แบ่งเป็น เขต 97 คน บัญชีรายชื่อ 19 คน ในวันที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ให้เซ็นเอ็มโอยูไม่ย้ายค่ายนั้นมี ส.ส.ไปร่วม 40 คน แบ่งเป็น เขต 31 คน บัญชีรายชื่อ 11 คน
ผู้ที่จะร่วมปลุกปั้นพรรครวมไทยสร้างชาติ คร่าวๆ มีดังนี้
พีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค +กปปส.เก่า
เอกณัฏ พร้อมพันธุ์
ทีมลูกหมี ชุมพล จุลใส
สกลธี ภัทธิยกุล
ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ
กลุ่มสุชาติ ชมกลิ่น 7 คน
น.ส.ไพลิน เทียนสุวรรณ ส.ส.สมุทรปราการ
นายสมพงษ์ โสภณ ส.ส.ระยอง
นายสาทิตย์ อุ๋ยตระกูล ส.ส.เพชรบุรี
นายรณเทพ อนุวัฒน์ ส.ส.ชลบุรี
พ.ต.ท.ฐนภัทร กิตติวงศา ส.ส.จันทบุรี
ชัยวัฒน์ เป้าเปี่ยมทรัพย์ ส.ส.ฉะเชิงเทรา
ธนกร วังบุญคงชนะ ส.ส.บัญชีรายชื่อ + ส.ส.ใต้ 4 คน
สายัณห์ ยุติธรรม ส.ส.นครศรีธรรมราช
ศาสตรา ศรีปาน ส.ส.สงขลา
พยม พรหมเพชร ส.ส.สงขลา
ร.ต.อ.อรุณ สวัสดี ส.ส.สงขลา
ส.ส. กทม. 5 คน
ประสิทธิ์ มะหะหมัด
ภาดาท์ วรกานนท์
กรณิศ งามสุคนธ์รัตนา
ฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์
จักรพันธ์ พัชรินทร์ กานต์กนิษฐ์
สายอีสาน
สัมฤทธิ์ แทนทรัพย์ ส.ส.ชัยภูมิ
สายแทงกั๊ก ยังไม่ชัด ได้แก่
กลุ่มสันติ พร้อมพัฒน์ 5 คน
พิมพ์พร พรพฤฒิพันธุ์ ส.ส.เพชรบูรณ์
จักรัตน์ พั้วช่วย ส.ส.เพชรบูรณ์
วันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ ส.ส.เพชรบูรณ์
สุรศักดิ์ อนรรฆพันธ์ ส.ส.เพชรบูรณ์
เอี่ยม ทองใจสด ส.ส.เพชรบูรณ์
สามมิตร ราว 12 คน
กลุ่มชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ 3-4 คน
กลุ่ม เสธ.หิมาลัย 3 คน
สัญญา นิลสุพรรณ ส.ส.นครสวรรค์
สุรชาติ ศรีบุศกร ส.ส.พิจิตร
มานัส อ่อนอ้าย ส.ส.พิษณุโลก
1.ศิริวรรณ ปราศจากศัตรู ส.ส.บัญชีรายชื่อ
2.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม
3.สมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล อดีตส.ส.ตรัง
4.พ.ท.สินธพ แก้วพิจิตร ส.ส.นครปฐม
5.วชิราภรณ์ กาญจนะ ส.ส.สุราษฎร์
6. นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ ส.ส.ตาก
ยังไม่ชัด
จุติ ไกรฤกษ์
ในส่วนของศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อของประชาธิปัตย์นั้น ย้ายไปเพื่อไทย
อันวาร์ สาและ ส.ส.ปัตตานี
มณเฑียร สงฆ์ประชา ส.ส.ชัยนาท
ธรรมวิชญ์ โพธิพิพิธ ส.ส.กาญจนบุรี
นายอัฏฐพล โพธิพิพิธ ส.ส.กาญจนบุรี
น.ส.พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์
พล.อ.สมชาย วิษณุวงศ์ ส.ส.กาญจนบุรี
สมเกียรติ วอนเพียร ส.ส.กาญจนบุรี
เป็นต้น