หม่าและพรรคฝ่ายค้านอย่างก๊กมินตั๋ง (KMT) ได้เสนอการเดินทางเยือนจีน เพื่อการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนฉันมิตรข้ามช่องแคบ ในช่วงเวลาที่ขาดการเชื่อมต่ออย่างรุนแรง หลังจากเกิดแรงหนุนโดยแผนการของรัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ ที่ต้องการจะผนวกไต้หวันเข้าเป็นของตัวเอง
อย่างไรก็ดี ความพยายามในครั้งนี้ของหม่า มีแนวโน้มที่จะจุดชนวนความแตกแยกทางการเมืองภายในประเทศ ระหว่างพรรคก๊กมินตั๋ง และพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (DPP) ที่เป็นพรรครัฐบาลในตอนนี้ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่ไต้หวันมีต่อจีนแผ่นดินใหญ๋
สำนักงานของหม่ากล่าวว่า การเดินทางของอดีตประธานาธิบดีไต้หวันจากพรรคก๊กมินตั๋ง มีกำหนดขึ้นในวันที่ 27 มี.ค. ถึง 7 เม.ย. โดยหม่าจะแวะที่เมืองหนานจิง อู่ฮั่น ฉางซา ฉงชิ่ง และเซี่ยงไฮ้ อย่างไรก็ดี สื่อท้องถิ่นรายงานว่าคณะกรรมการกิจการจีนแผ่นดินใหญ่ของไต้หวัน ยังไม่ได้รับรายงานเกี่ยวกับการเดินทางที่วางแผนไว้ตามที่อดีตประธานาธิบดีต้องการ
การเยือนจีนแผ่นดินใหญ่ของหม่า ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐจีน หรือชื่อทางการของไต้หวัน ระหว่างปี 2551-2559 เกิดขึ้นท่ามกลางความพยายามที่เพิ่มขึ้นของรัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ ที่จะให้ไต้หวันถูกผนวกเข้ากับสาธารณรัฐประชาชนจีนในฐานะมณฑลหนึ่ง โดยจากแรงกดดันทางทหารและการทูต รัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์หวังว่าจะตัวเองบรรลุ “การรวมชาติอีกครั้ง” อย่างสันติ แต่ไม่ปฏิเสธการใช้กำลัง ทั้งนี้ ทั้งประชาชนและรัฐบาลของไต้หวัน ไม่ว่าจะเป็นพรรครัฐบาลประชาธิปไตยก้าวหน้า และพรรคฝ่ายค้านก๊กมินตั๋ง ต่างปฏิเสธโอกาสของการปกครองเกาะไต้หวันจากจีน
ตัวแทนของหม่าและพรรคก๊กมินตั๋ง ได้เน้นย้ำถึงวัตถุประสงค์ของการเดินทางครั้งนี้ว่า เป็นไปเพื่อการบูชาบรรพบุรุษ ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติแของจีนในการไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว และเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนที่ไม่ใช่ความสัมพันธ์ภาครัฐ และการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างไต้หวันและจีน
“อดีตประธานาธิบดีหม่าเชื่อว่า คนหนุ่มสาวทั้งสองฝั่งของช่องแคบมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน” เซียวซู่เซิน กรรมการบริหารของมูลนิธิหม่าอิงจิ่วกล่าว โดยเซียวย้ำว่าการแลกเปลี่ยนดังกล่าวเป็นเรื่องเร่งด่วนมากขึ้นเนื่องจากความเป็นปรปักษ์ระหว่างรัฐบาลทั้งสอง “ยิ่งมีการติดต่อระหว่างนักเรียนมากเท่าไร มิตรภาพระหว่างทั้งสองฝ่ายก็ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น ยิ่งมิตรภาพแน่นแฟ้นมากเท่าไหร่ โอกาสที่จะเกิดความขัดแย้งก็ยิ่งน้อยลงเท่านั้น”
พรรคก๊กมินตั๋งเป็นผู้สนับสนุนความสัมพันธ์ฉันมิตรกับจีน แต่ต่อต้านการรวมชาติอีกครั้งและปฏิเสธว่าไม่ฝักใฝ่รัฐบาลคอมมิวนิสต์จีน ในขณะที่พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า ซึ่งนำโดย ไช่อิงเหวิน ในการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่ 2 และเป็นวาระสุดท้ายของเธอ ถูกรัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์กล่าวหาว่าเป็น “ผู้แบ่งแยกดินแดน”
กำหนดการของของหม่าจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับที่ไช่มีกำหนดเดินทางเยือนสหรัฐฯ และคาดว่าจะเข้าพบกับ เควิน แม็กคาร์ธี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ และจะทำให้รัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ไม่พอใจ ซึ่งเป็นความพยายามต่อต้านการกระทำใดๆ ที่อาจให้ความชอบธรรมแก่อำนาจอธิปไตยของไต้หวัน หลังจากที่ แนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ได้เดินทางเยือนไต้หวันเมื่อปีที่แล้ว ตามมาด้วยการที่กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน ได้เข้าปิดล้อมเกาะไต้หวันด้วยข้ออ้างการซ้อมรบด้วยการยิงจริงหลายวัน
การเยือนตามแผนของหม่าก่อให้เกิดข่าวพาดหัว และการโต้เถียงในไต้หวันก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีในต้นปีหน้า และเกิดขึ้นไม่นานหลังจากการเยือนกรุงปักกิ่ง อันเป็นข้อขัดแย้งในประเทศ ของ แอนดรูว์ เซีย รองประธานพรรคก๊กมินตั๋ง ในเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา โดยเซียถูกสมาชิกพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้ากล่าวหาว่า "พัวพันกับพวกคอมมิวนิสต์"
ตัวแทนของหม่ากล่าวว่า คณะผู้แทนจะเยี่ยมชมสถานที่ ที่เกี่ยวข้องกับสงครามโลกครั้งที่ 2 การปฏิวัติปี 2464 และสงครามจีน-ญี่ปุ่น อย่างไรก็ดี เซียวไม่ปฏิเสธว่าหม่าจะเข้าพบกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของจีน “การเดินทางครั้งนี้เกิดขึ้นในจีนตอนกลาง เราไม่ได้เตรียมการไปกรุงปักกิ่ง” เซียวกล่าว “ในฐานะแขก เราอยู่ในการจัดการของเจ้าภาพ”
ศูนย์นโยบายไต้หวัน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญไต้หวันกล่าวว่า การเยือนครั้งนี้ทำให้เกิดคำถามว่า หม่า “เป็นตัวแทนเสียงที่เกี่ยวข้อง และชื่นชมสำหรับพรรคหรือประเทศชาติในเรื่อง (นโยบายข้ามช่องแคบ) หรือไม่” และเตือนไม่ให้หม่ามีความพยายามดำเนินการใดๆ ใน “การเจรจา 'แนวร่วม' อย่างไม่เป็นทางการในเรื่องรัฐต่อรัฐ” กับจีนคอมมิวนิสต์
ที่มา: