ไม่พบผลการค้นหา
หลังรัฐบาล คสช. แจกเงิน 500 บาท ให้กับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และหลายพรรคการเมืองเริ่มเสนอนโยบายแจกเงินรูปแบบต่างๆ ทั้งอุดหนุนการศึกษา ค่าครองชีพ ฯลฯ ชวนดูตัวอย่างนโยบายทางเศรษฐกิจด้วยการแจกเงินในต่างประเทศ พบทั้งด้านบวกและด้านลบ

หลังรัฐบาล คสช. แจกเงิน 500 บาท ให้กับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และหลายพรรคการเมืองเริ่มเสนอนโยบายแจกเงินรูปแบบต่างๆ ทั้งอุดหนุนการศึกษา ค่าครองชีพ ฯลฯ ชวนดูตัวอย่างนโยบายทางเศรษฐกิจด้วยการแจกเงินในต่างประเทศ พบทั้งด้านบวกและด้านลบ

โครงการให้เงินโดยไร้เงื่อนไขที่ประเทศอินเดีย มีสองหมู่บ้านที่ห่างไกลความเจริญใน รัฐมัธยประเทศ ซึ่งเป็นหนึ่งในรัฐที่ยากจนที่สุดในอินเดีย มีภาวะขาดสารอาหารในเด็กและการเสียชีวิตจากโรคอุจจาระร่วงเป็นจำนวนมาก ประชากรวัยผู้ใหญ่หลายพันคนในทั้งสองหมู่บ้านและอีกเจ็ดหมู่บ้านใกล้เคียงได้รับเงิน 2-3 ปอนด์ในทุกเดือนโดยไร้เงื่อนไขผูกพันเมื่อปี 2011-13 โดยได้รับเงินสนับสนุนจากองค์กร UNICEF และดำเนินการโดยสหภาพแรงงานผู้หญิงที่เป็นนายตัวเองในอินเดีย (SEWA) พบว่าโครงการนี้ทำให้พื้นที่ดังกล่าวมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจคึกคักขึ้น สุขภาพโดยรวมของผู้คนดีขึ้น การเข้าเรียนและผลการเรียนของนักเรียนดีขึ้น คนในชุมชนใกล้ชิดกันมากขึ้น และผู้หญิงจากต่างวรรณะมารวมกลุ่มกันเพื่อให้คำแนะนำและปรึกษาการใช้เงินระหว่างกันเป็นครั้งแรก

ในประเทศบราซิลเมื่อปี 2003 ได้เริ่มโครงการ Bolsa Familia ที่รัฐบาลให้เงินแก่ครอบครัวที่ยากจนในประเทศ ด้วยเงื่อนไขต้องส่งลูกเข้าโรงเรียนด้วยสัดส่วนเวลา 85% ของเวลาเรียนทั้งหมด และเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคเป็นประจำ นักเศรษฐศาสตร์เรียกโครงการแบบนี้ว่า ‘การโอนเงินแบบมีเงื่อนไข’ (conditional cash transfers) ปัจจุบันโครงการนี้ให้เงินแก่ครอบครัวชาวบราซิลที่มีรายได้ต่ำกว่าเดือนละ 140 เรียล (ประมาณ 1,400 บาท) โดยรัฐให้เงินอีกเดือนละ 95 เรียล (ประมาณ 950 บาท) ส่วนครอบครัวที่ยากจนมาก มีรายได้เดือนหนึ่งต่ำกว่า 70 เรียล รัฐจะให้เงิน 70 เรียล

ก่อนที่จะมีโครงการนี้บราซิลมีบทเรียนเรื่องการช่วยเหลือคนจนโดยการแจกจ่ายสิ่งของต่าง  ๆ ว่าเป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายสูง ไร้ประสิทธิภาพ และทำให้เกิดคอรัปชั่น ซึ่งภายหลังมีการวิจัยที่ได้ข้อสรุปว่า คนที่จะเข้าใจความจำเป็นของคนยากจนก็คือตัวคนจนเอง การวิจัยยังพบว่าเมื่อมีโอกาส ครอบครัวที่ยากจนจะใช้เงินอย่างมีเหตุมีผล โดยเฉพาะเมื่อเงินนั้นตกอยู่ในมือของสตรีที่เป็นแม่บ้าน ทำให้เงินจากโครงการ Bolsa Familia จะให้กับสตรีที่เป็นหัวหน้าครอบครัวเป็นหลัก ซึ่งธนาคารโลกที่ให้เงินกู้แก่บราซิลสำหรับโครงการนี้ชี้ว่ามีส่วนเพิ่มอัตราการศึกษาของเด็ก มีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กและอาหารที่บริโภค โดยองค์กรเอกชนด้านการอุดมศึกษาในบราซิลพบว่าโครงการ Bolsa Família ช่วยให้สัดส่วนคนยากจนลดลงในเวลาอันสั้น และการศึกษาของรัฐบาลกลางพบว่าครอบครัวที่ได้รับเงินจะใช้จ่ายไปกับเรื่องพื้นฐานเป็นหลัก เช่น อาหาร เงินให้เด็กไปโรงเรียน เสื้อผ้า รองเท้า เป็นต้น

แต่ทั้งนี้มีเสียงวิจารณ์ว่าเกิดการ คอร์รัปชั่น ในโครงการ Bolsa Familia เพราะรายงานขององค์การอนามัยโลกปี 2017 พบว่าจากปี 2014-2015 ประชากรบราซิล 3.8% หรือคิดเป็น 7.6 ล้านคน ยังคงมีรายได้ที่มีมูลค่าต่ำกว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อวัน ซึ่งสัมพันธ์กับความตายที่เกี่ยวข้องกับการขาดสารอาหารในบราซิล จากข้อมูลของ WHO ก็พบว่ายังมีตัวเลขสูงอยู่ที่ 3.99 รายต่อ 1 แสนคนต่อปี จากประชากรทั้งประเทศกว่า 210 ล้านคน

สำหรับเรื่อง ประสิทธิภาพ ของการให้เงินแบบมีเงื่อนไขเปรียบเทียบกับแบบไม่มีเงื่อนไข มีการศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากระบบสวัสดิการ Prospera เพื่อผู้มีรายได้น้อยโดยรัฐบาลเม็กซิโกที่ได้ให้เงินแก่ครอบครัวยากจนโดยมีเงื่อนไขว่าเด็กในครอบครัวต้องได้ไปโรงเรียน กับการให้เงินแก่ครอบครัวยากจนแบบไม่มีเงื่อนไข เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วพบว่าเยาวชนที่ถูกติดตามผลจากการให้เงินแบบมีเงื่อนไขได้เรียนหนังสือมากกว่าอย่างชัดเจน เช่นเดียวกับการศึกษาข้อมูลปี 2007-2010 เรื่องการให้เงินคนยากจนในประเทศมาลาวีสำหรับครอบครัวที่มีเด็กหญิงในวัยเรียน พบว่าได้ผลลัพธ์แบบเดียวกับที่เม็กซิโก นอกจากนี้ยังพบอีกด้วยว่าจากการทดสอบด้านเชาว์ปัญญา คณิตศาสตร์ และการอ่านภาษาอังกฤษ เด็กหญิงในครอบครัวที่รับเงินโดยมีเงื่อนไขผูกมัดทำคะแนนได้สูงกว่าด้วย

ในประเทศ นามิเบีย ตั้งแต่ปี 2008-2009 มีโครงการนำร่องที่มีการให้รายได้ขั้นพื้นฐานที่ดำเนินการในหมู่บ้านยากจนแห่งหนึ่งในนามิเบีย มีประชากรประมาณหนึ่งพันคน โครงการนี้ดำเนินการโดยกลุ่มพันธมิตรเพื่อรายได้ขั้นพื้นฐานของนามิเบีย (Namibian Basic Income Grant Coalition) ที่ได้รับเงินทุนส่วนใหญ่จากคริสตจักรโปรเตสแตนต์เยอรมัน, เงินบริจาครายบุคคลของชาวเยอรมัน, พลเมืองนามิเบีย และกระทรวงเพื่อความร่วมมือของเยอรมัน (German Ministry for Cooperation) จำนวนเงินที่จ่ายต่อคนประมาณ 12 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือนแก่ผู้ที่อายุไม่เกิน 60 ปี หลังสิ้นสุดโครงการนำร่องนี้พบว่า ช่วยลดภาวะขาดสารอาหารในเด็กและเด็กได้เรียนหนังสือมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และรายได้ของชุมชนก็เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนเช่นกันโดยพบว่าคนในชุมชนทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ให้รายได้มากขึ้น และอาชญากรรมโดยรวมลดลง 42% หลังโครงการนำร่องนี้ได้ลดจำนวนเงินเหลือประมาณ 10 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือนจนถึงปี 2012

อย่างไรก็ตามมีการตั้งข้อสังเกตว่า ข้อสรุปเหล่านี้ได้มาจากการศึกษาสองครั้งที่ทำโดยกลุ่ม Namibian Basic Income Grant Coalition ซึ่งเป็นผู้ดำเนินโครงการ และศึกษาครั้งแรกครอบคลุมเพียง 6 เดือนแรกของโครงการ และการศึกษาครั้งที่สองครอบคุลม 12 เดือนแรกของโครงการ ซึ่งไม่มีการศึกษาเชิงประจักษ์หรือการประเมินโครงการเพิ่มเติมอีกเลย และไม่มีฐานข้อมูลของโครงการที่สาธารณะชนสามารถเข้าถึงได้ โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับคำยืนยันของตัวแทนโครงการผ่านสื่อมวลชนในนามิเบีย รวมถึงไม่มีการให้เหตุผลว่าทำไมสาธารณะชนจึงไม่สามารถเข้าถึงฐานข้อมูลดังกล่าว

ส่วนประเทศรัฐสวัสดิการอย่างฟินแลนด์ประกาศยุติการทดลองให้เงินขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน (Universal Basic Income) ภายในปี 2018 หลังจากต้นปี 2017 ชาวฟินแลนด์ผู้ว่างงานอายุระหว่าง 25-58 ปี 2,000 คนจากการสุ่ม ได้รับเงินจากรัฐบาล 560 ยูโรต่อเดือน (ประมาณ 21,5000 บาท) เป็นเวลาสองปี (2017-2018) แม้ใครสามารถหางานทำได้ในระหว่างการทดลองนี้ พวกเขาก็จะยังได้รับเงินก้อนดังกล่าวอยู่ จึงตามมาด้วยข้อถกเถียงว่าการให้เงินแบบไม่มีเงื่อนไขจะไปบิดเบือนแรงจูงใจของผู้คนในการพัฒนาตนเองซึ่งก็มีความเห็นทั้งสองด้าน

สำหรับบ้านเรา หลังจากที่รัฐบาล คสช. แจกเงิน 500 บาท ให้กับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในช่วงปีใหม่ ซึ่งคล้ายกับ ‘การแจกเงินให้นำไปใช้แบบไม่มีเงื่อนไข’ ที่ส่วนใหญ่ในต่างประเทศจะพบกับความล้มเหลว เมื่อเทียบกับนโยบายด้านการเงินที่อัดฉีดลงไปในระดับฐานล่างอย่างเงินกู้จาก ‘กองทุนหมู่บ้าน’ ที่ดำเนินการจัดตั้งกองทุนในทุกหมู่บ้านๆ ละ 1 ล้านบาท เพื่อเป็นกองทุนหมุนเวียนให้ชาวบ้านได้มีแหล่งเงินทุนให้กู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพและดำรงชีพ เริ่มมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลไทยรักไทยเมื่อปี 2544 เปลี่ยนผ่านมาหลายรัฐบาลโครงการนี้ก็ยังดำเนินการต่อมาได้ แม้จะมีข้อวิจารณ์ว่าเป็นหนึ่งของนโยบายประชานิยมรัฐบาล ดร.ทักษิณ ชินวัตร และเงินที่ให้กู้มักถูกนำไปใช้ซื้อของสิ่งของฟุ่มเฟือยที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เช่น โทรศัพท์มือถือ รถจักรยานยนต์ ฯลฯ เป็นภาระต่องบประมาณของภาครัฐ และสร้างหนี้สินครัวเรือนให้เพิ่มมากขึ้น แต่เมื่อพิจารณาข้อมูลในปี 2556 'กองทุนหมู่บ้าน' กลายเป็น 'แหล่งเงินกู้หลัก' ของครัวเรือน (30.8%) เป็นรองเพียงแหล่งเงินกู้ในระบบ คือ ธนาคาร (66.7%) เท่านั้น ขณะที่การพึ่งพอหนี้นอกระบบลดลงจาก 7.9% ในปี 2552 หรือ 4.6% ในปี 2556 และในช่ว���ที่ประเทศยังไม่เผชิญกับวิกฤตการเมืองในปี 2547 ผู้กู้เงินจากกองทุนหมู่บ้านมีอัตราการชำระหนี้คืนถึง 95.3% เลยทีเดียว