ไม่พบผลการค้นหา
เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เผย GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 โต 2.3% คาดปี 2567 โต 2.3-2.8%

วันนี้ (19 ส.ค.2567) นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไตรมาสที่สองของปี 2567 และแนวโน้มปี 2567 โดยพบว่า

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 2.3 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.6 ในไตรมาสแรกของปี 2567 และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองของปี 2567 ขยายตัวจากไตรมาสแรกของปี 2567 ร้อยละ 0.8 (%QoQ_SA) รวมครึ่งแรกของปี 2567 เศรษฐกิจไทย ขยายตัวร้อยละ 1.9

455907663_803808391931074_6913238429808761733_n.jpg

ด้านการใช้จ่าย มีปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวดีขึ้นของการอุปโภคภาครัฐบาล การส่งออกสินค้า และบริการ และการขยายตัวในเกณฑ์ดีต่อเนื่องของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ในขณะที่การลงทุน ภาคเอกชนและภาครัฐปรับตัวลดลง 

การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 4.0 ชะลอลงจากร้อยละ 6.9 ในไตรมาสก่อน โดย

การใช้จ่ายหมวดบริการขยายตัวร้อยละ 6.0 ชะลอลงจากร้อยละ 13.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอลง ของการใช้จ่ายในกลุ่มโรงแรมและภัตตาคาร กลุ่มบริการทางการเงิน การบริการด้านการศึกษา และกลุ่มสถานบันเทิงอื่น ๆ 

การใช้จ่ายหมวดสินค้าไม่คงทน ขยายตัวร้อยละ 3.6 ชะลอลงจากร้อยละ 4.7 ตามการชะลอลงของการใช้จ่ายกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์และการใช้จ่ายกลุ่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 

การใช้จ่ายหมวดสินค้าคงทน ลดลงร้อยละ 6.5 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 6.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการใช้จ่ายเพื่อซื้อยานพาหนะซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการตัดสินใจชะลอการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในช่วงที่การแข่งขันด้านราคามีความรุนแรงมากขึ้น 

การใช้จ่ายในหมวดสินค้ากึ่งคงทน ขยายตัวร้อยละ 4.3 ตามการขยายตัวของการใช้จ่ายเพื่อซื้อเฟอร์นิเจอร์ และการใช้จ่ายกลุ่มเสื้อผ้าและรองเท้า สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในไตรมาสนี้อยู่ที่ระดับ 54.3 ลดลงจากระดับ 57.2 ในไตรมาสก่อนหน้า การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลขยายตัวร้อยละ 0.3 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 2.1 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยรายจ่ายการโอนเพื่อสวัสดิการสังคมที่ไม่เป็นตัวเงินสำหรับสินค้าและบริการในระบบตลาดเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เทียบกับการลดลงร้อยละ 10.7 ในไตรมาสก่อนหน้า และค่าตอบแทนแรงงาน (เงินเดือน ค่าบำเหน็จบำนาญ) ขยายตัวร้อยละ 0.8 ขณะที่ค่าซื้อสินค้าและบริการลดลง ร้อยละ 3.8 สำหรับอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 27.7 (สูงกว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 19.2 ในไตรมาสก่อนหน้า และร้อยละ 24.3 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน)

รวมครึ่งแรกของปี 2567 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 5.4 ขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลลดลง ร้อยละ 0.9 การลงทุนรวม ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สามร้อยละ 6.2 โดย

- การลงทุนภาคเอกชน ลดลงร้อยละ 6.8 ตามการลดลงของการลงทุนในหมวดเครื่องมือร้อยละ 8.1 สอดคล้องกับการลดลงของการลงทุนในหมวดยานพาหนะร้อยละ 22.5 และการชะลอตัวของปริมาณการนำเข้าสินค้าทุน ส่วนการลงทุนหมวดก่อสร้างลดลง ร้อยละ 2.2 ตามการลดลงของการก่อสร้างที่อยู่อาศัย และการก่อสร้างอาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ ขณะที่ การก่อสร้างโรงงานขยายตัวต่อเนื่อง

- การลงทุนภาครัฐ ลดลงร้อยละ 4.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 27.7 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการลงทุนของรัฐบาลลดลงร้อยละ 12.8 ขณะที่การลงทุนของรัฐวิสาหกิจขยายตัว ร้อยละ 10.1 สำหรับอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 24.0 (สูงกว่าอัตรา เบิกจ่ายร้อยละ 5.7 ในไตรมาสก่อนหน้า และร้อยละ 19.0 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน)

รวมครึ่งแรกของปี 2567 การลงทุนรวมลดลงร้อยละ 5.1 โดยการลงทุนภาคเอกชนลดลงร้อยละ 0.9 และการลงทุนภาครัฐลดลง ร้อยละ 16.7

ด้านการค้าระหว่างประเทศ การส่งออกสินค้า มีมูลค่า 73,315 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 1.1 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ตาม การขยายตัวของปริมาณการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตร ขณะที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 

กลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น ข้าว (ร้อยละ 53.0) ยางพารา (ร้อยละ 37.3) คอมพิวเตอร์ (ร้อยละ147.9) อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม (ร้อยละ 58.5) ยานยนต์ (ร้อยละ 3.3) และชิ้นส่วนและอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ (ร้อยละ 22.5) เป็นต้น 

กลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกลดลง เช่น ทุเรียน (ลดลงร้อยละ 1.0) น้ำตาล (ลดลงร้อยละ 26.3) ผลิตภัณฑ์ยาง (ลดลงร้อยละ 10.5) แผงวงจรรวมและชิ้นส่วน (ลดลงร้อยละ 14.5) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์ (ลดลงร้อยละ 0.6) และชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า (ลดลงร้อยละ 12.8) เป็นต้น 

การนำเข้าสินค้ามีมูลค่า 67,777 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ชะลอลงจากร้อยละ 3.3 ในไตรมาส ก่อนหน้า โดยปริมาณการนำเข้าที่กลับมาลดลงร้อยละ 0.9 ตามการลดลงของปริมาณการนำเข้าหมวดสินค้า วัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง และสินค้าอุปโภคบริโภค ขณะที่ราคานำเข้าขยายตัวร้อยละ 2.1 ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 5.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (203.1 พันล้านบาท) เทียบกับการเกินดุล 1.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (58.6 พันล้านบาท) ในไตรมาสก่อน

455647473_803808475264399_8252261274413467537_n.jpg

ด้านการผลิต สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมกลับมาขยายตัว สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สาขาการขายส่งและการขายปลีก สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่สาขาการก่อสร้าง และสาขาเกษตรกรรม ปรับตัวลดลง

สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง ลดลงร้อยละ 1.1 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 2.7 ในไตรมาสก่อนหน้า โดย

ผลผลิตสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 1.7 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 2.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของผลผลิตสินค้าสำคัญ ๆ อาทิ ข้าวเปลือก (ลดลงร้อยละ 13.0) กลุ่มไม้ผล (ลดลงร้อยละ 8.0) มันสำปะหลัง (ลดลงร้อยละ 8.4) กุ้งขาวแวนนาไม (ลดลงร้อยละ 17.6) และยางพารา (ลดลงร้อยละ 0.6) ตามลำดับ ในขณะที่ผลผลิตสินค้าเกษตรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น อาทิ อ้อย (ร้อยละ 41.9) ปาล์มน้ ามัน (ร้อยละ 40.8) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (ร้อยละ 11.1) โคเนื้อ (ร้อยละ 4.8) และไก่เนื้อ (ร้อยละ 1.1) ตามลำดับ

ส่วนราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 เร่งขึ้นจากร้อยละ 5.5 ตามการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาสินค้าเกษตรสำคัญ ๆ เช่น ยางพารา (ร้อยละ 68.6) กลุ่มผลไม้ (ร้อยละ 22.6) ข้าวเปลือก (ร้อยละ 8.4) อ้อย (ร้อยละ 28.6) และไข่ไก่คละ (ร้อยละ 3.5) ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรสำคัญบางรายการปรับตัวลดลง เช่น สุกร (ลดลงร้อยละ 16.9) มันสำปะหลัง (ลดลงร้อยละ 21.9) และปาล์มน้ำมัน (ลดลงร้อยละ 18.4) ตามลำดับ การเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาสินค้าเกษตร

ส่งผลให้รายได้เกษตรกรโดยรวมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 8.9 รวมครึ่งแรกของปี 2567 สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมงลดลงร้อยละ 1.9

สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 0.2 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 2.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของกลุ่มการผลิตเพื่อการบริโภคภายในประเทศขยายตัวร้อยละ 2.5 ในขณะที่ กลุ่มการผลิตเพื่อการส่งออกและกลุ่มการผลิตที่มีสัดส่วนการส่งออกในช่วงร้อยละ 30-60 ลดลงร้อยละ 1.5 และร้อยละ 4.5 ตามลำดับ การผลิตสินค้าสำคัญ ๆ ที่เพิ่มขึ้น เช่น การผลิตน้ำมันปาล์ม (ร้อยละ 25.5) การผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูป (ร้อยละ 13.5) การผลิตเครื่องจักรอื่น ๆ ที่ใช้งานทั่วไป (ร้อยละ 8.7) การผลิตสตาร์ช และผลิตภัณฑ์จากสตาร์ช (ร้อยละ 30.1) และการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม (ร้อยละ 1.9) เป็นต้น ส่วนการผลิตสินค้าสำคัญ ๆ ที่ลดลง เช่น การผลิตยานยนต์ (ลดลงร้อยละ 13.4) การผลิตชิ้นส่วนและแผงวงจรฯ (ลดลงร้อยละ 18.3) การผลิตผลิตภัณฑ์คอนกรีต ปูนซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ (ลดลงร้อยละ 9.7) การผลิตจักรยานยนต์ (ลดลงร้อยละ 14.9) และการผลิตยางนอกและยางใน การหล่อดอกยางและการซ่อมสร้างยาง (ลดลงร้อยละ 7.2) เป็นต้น สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 57.79 ต่ำกว่าร้อยละ 60.43 ในไตรมาสก่อนหน้า และต่ำกว่าร้อยละ 58.56 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รวมครึ่งแรกของปี 2567 สาขาการผลิตอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 1.4

สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร ขยายตัวร้อยละ 7.8 ต่อเนื่องจากร้อยละ 11.8 ในไตรมาส ก่อนหน้า โดยในไตรมาสนี้มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยจำนวน 8.131 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 93.67 ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรค โควิด-19) ส่งผลให้มูลค่าบริการรับด้านการท่องเที่ยวในไตรมาสนี้อยู่ที่ 3.32 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 12 ร้อยละ 38.6 ส่วนการท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวชาวไทย (ไทยเที่ยวไทย) ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 10 ร้อยละ 13.0 สร้างรายรับจากนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 2.45 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 ส่งผลให้ในไตรมาสนี้มีรายรับรวมจากการท่องเที่ยว 5.77 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.5 สำหรับอัตราการเข้าพักเฉลี่ยในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 69.92 ต่ำกว่าร้อยละ 75.27 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่สูงกว่าร้อยละ 66.93 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รวมครึ่งแรกของปี 2567 สาขา ที่พักแรมและบริการด้านอาหารขยายตัวร้อยละ 9.8

สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ ขยายตัวร้อยละ 3.0 เทียบกับ การขยายตัวร้อยละ 4.3 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการชะลอตัวของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนประกอบกับการขยายตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว รวมครึ่งแรกของปี 2567 สาขาการขายส่งและการขายปลีกขยายตัวร้อยละ 3.7 สาขาก่อสร้าง ลดลงร้อยละ 5.5 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 17.3 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการก่อสร้างภาครัฐลดลงร้อยละ 7.8 เทียบกับการลดลงร้อยละ 30.1 ในไตรมาส ก่อนหน้า ตามการลดลงของการก่อสร้างของรัฐบาลเป็นสำคัญ ส่วนการก่อสร้างภาคเอกชนลดลงร้อยละ 2.2 รวมครึ่งแรกของปี 2567 สาขาการก่อสร้างลดลงร้อยละ 11.2

เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.07 สูงกว่าร้อยละ 1.01 ในไตรมาสก่อนและสูงกว่าร้อยละ 1.06 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.7 และอัตรา เงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.4 ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (93.7 พันล้านบาท) เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2567 อยู่ที่ 224.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และหนี้ สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2567 มีมูลค่าทั้งสิ้น 11.54 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 63.5 ของ GD