เพื่อติดตามการพัฒนาพื้นที่ EEC การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นที่โลจิสติกส์ และการพัฒนาเมืองให้เหมาะสมต่อการลงทุนด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี เพื่อแสดงให้เห็นว่าไทยมีความพร้อมในการลงทุน ดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในพื้นที่ อีกทั้งการศึกษาพื้นที่เตรียมเส้นทางการแข่งขัน F1 จะเป็นอีกนโยบายด้านการท่องเที่ยวที่สำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามาในไทย นายกฯเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เดินทางถึงท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ในวันนี้ (23 มิ.ย.2567) โดยมี พลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ และข้าราชการเจ้าหน้าที่ ผู้บริหาร ท่าอากาศยานนานาชาติ อู่ตะเภาร่วมต้อนรับ
โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกถือเป็นหนึ่งในโครงการโครงสร้างพื้นฐานหลักสำคัญของ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เพื่อยกระดับสนามบินอู่ตะเภาเป็น “สนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์หลัก แห่งที่ 3" โดยเชื่อมสนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิ ด้วยรถไฟความเร็วสูง ทำให้ทั้ง 3 สนามบินสามารถรองรับผู้โดยสารรวมกันได้มากถึง 200 ล้านคนต่อปี นอกจากนี้ โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาฯ จะทำให้เกิดศูนย์กลางการพัฒนาธุรกิจเป้าหมาย โดยเฉพาะการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ครอบคลุมการพัฒนาพื้นที่เมือง ประมาณ 30 ก.ม. โดยรอบสนามบิน (พัทยาถึงระยอง) เพื่อ ผลักดันให้ประเทศไทยเป็น ศูนย์กลางทางการบินและประตูเศรษฐกิจสู่เอเชีย
ปัจจุบันสนามบินอู่ตะเภาส่วนที่ใช้อยู่ ประมาณ 6500 ไร่ มีรันเวย์ที่หนึ่งและรันเวย์ที่สองอยู่ระหว่างการประกวดราคา รวมทั้งเตรียมการก่อสร้างถนนสายมอเตอร์เวย์เชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภาสำหรับความก้าวหน้า คาดว่าจะแล้วเสร็จ และจะเริ่มก่อสร้างในช่วงเดือนมกราคม 2568 และใช้เวลาอีกประมาณ 3 ปีโดยมีทางอีอีซีทำงานร่วมกับกองทัพเรือโดยมี ภาคเอกชนเป็นคู่สัญญาร่วมทุน
ด้านเลขาธิการคณะกรรมนโยบายเขคพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ได้เปิดเผยถึงสถานะความคืบหน้าของโครงการรถไฟความเร็วเชื่อมต่อสามสนามบินซึ่งเป็นโครงการเมกกะโปรเจคขนาดใหญ่ที่สำคัญในการพัฒนาประเทศหลังจากเซ็นสัญญาเมื่อปี 2562 ซึ่งควรเริ่มโครงการตั้งแต่ปี 2564 ปัจจุบันยังไม่สามารถเริ่มโครงการได้โดยติดปัญหาหลักคือ ภาคเอกชนยังไม่ได้สิทธิ์บีโอไอและยังไม่สามารถขับเคลื่อนโครงการได้และแจ้งติดปัญหาการดำเนินการในหลายหลายปัจจัยทั้งสถานการณ์โควิดสงครามรัสเซียยูเครนอีกทั้งกรณีดอกเบี้ย เงินกู้ค่าก่อสร้างที่สูงขึ้นโปรเจคจึงยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมาย
ขณะที่นายกเศรษฐา กล่าวสรุปในการหารือครั้งนี้ว่า ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมจะได้ข้อสรุปเกี่ยวกับเรื่องรถไฟเชื่อมโยงสามสนามบินสนามบินซึ่งจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานระดับเวิร์คคลาสไม่ใช่แค่การขนส่งระหว่างประเทศแต่จะเป็นเรื่องของความของการสร้างความเชื่อมั่นในการลงทุน