ไม่พบผลการค้นหา
จีนก้าวขึ้นมาผงาดในวงการอวกาศและอุตสาหกรรมการบินด้วยการเปิดตัวเทคโนโลยีและการค้นพบทางอวกาศสุดล้ำ

สำนักข่าวCGTN ของจีนได้รวบรวมเหตุการณ์และความก้าวหน้าของทางเทคโนโลยีที่สำคัญของประเทศจีนที่เกิดขึ้นในปี2560 ในปีนี้ได้ว่าจีนเปิดตัวเทคโนโลยและนวัตกรรมรวมไปถึงการค้นพบทางอวกาศออกมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้จีนกลายก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำทางด้านอวกาศและเทคโนโลยีตามหลังสหรัฐอเมริกา รัสเซียและอินเดียมาติดๆ

เทียนโจว – 1 ยานส่งเสบียงลำแรกของจีน

เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2560 จีนปล่อยยานขนส่งเสบียงขึ้นสู่ห้วงอวกาศเป็นครั้งแรก และเชื่อมต่อกับสถานีวิจัยอวกาศเทียนกง 2 สำเร็จในวันที่ 27 เมษายน นับเป็นครั้งปรกที่จีนพัฒนายานขนส่งเสบียงเป็นของตนเอง เพื่อเตรียมความพร้อมในการสร้างสถานีอวกาศของตนเองให้ได้ภายในปี 2565 เทียนโจว1นี้จะทำหน้าที่เป็นยานลำเลียงสิ่งของ อาหาร น้ำและเชื้อเพลิงให้กับสถานีวิจัยอวกาศ และสถานีอวกาศของจีนในอนาคต


000_NP3FH.jpg


COMAC C919 เครื่องบินพาณิชย์จีนลำแรก

จีนเปิดตัว COMAC C919 เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคมที่ผ่านมา ที่สนามบินนานาชาติผู่ตงเซี่ยงไฮ้ หลังจากนั้นอีก 6 เดือน C919 ได้ทำการบินระยะไกลกว่า 1,300 กิโลเมตร จากเซี่ยงไฮ้ ไป ซีอาน ซึ่งใช้ระยะเวลาบินทั้งหมด 2 ช.ม. 23 นาที เครื่องบินดังกล่าวเป็นรุ่นเดียวกับเครื่องบินแอร์บัส 320 และโบอิ้ง 737 ที่เป็นที่นิยมในสายการบินโลว์คอสทั่วโลก ปัจจุบันมีการสั่งซื้อจากสายการบินต่างๆของจีนกว่า 500 ลำ และคาดว่าสายการบิน China Eastern Airline จะนำC919 มาให้บริการได้ในปี2020 และเมื่อกลางเดือนธันวาที่ผ่านมา โมเดลของ C919 ลำที่2 ก็ถูกนำมาทดสอบระบบการขึ้นและลงและการทำงานต่างๆภายในเครื่องบินที่สนามบินผู่ตงนานาชาติ เมืองเซี่ยงไฮ้


000_V86RC.jpg


ดาวเทียมม่อจื๊อ ความสำเร็จในโครงการสื่อสารระยะไกลด้วยอนุภาคควอนตัม

นับเป็นครั้งแรกขอโลกที่สามารถส่งข้อมูลผ่านอนุภาคควอนตัวได้ไกลกว่า 1,000 กิโลเมตร โดยภายใต้โครงการทดลองควอนตัมอวกาศ (QUESS) ด้วยการใช้อนุภาคควอนตัมในการสื่อสารทางไกล

ดาวเทียมม่อจื๊อถูกถูกพัฒนาเพื่อใช้ในการทดสอบความเป็นไปได้ของการใช้เทคโนโลยีควอนตัมในการสื่อสารทางไกลและถูกปล่อยสู่วงโคจรอวกาศเมื่อเดือนสิงหาคมปี2560 เพื่อทดลองเรื่องการรับส่งข้อมูลด้วยควอนตัมผ่านดาวเทียม วิธการด้วยกล่าวเชื่อว่าจะเป็นวิธีการสื่อสารข้อมูลที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงในอนาคต


136371668_14976152106121n.jpg
ภาพจาก Xinhua

ครบรอบ1ปี ของกล้องโทรทรรศน์วิทยุ (FAST) ที่ใหญ่ที่สุดในโลกของจีน

กล้องดทรทรรศน์วิทยุแบบสะท้อนแสงที่ใหญ่ที่สุดในโลกนี้มีขนาดเทียบเท่าสนามฟุตบอล 30 สนาม มีเส้นผ่าศูนย์กลางกว่า500เมตร กล้องดังกล่าวสามารถทำให้นักวิทยาศาสตร์จับตาสิ่งผิดปกติในอวกาศได้ไกลกว่าเดิม และปัจจุบันFAST สามารถระบุPulsar ได้ถึง 9 แห่งแล้วตั้งแต่มีการเริ่มเปิดใช้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2559


000_IJ934.jpg


ดาวเทียมเป่ยโตว-3 ดาวเทียมที่ครอบคลุมระบบนำร่องทั่วโลก

เมื่อเดือนพฤศจิการยนที่ผ่านมา จีนได้ปล่อยดาวเทียมเป่ยโตว-3 ซึ่งเป็นดาวเทียมระบบนำร่องตัวใหม่ขึ้นสู่ห้วงอวกาศสำเร็จ ภายใต้โครงการระบบดาวเทียมนำร่องที่รัฐบาลจีนพัฒนามตั้งแต่ปี2000

ดาวเทียมเป่ยโตว3ด้วยนี้ ประกอบไปด้วยดาวเทียม2 ตัว คือเป่ยโตว24 และเป่ยโตว25 ซึ่งจะให้บริการครอบคลุมภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และคาดว่าระบบดาวเทียมเป่ยโตวนี้จะสามารถให้บริการครอบคลุมทั่วโลกได้ในปี2020


beidou_satellite.webp
ภาพจาก China Academy of Sciences

การค้นพบสสารมืดในอวกาศจากดาวเทียมวู้กง

นักวิทยาศาสตร์ชาวจีนเชื่อว่า พวกเขาได้ค้นพบสสารมืดโดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียมดาราศาสตร์แห่งแรกของจีน ซึ่งเป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่เรียกว่า วู้กง หรือ Dark Matter Particle Explorer (DAMPE)

ผลการค้นพบนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสาร Nature เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายนที่ผ่านมานับตั้งแต่การเปิดตัวของวู้กง ในเดือนธันวาคมปี 2015 มีการบันทึกเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องรังสีคอสมิกประมาณ 3.5 พันล้านเหตุการณ์ โดยเหตุการณ์ที่มีพลังงานสูงสุดเกินกว่า 100 TeV

*TeV คือค่าพลังงานของรังสีคอสมิก

AG600: เครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบกที่ใหญ่ที่สุดในโลก

เมื่อวันที่24 ธันวาคมที่ผ่านมา จีนเปิดตัวเครื่องบิน AG 600 ที่เครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบกที่พัฒนาขึ้นเป็นลำแรกภายในจีน และได้รับการออกแบบให้เป็นเครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบกที่ใหญ่ที่สุดในโลก AG600 มีความยาว 37 เมตรซึ่งมีขนาดประมาณโบอิ้ง 737 มีปีกกว้าง 38.8 เมตร และจะใช้เหตุเพลิงไหม้และการช่วยเหลือทางทะเล


000_VE809.jpg