ไม่พบผลการค้นหา
'ทนายอนันตชัย' ชี้สังคมไทยยกเลิก 'โทษประหารชีวิต' ไม่ได้ ตราบใดที่ยังมีความเหลื่อมล้ำ ด้าน 'ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์' ระบุการลงโทษประหารชีวิต บ่งชี้ความหมดหวังต่อกระบวนการยุติธรรม

วงเสวนา 'ทางออกโทษประหารกับปัญหากระบวนการยุติธรรม' โดยมีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย รศ.ดร.สุณีย์ กัลยะจิตร นักวิชาการด้านกฎหมาย,นายอนันตชัย ไชยเดช ทนายความ ,ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ นักวิชาการสันติศึกษา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, พ.ต.อ.วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร ร่วมกันแสดงความเห็นและเสนอทางออกต่อกรณีบทลงโทษประหารชีวิตและวิพากษ์กระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย

_MG_8985.JPG


รศ.ดร.สุณีย์ ให้ความเห็นว่า ในปัจจุบันการเกิดคดีไม่ได้บ่งบอกพฤติกรรมของผู้กระทำความผิด ซึ่งที่ผ่านมาในการทำวิจัยพบว่าโดยส่วนมากผู้กระทำความผิดมีปัจจัยสำคัญคือการมีปมด้อยตั้งแต่ในวัยเด็ก เช่น การอยากเป็นที่ยอมรับในกลุ่มเพื่อน หรือการถูกรังแกตั้งแต่เด็ก ประการหนึ่งที่เด็กคนหนึ่งทำผิดพลาดมันไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่มีอะไรที่ชี้วัดได้ว่าคนที่มีปมด้อยจะเป็นผู้กระทำผิดเสมอไป

ด้านนายอนันต์ชัย กล่าวว่า คดีที่เกี่ยวกับความรุนแรง เช่น คดีที่ตนรับผิดชอบในคดีวัยรุ่นทำร้ายคนพิการ มีหลักฐานและข้อเท็จจริงชัดเจน ซึ่งไม่สามารถอ้างทฤษฎีอะไรได้ เพราะมีคลิปยืนยันการกระทำความผิดของกลุ่มวัยรุ่นอย่างชัดเจน

_MG_9102.JPG


ขณะเดียวกัน การที่พิพากษาจำคุกตลอดชีวิตและประหารชีวิต ต้องผ่านการพิจารณาจากศาลและกระบวนต่างๆ มันไม่เรื่องง่ายที่จะตัดสินประหารชีวิตผู้กระทำความผิด ซึ่งเรื่องการประหารชีวิต ตนคิดว่าเป็นเรื่องอุดมคติในสังคมไทย เราจะเห็นว่าอาชญากรส่วนใหญ่ เป็นผู้มีรายได้น้อย

 

"ผมรับประกันว่าสังคมไทยไม่สามารถยกเลิกโทษประหารได้ ตราบใดที่สังคม ที่เราอยู่มันไม่มีความเท่าเทียม ซึ่งทางออกไม่ใช่การยกเลิกโทษประหารชีวิต แต่คือการแก้ที่ต้นตอของปัญหา ที่สำคัญคือการแก้ให้เราเสมอภาคและลดความเหลื่อมล้ำ" ทนายอนันต์ชัย กล่าว


ขณะที่ ศ.ดร.ชัยวัฒน์ ให้ความเห็นถึงการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนว่า คนที่ทำหน้าที่สื่อสารออกไปต้องตั้งคำถามว่า 

  • เราลงโทษไปทำไม
  • ทำไมโทษประหารถึงเปลี่ยน 
  • สังคมไทยต้องการอะไรต่อกรณีบทลงโทษประหารชีวิต
_MG_9083.JPG


"โทษประหารชีวิตไม่เคยหยุดนิ่ง มันมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อการทำให้สังคมไทยเป็นอารยะในสายตานานาชาติ " ศ.ดร.ชัยวัตม์


ขณะเดียวกัน ความยุติธรรมสมานฉันท์จะโฟกัสที่ความสัมพันธ์ ถ้าถามว่าต้องซ่อมแซมอะไร ก็ต้องซ่อมแซมความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำผิดกับเหยื่อ จึงจะนำไปสู่การให้อภัยและอื่นๆจะตามมาอีก อย่างไรก็ตาม หากถามว่าในสังคมไทยมีเนื้อนาบุญการให้อภัยหรือไม่ แน่นอนว่าเราอยู่ในสังคมที่อาบอยู่ด้วยรสพระธรรมพุทธศาสนา มันก็มีพลังแบบนั้นอยู่ แต่ก็ต้องตั้งคำถามว่าทำไมพลังแบบนั้น บางทีจึงถูกบดบังด้วยความโหดร้ายที่เกิดขึ้นในสังคมนี้ 


"โทษประหารชีวิตสัมพันธ์กับคำว่ารัฐประหาร รัฐประหารก็เช่นเดียวกัน เราเชื่อว่าเราหมดหวังในรัฐที่เป็นอยู่ เราเลยต้องประหารรัฐ เพราะฉะนั้นในความหมายนี้ มันเลยสะท้อนความรู้สึกหมดหวังกับสังคม" ศ.ดร.ชัยวัฒน์


ขณะที่ พ.ต.อ.วิรุตม์ กล่าวเสริมว่า ปัญหาในปัจจุบันประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากกระบวนการยุติธรรมที่ไม่เป็นธรรมจำนวนมาก มีคดีประมาณร้อยละ 40 ที่ศาลมีคำสั่งไม่ฟ้อง ทั้งนี้ ถ้าเราคิดว่าอาชญากรเป็นผู้ป่วยแบบประเทศที่เจริญแล้ว อย่างน้อยเราก็มีโทษจำคุกตลอดชีวิต ดังนั้นเรื่องของโทษประหาร สะท้อนให้เห็นว่าสังคมหมดหวังในกระบวนการยุติธรรม

_MG_9104.JPG


ข่าวที่เกี่ยวข้อง :