ไม่พบผลการค้นหา
นิด้าโพล เผยผลสำรวจประชาชน ระบุ 'ครม.-สนช.' ยุค คสช.ไม่ค่อยมีจริยธรรมในด้านสิ่งที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองควรทำ ประชาชนเสนอให้มีบทลงโทษอย่างเคร่งคัด

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น 'นิด้าโพล' สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “คุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง” จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไปทั่วประเทศ จำนวน 1,250 ตัวอย่าง

จากผลสำรวจพบว่าความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ควรมีมากที่สุด ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.24 ระบุว่าเป็นความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส รองลงมา ร้อยละ 13.04 ระบุว่า เป็นการไม่ใช้อำนาจ ตำแหน่ง หน้าที่เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ให้กับตนเองหรือพวกพ้อง เช่น การแก้ไขกฎหมายเพื่อให้ตนเองได้ประโยชน์ การใช้อำนาจหน้าที่ใน ทางมิชอบร้อยละ 12.56 ระบุว่า เป็นการเอาใจใส่ และความตั้งใจที่จะทำงานเพื่อประเทศชาติ ร้อยละ 6.80 ระบุว่า เป็นการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี เคารพกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของบ้านเมือง และอื่นๆ

ผลการสำรวจนี้แสดงให้เห็นว่าในสังคมไทยประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการใช้อำนาจ ตำแหน่งหน้าที่เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ให้กับตนเองหรือพวกพ้อง หรือยังไม่ให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ทับซ้อนเท่าที่ควร

ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในภาพรวม (ได้แก่ ครม. สนช. สปท.) พบว่า ร้อยละ 42.00 ระบุว่า ไม่ค่อยมีจริยธรรม ร้อยละ 10.48 ระบุว่า มีจริยธรรมมาก ร้อยละ 31.28 ระบุว่า มีจริยธรรมค่อนข้างมาก ร้อยละ 11.20 ระบุว่า ไม่มีจริยธรรมเลย และร้อยละ 5.04 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ แสดงให้เห็นว่าแม้ในปัจจุบันก็ยังเชื่อว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในภาพรวมไม่ค่อยมีจริยธรรม ซึ่งไม่สอดคล้องกับนโยบายของคสช.ที่ต้องการเน้นจริยธรรมและการปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่นในการบริหารราชการแผ่นดิน

เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสิ่งที่ควรทำ เพื่อให้ประเทศไทยมีแต่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ดี เก่ง มีผลงานและมีจริยธรรม พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 35.20 ระบุว่า ควรมีบทลงโทษทางวินัยอย่างเคร่งครัด รองลงมา ร้อยละ 29.52 ระบุว่าควรมีหน่วยงานตรวจสอบคุณธรรม จริยธรรม และความประพฤติของนักการเมือง ร้อยละ 21.44 ระบุว่า ควรมีระบบคัดกรองนักการเมืองน้ำดีมีคุณภาพ ร้อยละ 19.60 ระบุว่า ประชาชนต้องไม่ซื้อสิทธิขายเสียง ร้อยละ 14.80 ระบุว่า ควรแก้ไขที่ระบบการศึกษาของไทย ร้อยละ 14.00