ไม่พบผลการค้นหา
กรุงเทพโพลล์ เผยผลสำรวจพบว่าประชาชนส่วนใหญ่มองมาตรการ'ช็อปช่วยชาติ' ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในระดับ 'ปานกลาง' ขณะที่พฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการยังเหมือนช่วงปกติ

กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความคิดเห็นประชาชน กรณีในช่วงที่รัฐบาลออกมาตรการ“ช้อปช่วยจากที่รัฐบาลออกมาตรการ “ช้อปช่วยชาติ 2560” เมื่อซื้อสินค้าและบริการสามารถลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาทระหว่างวันที่ 11 พฤศจิกายน– 3 ธันวาคม 2560 2560” พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 64.5 ระบุว่าพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการเท่าเดิมเหมือนช่วงปกติ รองลงมาร้อยละ 14.7 ระบุว่าทำให้ซื้อสินค้าและบริการปริมาณมากขึ้น และร้อยละ 10.7 ระบุว่า ทำให้ตัดสินใจซื้อสินค้าชิ้นใหญ่และมีราคาสูงง่ายขึ้นเช่นเครื่องใช้ไฟฟ้า/สมาร์ทโฟน/โน้ตบุค

ส่วนเรื่องที่ต้องการให้ภาครัฐเข้ามาดูแลสำหรับห้างร้านที่เข้าร่วมโครงการ“ช้อปช่วยชาติ 2560 ”ประชาชนร้อยละ 52.9 ระบุว่าต้องการให้ดูเรื่องสินค้าไม่ให้มีราคาแพงกว่าช่วงเวลาปกติ รองลงมาร้อยละ 27.3 ระบุว่าเรื่องนำสินค้าหมดอายุ/ตกรุ่นมาขาย และร้อยละ 10.1 ระบุว่าเรื่องการจำกัดปริมาณการซื้อ

ทั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 55.0 มีความเห็นว่า มาตรการ“ช้อปช่วยชาติ 2560” ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในระดับ “ปานกลาง” รองลงมาร้อยละ 24.0 ระบุว่าช่วยได้ในระดับ “มากถึงมากที่สุด” และร้อยละ 21.0 ระบุว่า ช่วยได้ในระดับ “น้อยถึงน้อยที่สุด”

สำหรับความเห็นต่อช่วงเวลาของมาตรการ“ช้อปช่วยชาติ 2560” นั้น ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ52.6 ระบุว่าควรขยายเวลาจนถึงสิ้นปี รองลงมาร้อยละ 33.6 ระบุว่าควรจัดช่วงใกล้สิ้นปีเหมือนปีที่ผ่านมา   (1-2 สัปดาห์ก่อนสิ้นปี) และร้อยละ 13.8 ระบุว่าช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมดีแล้ว

เมื่อถามถึงนโยบายช้อปช่วยชาติว่าควรเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจส่งท้ายปีแบบใด ประชาชนร้อยละ 47.6 ระบุว่าควรจัดเป็นมาตรการแบบปีต่อปีแบบนี้ดีแล้วเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปีนั้นๆ รองลงมาร้อยละ 46.7 ระบุว่า ควรออกเป็นมาตรการระยะยาว 5 ปี/ 10 ปีเพื่อจะได้วางแผนการใช้จ่าย และร้อยละ 5.7 ระบุว่า ไม่แน่ใจ

สุดท้ายเมื่อถามว่าการออกมาตรการ“ช้อปช่วยชาติ 2560”ใครได้ประโยชน์มากที่สุดประชาชน ร้อยละ 48.3 ระบุว่า เอกชน/ห้าง/ร้าน/ที่จำหน่ายสินค้าและบริการรองลงมาร้อยละ 27.6 ระบุว่าประชาชนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี และร้อยละ 20.1 ระบุว่า รัฐบาล