ไม่พบผลการค้นหา
ก.ล.ต. เตือนระวังก่อนลงทุน 'คริปโทเคอร์เรนซี ' ช่วงนี้มีความผันผวนสูงมาก แนะลงทุนในสัดส่วนที่เหมาะสมกับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ หากไม่เคยลงทุนในหลักทรัพย์มาก่อน ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ระบุว่า หากติดตามสถานการณ์คริปโทเคอร์เรนซี จะเห็นว่า ช่วงนี้มีความผันผวนสูงมาก สำหรับคนที่สนใจลงทุน ขอแนะนำ 6 ข้อควรระวังที่ต้องรู้ไว้ก่อนเริ่มลงทุน ดังนี้

  • ศึกษาข้อมูลให้เข้าใจลักษณะความเสี่ยงและผลตอบแทนของคริปโตเคอร์เรนซี และอย่าหลงเชื่อคำโฆษณา ที่ชักชวนลงทุนโดยอ้างว่าจะได้ผลตอบแทนสูง
  • สามารถรับความผันผวนสูงได้ เพราะคริปโทเคอร์เรนซีอาจขาดปัจจัยพื้นฐานรองรับ และเป็นเพียงการเก็งกำไร
  • ยอมรับการสูญเสียของเงินลงทุนได้ โดยไม่เป็นภาระต่อตนเองและครอบครัว เพราะมีโอกาสสูญเสียเงินลงทุนทั้งก้อน
  • หากไม่เคยลงทุนในหลักทรัพย์มาก่อน ควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ
  • ลงทุนในสัดส่วนที่เหมาะสมกับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
  • หมั่นติดตามบัญชีลงทุนอยู่เสมอ


คริปโทเคอร์เรนซี คืออะไร

ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้อธิบายความหมายของ คริปโทเคอร์เรนซี (cryptocurrency) หรือ สกุลเงินดิจิทัล เช่น บิทคอยน์ (Bitcoin) ว่า เป็นสกุลเงินใหม่ที่สร้างขึ้นจากกลไกคณิตศาสตร์ที่กำหนดจำนวนไว้จำกัด ต้องใช้ระบบคอมพิวเตอร์ถอดรหัสเพื่อนำเงินออกจากกลไก สกุลเงินใหม่นี้สร้างขึ้นเพื่อลดการรวมศูนย์ของระบบการชำระเงินผ่านสถาบันการเงินให้สามารถกระจายไปยังผู้ใช้ในเครือข่ายสกุลเงินนั้นๆ ได้ โดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน (blockchain) ติดตามการเคลื่อนไหวของเงินแม้จะไม่มีตัวกลางและสามารถป้องกันการปลอมแปลงได้ด้วย การชำระ/โอนเงินจึงอยู่แค่ภายในเครือข่าย ซึ่งมีข้อดีที่รวดเร็ว ต้นทุนต่ำ และปลอดภัย

000_8YK37N.jpg


ธนาคารกลางส่วนใหญ่ยังไม่รับรอง

อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางส่วนใหญ่ยังไม่รับรองว่าบรรดาคริปโทเคอร์เรนซีที่เอกชนสร้างขึ้นมา สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย คริปโทเคอร์เรนซีจึงทำหน้าที่ของเงินได้ไม่ครบ เพราะยังไม่เป็นสื่อกลางในการชำระเงินและไม่ถูกใช้เป็นหน่วยกำหนดราคาสิ่งของแถมมูลค่ายังผันผวนมาก แต่ถ้าเป็น 'สกุลเงินดิจิทัลที่ธนาคารกลางออกใช้ (central bank digital currency: CBDC)' จะมีคุณสมบัติของเงินที่ครบถ้วนเพราะมีมูลค่าแน่นอนใช้แทนสกุลเงินท้องถิ่นได้ตามกฎหมาย


การใช้สกุลเงินดิจิทัลในไทย 

ธนาคารแห่งประเทศไทย ยังเคยระบุในบทความด้วยว่า ปัจจุบันการใช้คริปโทเคอเรนซีในไทยเพื่อธุรกรรมชำระเงินยังมีจำกัด และเริ่มมีคนไทยที่ผลิตคริปโทสัญชาติไทยได้ เช่น Zcoin ส่วนนักลงทุนไทยเริ่มรู้จักคริปโทฯ ที่เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลภายใต้ พ.ร.ก. การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 โดยมีสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) กำกับดูแลการขึ้นทะเบียนของผู้ประกอบการซื้อขายคริปโทในไทย


ข่าวที่เกี่ยวข้อง :