ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอดีตเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ที่มีบทบาทในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี 2535 กล่าวบนเวทีเสวนาเลือกตั้ง 2562 จุดเปลี่ยนประเทศไทย ว่า สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นคู่ขนานกับการเลือกตั้ง 24 มี.ค.นี้ คือการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ที่มีสิทธิเลือกนายกรัฐมนตรี
โดยกติกาออกแบบว่าคนที่จะเป็นนายกฯ สามารถมาจากคนนอกได้ ผ่านการเสนอชื่อของพรรคการเมือง ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนี้ถือว่าผู้ร่างกฎหมายได้ประสบความสำเร็จครั้งแรกหลังจากปี 2535 ในการให้อำนาจ ส.ว. ที่มาจากคสช.เลือกนายกฯ ได้ ส่วนการเป็นนายกฯ คนนอกนอก ถือเป็นของแสลงการเมืองไทย เหมือนในหน้าประวัติศาสตร์ของการชุมนุมทางการเมืองปี 2535 หรือ 'พฤษภาทมิฬง ล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์ จึงออกมาพูดว่าต้องเป็นนายกฯ ในระบบบัญชีรายชื่อ
อย่างไรก็ตาม หาก พล.อ.ประยุทธ์ ลงว่าที่นายกฯ การเมืองไทยจะแตกออกเป็นการเมืองแบบสามก๊ก ประกอบไปด้วย ก๊กที่ 1 มี ส.ว.และพรรคที่เสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ ก๊กที่ 2 พรรคเพื่อไทยและพรรคเครือข่าย ก๊กที่ 3 พรรคประชาธิปัตย์ หาก พล.อ.ประยุทธ์ ต้องการเป็นนายกฯต่อ ต้องมีรวมกันของ 2 ก๊ก ซึ่งแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้ คือพรรคที่หนุน พล.อ.ประยุทธ์ร่วมมือกับพรรคประะชาธิปัตย์ เนื่องจากไม่มีความเป็นไปได้ว่า ก๊กของพรรคเพื่อไทยจะร่วมจับมือกับก๊กหนุนประยุทธ์
สำหรับตัวแปรสำคัญคือกลุ่มคนรุ่นใหม่ 6.4 ล้านคนที่มีสิทธิเลือกตั้งครั้งนี้ อาจมีความเป็นไปได้ว่าพรรคอนาคตใหม่จะเป็นตัวแปรสำคัญในการเลือกตั้งนี้ ขณะเดียวกันต้องตั้งคำถามว่า อำนาจของรัฐบาลในปัจจุบันจะทำให้ คสช.มีส่วนได้เสียกับการเลือกตั้งครั้งนี้หรือไม่ รวมถึงยังมีมาตรา 44 คงอำนาจไว้อยู่ จึงเป็นการได้เปรียบกว่าทุกพรรคการเมือง
"อย่างไรโอกาสที่จะเกิดขึ้นในการดำรงตำแหน่งต่อพล.อ.ประยุทธ์ ถือว่ามีความยาก เพราะยิ่งจะเสื่อมเพิ่มขึ้น จึงอยากเสนอให้พล.อ.ประยุทธ์ ควรถอย ถ้าไม่ยอมถอย ก็จะนำไปสู่การเมือง 3 ขั้ว"
ผศ.ดร.ปริญา ยังได้ฟันธงว่า 'พล.อ.ประยุทธ์' ไม่สามารถยึดโมเดล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ได้ เพราะสถานะไม่เหมือนกัน เพราะ พล.อ.เปรม ไม่ได้มาจากการยึดอำนาจ รวมถึงไม่ได้เกี่ยวข้องกับการร่างรัฐธรรมนูญและกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่าเป็นการสืบทอดอำนาจ
ขณะที่ระบบเลือกครั้งนี้ที่ถือเป็นข้อดีคือระบบสัดส่วน จะทำให้ประชาชนกล้าเลือกพรรคใหม่ที่ชื่นชอบได้โดยจะมีผลจากการแบ่งสรรคะแนนนั่นเอง ส่วนท่าทีพรรคการเมือง คือ พรรคประชาธิปัตย์ที่ไม่ชัดเจน อาจนับรวมไปว่าเป็นกลุ่มเดียวกับพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งจะทำให้เป็นข้อเสียต่อพรรคเอง จึงคิดว่าควรมีท่าทีชัดเจนมากกว่านี้
เมื่อมองถึงความเชื่อมั่นของคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) ผส.ดร.ปริญญา มองในภาพรวมว่า ประชาชนรู้สึกว่ากกต. เกรงใจ คสช. ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนี้ถือว่า กกต.มีอำนาจมาก ที่ 1 ใน 7 คณะกรรมการ สามารถสั่งให้บางหน่วยเลือกตั้งหย่อนบัตรใหม่ได้
ส่วนกติกาที่ถูกร่างโดยคนเดียวกันในปี 2535 นั้น มีความต่างคือโมเดล การเมืองไทยสามก๊ก โดย พล.อ.ประยุทธ์ จะเป็นนายกฯ อีกครั้งต้องทำให้พลังประชารัฐชนะการเลือกตั้ง ซึ่งผู้ออกแบบเจตนาลดทอนอำนาจพรรคใหญ่ แต่ถูกแก้เกมโดยการแตกพรรคของพรรคเพื่อไทย แต่การแตกพรรคครั้งนี้จะฉลาดพอหรือไม่ในการส่งตัวผู้สมัครของแต่ละเขต
นอกจากนี้ ภายหลังการเลือกตั้ง หาก พล.อ.ประยุทธ์ยังคงเป็นผู้นำรัฐบาล อำนาจก็จะมีน้อยลง เมื่อคุม ส.ส.ไม่อยู่ อาจจะย้อนกลับไปสู่เหตุการณ์ทางการเมืองอีกครั้ง
"สำหรับ 5ปีแรกของการเปลี่ยนผ่าน โดย คสช.อยู่ได้นานขนาดนี้ เพราะเราแตกแยกกัน ทำให้ทหารต้องออกมาปกครอง ดังนั้นประชาชนต้องพิสูจน์ว่าปกครองตนเองได้ เพื่อไม่ให้มีข้ออ้างตามแนวคิดของทหารที่เชื่อว่าพวกเขาต้องการให้บ้านเมืองสงบ" ผศ.ดร.ปริญญาระบุ