ไม่พบผลการค้นหา
ม.หอการค้าไทย ประเมินผลกระทบเศรษฐกิจจากมาตรการยกระดับ 28 จังหวัดให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด ทำเม็ดเงินสูญจากระบบเศรษฐกิจกว่า 1 แสนล้านบาทต่อเดือน ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงในรอบ 3 เดือน

ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยกล่าว มาตรการยกระดับ 28 จังหวัดให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่รัฐบาลออกมา ทำให้มีการปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจไปบางส่วน ประเมินว่าจะทำให้เม็ดเงินหายระบบเศรษฐกิจในกลุ่มนี้สูงถึง 3,059 ต่อวัน หรือคิดเป็นกว่า 1 แสนล้านบาทต่อเดือน ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ช้าลง 

โดยในส่วนของการการดูแลประชาชนที่ได้รับผลกระทบ เสนอให้รัฐบาลเพิ่มการดูแลกำลังซื้อผ่านมาตรการคนละครึ่งด้วยการเพิ่มผู้รับสิทธิเพิ่มอีก 5 ล้านคน เป็น 20 ล้านคน และเพิ่มวงเงิน 5,000 บาทต่อคน เพื่อให้มีเงินเพิ่มเข้ามาในระบบ 25,000 ล้านบาท และพร้อมอัดฉีดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจ ในช่วงการระบาดรอบใหม่ ไม่ต่ำกว่า 2 แสนล้านบาท

ความเชื่อมั่นผู้บริโภค.jpeg

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นประจำเดือน ธ.ค. 2563 พบว่า อยู่ที่ระดับ 50.1 ปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 3 เดือน โดยสาเหตุสำคัญเป็นผลจากการระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม โอกาสในการหางานทำ และดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต ปรับตัวลดลงทุกรายการ ซึ่งจะเป็นปัจจัยฉุดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ