ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง แกนนำพรรคเพื่อไทย แสดงความเห็นต่อกรณีบริษัท ฟิลิป มอร์ริส (ไทยแลนด์) ลิมิเต็ด จำกัด นำเข้าบุหรี่หลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรและสำแดงเท็จ โดยระบุผ่านเฟซบุ๊กเนื้อหาใจความดังนี้
บัดนี้ศาลชั้นต้นได้ตัดสินปรับบริษัท ฟิลลิปมอร์ริส เป็นจำนวนเงิน 1,200 ล้านบาท จากฐานเดิม 25,000 ล้านบาท แต่เนื่องจากรัฐบาลชุดนี้ได้ใช้มาตรการช่วยเหลือบริษัท ฟิลลิปมอร์ริส โดยนำร่างพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ไปแก้ไขในคณะสมาชิกนิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ทั้งๆที่รู้ว่าเมื่อแก้ไขกฎหมายแล้วภาษีจะถูกลด บริษัท ฟิลลิปมอร์ริสจะได้ประโยชน์
ซึ่งผมมีข้อเท็จจริงโดยย่อที่จะกราบเรียนท่านดังต่อไปนี้
กรณี บริษัท ฟิลิป มอร์ริส (ไทยแลนด์) ลิมิเต็ด จำกัด
บริษัทดังกล่าวนี้ นำเข้าบุหรี่แล้วสำแดงเท็จ เพราะบุหรี่ที่นำเข้ามีราคาแพง แต่สำแดงราคาถูก
เจ้าหน้าที่ศุลกากรจึงมีการร้องทุกข์ดำเนินคดีกับบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส และได้มีการแต่งตั้งเป็นคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ โดยมีพนักงานอัยการ สำนักงานคดีพิเศษเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการสอบสวนด้วย ในชั้นต้นคณะกรรมการดีเอสไอและตัวแทนจากสำนักงานอัยการสูงสุด มีความเห็นควรสั่งฟ้องบริษัท ฟิลิป มอร์ริส ในความผิดฐานหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงค่าภาษีอาการ โดยสำแดงเท็จ ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27
พนักงานสอบสวนคดีพิเศษส่งเรื่องไปที่สำนักงานอัยการคดีพิเศษ ซึ่งมีอธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษในฐานะตัวแทนจากสำนักงานอัยการ เข้าร่วมพิจารณาในคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ซึ่งเคยมีความเห็นควรสั่งฟ้องในคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษก่อนแล้ว แต่กลับมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส เรื่องจึงไปที่คณะกรรมการสอบสวนคดีพิเศษเพื่อมีความเห็นแย้งตามกฏหมายอีกครั้งหนึ่ง แต่คณะกรรมการสอบสวนคดีพิเศษก็มีมติยืนยันตามความเห็นเดิมคือสั่งฟ้องบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส ในข้อหาฐานความผิดเดิม และส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดชี้ขาด
ต่อมา ร้อยตำรวจเอกเฉลิม ได้เป็นผู้อภิปรายเรื่องนี้ในสภาฯ เป็นที่สนใจของนักธุรกิจและประชาชนโดยทั่วไป เนื่องจากเป็นกรณีที่ไทยได้รับความเสียหายอย่างมาก จึงมีการติดตามในเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด โดยอภิปรายเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2554 ในขณะคดีอยู่ในระหว่างการชี้ขาดของอัยการสูงสุดและอัยการสูงสุดได้มีคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส โดยให้ยื่นฟ้องต่อศาลอาญา เป็น 2 คดี
คดีแรก รวมราคาบุหรี่และค่าอากร 20,210,209,582.50 บาท
คดีที่สอง รวมราคาบุหรี่และค่าอากร 4,953,456,655.93 บาท
ต่อมามีการยึดอำนาจโดย คสช. ได้มีการเคลื่อนไหวจากฝ่ายรัฐบาลในขณะนั้นเพื่อแทรกแซงการดำเนินคดีของพนักงานอัยการ โดยมีนายวิษณุ เครืองามเป็นผู้ดำเนินการ
เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2558 ที่ทำเนียบรัฐบาลนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้เรียกเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าไปปรึกษาหารือ โดยมีแนวโน้มจะทำอย่างไรก็ได้ เพื่อให้บรรเทาความเสียหายให้กับบริษัท ฟิลิป มอร์ริส แต่สุดท้ายการประชุมวันนั้นก็ยุติลง เพราะมีเจ้าหน้าที่ไม่เห็นด้วยหลายคน
การกระทำในลักษณะเช่นนี้ยืนยันได้ว่า รัฐบาลแทรกแซงการทำงานของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะพนักงานอัยการซึ่งน่าจะเป็นความผิดต่อกฏหมาย ต่อมามีการปล่อยข่าวเป็นระยะๆ จากนายวิษณุ ว่า หากมีการดำเนินคดีกับบริษัท ฟิลลิป มอริส ต่อไปอาจจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับ WTO อาจเป็นเหตุให้ประเทศไทยถูกฟ้องร้องได้
แต่สุดท้ายพนักงานอัยการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องก็ไม่ยินยอม เพราะยึดกฎหมายไทยเป็นหลัก เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องการกีดกันทางการค้า เป็นเพียงกรณีบริษัท ฟิลลิป มอริส นำเข้าบุหรี่มาในประเทศไทยโดยการสำแดงเท็จ อันเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 27
พนักงานอัยการจึงได้ยื่นฟ้องบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส ต่อศาลอาญา เป็น 2 คดี
1.คดีหมายเลขดำที่ อ.185/2559 เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2559 รวมราคาบุหรี่และค่าอากร 20,210,209,582.50 บาท
2.คดีหมายเลขดำที่ อ.232/2560 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2560 รวมราคาบุหรี่และค่าอากร 4,953,456,655.93 บาท
รวมเป็นค่าบุหรี่และค่าอากรทั้งสิ้น 25,163,666,311.43 บาท ซึ่งเงินจำนวนนี้จะนำมาเป็นฐานคูณด้วย 4 ตาม พรบ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ซึ่งจะเป็นเงินค่าภาษี ค่าอากร ค่าปรับ รวมจำนวน 100,654,665,245.72 บาท
ในขณะที่คดีกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลนั้น นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือหารือถึงพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส โดยผ่านนายวิษณุ
ครั้งที่ 1. เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2561 โดยระบุข้อพิจารณาว่า ข้อพิพาทระหว่างข้อพิพาทระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์ที่เกี่ยวกับ WTO เกิดจากการที่กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้อง อาทิ มาตรา 27 ของพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ที่ใช้ถ้อยคำเปิดช่องให้ผู้บังคับใช้กฎหมายสามารถตีความไปในทางที่ไม่สอดของกับการประเมินราคาศุลกากรไทย อาจจำเป็นต้องพิจารณาทบทวนและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การเปิดประเมินราคาศุลกากรของไทยสอดคล้องกับพันธกรณีภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ
ครั้งที่ 2. เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2562 โดยระบุข้อพิจารณาว่า ขอให้อัยการสูงสุดพิจารณาทำให้คำสั่งไม่ฟ้องกลับมามีผลใหม่ยุตติการฟ้องคดีอาญากับบริษัท ฟิลลิป มอร์ริสทบทวนการตีความและการบังคับใช้กฎหมายหากบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส แพ้คดีอาญาในไทยซึ่งในคดีใบขนสินค้าบุหรี่นำเข้าจากฟิลิปปินส์มูลค่าประมาณ 84,000 ล้านบาท ตามคำฟ้องของพนักงานอัยการ แต่ตามพระราชบัญญัติ ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 ฉบับใหม่ อัตราโทษปรับจะลดลงเหลือประมาณ 290-2,320 ล้านบาท
แต่อย่างไรก็ตามกระบวนการวิ่งเต้นช่วยเหลือบริษัท ฟิลลิป มอร์ริสซึ่งพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องต่อศาลอาญาตามความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 27 ซึ่งอัตราโทษสูงปรับถึงสี่เท่าของราคาสินค้ารวมภาษี หลังจากนั้นมีที่ไทยการช่วยเหลือกันโดยนำเอา พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2496 มาตรา 27 เข้าที่ประชุม สนช.เพื่อแก้ไขให้บริษัท ฟิลลิป มอร์ริส เสียภาษีตามที่ศาลอาญามีคำพิพากษาแทนที่จะเรียกเก็บภาษีได้ หลายหมื่น ล้านแต่กลับเรียกเก็บได้เพียง 1,200 ล้าน ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวนี้ จำนวนเงินตรงตามเป้าหมายการช่วยเหลือบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส ตามที่นายดอน ปรมัตถ์วินัยมีหนังสือแจ้งให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีทราบดังกล่าวมาแล้ว
เป็นที่เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่า การแก้ไขกฎหมายดังกล่าวนี้ เป็นไปโดยประสงค์ต่อผลและเล็งเห็นผล เพื่อช่วยเหลือบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส เพราะเหตุการณ์ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ปรากฏว่ารัฐบาลวิ่งเต้นเพื่อช่วยเหลือจนกระทั่งมีการผลักดันการแก้กฎหมายให้ สนช แก้ไขเป็นประโยชน์กับบริษัท ฟิลิป มอร์ริส ได้สำเร็จ โดยไม่ได้คำนึงประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ ส่วนประเทศชาติจะได้รับความเสียหายถึง 9 หมื่นกว่าล้านไม่ให้ความสำคัญเลย
นอกจากนี้แล้ว ผลของการแก้ไขกฎหมายให้เป็นประโยชน์แก่คนโกงภาษีชาติดังกล่าวนี้แล้ว ในอนาคตประเทศไทยยังต้องเสียหายต่อไปอีกอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากสูญเสียรายได้จากคนโกงภาษีที่เดิมต้องเสียค่าปรับจาก 4 เท่า จากค่าสินค้ารวมค่าอากร แต่เมื่อแก้กฎหมายแล้วได้เพียงค่าปรับจากค่าอากรที่ค้างเท่านั้น การแก้กฎหมายเช่นนี้ ประเทศชาติไม่ได้รับผลประโยชน์แต่อย่างใด การเสียค่าปรับน้อยลงจากการแก้กฎหมายให้เสียค่าปรับน้อยลง มีแต่จะทำให้มีผู้สำแดงเท็จมากขึ้น ในอนาคตต่อเนื่องจากนี้มีแต่ทำให้ประเทศไทยได้รับความเสียหายในกรณีที่มีการสำแดงเท็จอย่างประมาณค่ามิได้ ซึ่งการกระทำของรัฐบาลนี้เป็นการกระทำที่เรียกได้ว่าขายชาติ เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นโกงชาติ
การกระทำของนายดอน ซึ่งเป็นถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กลับมีความพยายามช่วยเหลือคนต่างชาติโกงภาษีของชาติบ้านเมือง โกหกเรื่อง บริษัท ฟิลลิป มอร์ริส นำเข้าบุหรี่โดยสำแดงภาษีเท็จว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับ WTO ซึ่งจากคำพิพากษาของศาลจะเห็นได้ว่าเป็นเรื่องที่ไทยถูกต่างชาติโกงภาษี ศาลจึงมีคำพิพากษาปรับบริษัท ฟิลลิป มอริส
เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะร้อยตำรวจเอก ดร.เฉลิม อภิปรายเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2554 ต่อมาเมื่อนายวิษณุ ได้เป็นรองนายกรัฐมนตรี อ้างว่าบริษัทร้องขอความเป็นธรรมต่อพลเอก ประยุทธ์ นายวิษณุ จึงเรียนหน่วยงานมาประชุมทั้งหมด 18 หน่วยงาน เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2558 ซึ่งขณะนั้นคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาล นายวิษณุฯไม่มีอำนาจที่จะเรียกหน่วยงานเข้ามาประชุมเพื่อให้ความเป็นธรรมหรือช่วยเหลือใดๆ ก็ทำไม่ได้ถือว่าเป็นการแทรกแซง
นอกจากนี้ ยังมีนายดอน ทำหนังสือของความเป็นธรรมถึงนายกรัฐมนตรีโดยผ่านนายวิษณุ ถึงสองครั้ง
ครั้งที่ 1 วันที่ 23 กรกฎาคม 2561
ครั้งที่ 2 วันที่ 7 มีนาคม 2562
ซึ่งการกระทำเช่นนี้ไม่ใช่หน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแล้วอ้างเรื่อง WTO และรัฐบาลประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งความเป็นจริงแล้วบริษัท ฟิลลิปมอร์ริส เป็นของประเทศอเมริกา แต่มีฐานการผลิตอยู่ที่ประเทศฟิลิปปินส์ และคดีนี้นายวิษณุพร่ำพูดตลอดว่าจะเป็นการขัดแย้งต่อ WTO ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่เรื่องการกีดกั้นการค้าเป็นเรื่องของบริษัท ฟิลลิปมอร์ริส นำสินค้าราคาแพงเข้ามาแล้วสำแดงเท็จว่าเป็นของถูกเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี
สุดท้ายจะเห็นว่ารัฐบาลพยายามช่วยเหลือ และใช้ สนช.เป็นเครื่องมือ ซึ่งความเป็นจริงย่อมรู้แล้วว่าอัยการดำเนินคดีกับบริษัท ฟิลลิปมอร์ริส ถ้าแก้กฎหมายสำเร็จจะทำให้บริษัทเสียภาษีน้อยลงอย่างเทียบเคียงไม่ได้เรื่องนี้อาจจะต้องมีการร้องทุกข์ดำเนินคดี เพราะถือว่าประสงค์ต่อผลและเล็งเห็นผลที่จะก่อให้เกิดประโยชน์กับบริษัท ฟิลลิปมอร์ริส แล้ววันนี้ก็ต้องใช้ตามกฎหมายใหม่ไม่ว่าจะเป็นบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส จากประเทศอินโดนีเซีย ก็จะได้สิทธิ์เช่นเดียวกัน
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :