ไม่พบผลการค้นหา
สภาฯ รับหลักการ ร่าง พ.ร.บ กัญชา กัญชง ด้วยมติ 370 เสียงท่วมท้น ในวาระที่1 ด้าน ‘อนุทิน’ ย้ำใช้กัญชาทางการแพทย์เท่านั้น

วันที่ 8 มิ.ย. 2565 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้มีการลงมติขั้นรับหลักการ ในวาระที่ 1 ของร่าง พ.ร.บ.กัญชา กัญชง พ.ศ… ซึ่งเสนอโดย อนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทยและคณะเป็นผู้เสนอ ทั้งนี้มีสาระสำคัญ เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์กัญชา กัญชง ในทางอุตสาหกรรมและทางการแพทย์

โดยที่ประชุมมีมติรับหลักการร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวด้วยคะแนนเสียง ด้วย 370 เสียง ไม่เห็นด้วย 7 เสียง งดออกเสียง 23 เสียง จากนั้นที่ประชุมมีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ (กมธ.) จำนวน 25 คน เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวในวาระ 2 ต่อไป

สภา พรบ กัญชา -D759-430B-B8C0-62970CA45AAF.jpegศุภชัย ประชุมสภา -3F51-4CC9-93BC-6CE4A61AEA5B.jpeg

ทั้งนี้ก่อนการลงมติ ที่ประชุมสภาฯ เปิดให้ ส.ส.ได้อภิปรายอย่างกว้างขวาง โดย ศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย ได้ชี้แจงถึงร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว เห็นว่า พืชประเภทกัญชา กัญชง สามารถนำไปใช้ทางการแพทย์และการวิจัยรวมถึงการดูแลสุขภาพอื่นๆ ได้ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดบางประการ จึงเห็นควรในการพัฒนาและต่อยอดและเห็นควรว่าหากประชาชนจะสามารถใช้ประโยชน์ในด้านสุขภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งการพัฒนาความรู้การแพทย์แผนไทยและปัจจุบัน จึงควรให้สนับสนุนกัญชา กัญชง ได้รับการปลดล็อก เพื่อให้เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงการมีมาตรการควบคุมไม่ให้ใช้บริโภคอย่างไม่เหมาะสม โดยการควบคุมการขาย การโฆษณา

ศุภชัย กล่าวต่อว่า ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ประกอบไปด้วย 11 หมวด 45 มาตรา นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดทางกฎหมาย ด้วยการให้คณะกรรมการด้านกัญชา มีหน้าที่และอำนาจในการกำหนดนโยบายและมาตรการส่งเสริมการวิจัยพัฒนาเพื่อใช้ในทางการแพทย์และอุตสาหกรรมรวมถึงการให้ความเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆต่อรัฐมนตรีหรือผู้ที่อนุญาตปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ ซึ่งการส่งออกและขายต้องได้รับการอนุญาตอย่างชัดเจน 

สำหรับการรับจดแจ้งจากการใช้ประโยชน์จากการชาในครัวเรือนซึ่งประชาชนสามารถใช้ปลูกในครัวเรือนได้เพียงแค่จดแจ้งกับ อบต.โดยไม่มีการเสียค่าธรรมเนียม เพราะไม่ได้ดำเนินการปลูกในลักษณะของภาคการเกษตรหรืออุตสาหกรรม 

ศุภชัย ตอบข้อที่คนสงสัย เช่น การเก็บค่าธรรมเนียมไม่เกิน 50,000 บาทนั้น ได้มีการกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขสามารถกำหนดค่าธรรมเนียมเพื่อขออนุญาตปลูกโดยห้ามมีให้รัฐมนตรีเก็บอัตราเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะเป็นการใช้ดุลพินิจดูลักษณะของความเหมาะสมที่อาจจะเก็บค่าธรรมเนียมจากภาคอุตสาหกรรมเพียงหลักร้อยเท่านั้น สำหรับประเด็นการพักใช้ใบอนุญาตได้มีการกำหนดสำหรับผู้ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย สามารถให้ผู้อนุญาตกล่าวตักเตือนรวมถึงการเพิกถอนใบอนุญาตตามแล้วแต่สมควรได้ 

พรรณสิริ -C2B7-445B-8FF4-FDE14012063C.jpeg

ด้าน พรรณศิริ กุลนาถศิริ ส.ส.สุโขทัย พรรคพลังประชารัฐ อภิปรายถึงร่างกฎหมายดังกล่าว มองว่ากัญชามีสรรพคุณทางยารวมถึงการส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งส่วนตัวสนับสนุนในเรื่องของการสร้างงานสร้างรายได้เพื่อเป็นการกระตุ้นภาคเศรษฐกิจ 

สำหรับเรื่องของการกำหนดคณะกรรมการนโยบายกัญชากัญชงแห่งชาติ ทำหน้าที่กำหนดนโยบายยุทธศาสตร์รวมถึงแผนงานเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนในการใช้ประโยชน์ทางด้านการแพทย์ ด้านการวิจัย การเกษตรกรรม และยังสามารถนำเป็นพืชทดแทนเพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้ รวมถึงการแปรรูปการผลิตที่ได้มีภาคอุตสาหกรรมดำเนินการวิจัยและให้การสนับสนุนในส่วนนี้แล้ว และเชื่อว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้จะไม่มีการทำให้เกิดการผูกขาดกับนายทุนรายใหญ่ในเชิงพาณิชย์

เท่าพิภพ -0DF5-4689-A568-FBB37F6F8100.jpeg

‘เท่าพิภพ' เสนอร่างกัญชาฯ 'ก้าวไกล' เพิ่มส่วนร่วมประชาชน

เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร ส.ส.กทม. พรรคก้าวไกล อภิปรายว่า ไม่ควรกำหนดให้ตั้งคณะกรรมการนโยบายกัญชา กัญชงแห่งชาติ จะดีกว่า เนื่องจากอาจจะขัดกับหลักการแบ่งแยกอำนาจ คณะกรรมการนี้จะเปรียบเหมือนกลุ่มคนที่ตั้งกฏมาให้ตัวเอง

สำหรับข้อเสนอในร่าง พ.ร.บ.กัญชาฉบับประชาชน ของพรรคก้าวไกล มุ่งกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นดูแลการเก็บภาษีและจ่ายค่าธรรมเนียม โดยจากในร่าง พ.ร.บ.ฉบับพรรคภูมิใจไทยนั้น กำหนดให้เก็บค่าธรรมเนียมจากประชาชนผู้ปลูกกัญชาไม่เกิน 50,000 บาท ขณะที่ร่างฉบับพรรคก้าวไกล เสนอให้เก็บค่าธรรมเนียมไม่เกิน 5,000 บาท

เท่าพิภพ ยังตั้งข้อสังเกตถึงอำนาจของเจ้าหน้าที่ ซึ่งเข้าไปบุกค้นตรวจสอบกัญชาในเคหสถาน มองว่าอาจเป็นอำนาจที่มากเกินไป เพราะสามารถเข้าตรวจสอบได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น หรือแจ้งล่วงหน้า

สุทิน ประชุมสภา -5283-49FE-987D-984FCF2883DE.jpeg

’เพื่อไทย' ติงร่างเอื้อทุนใหญ่

สุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย แสดงความกังวลใน 3 ประเด็น คือ 1) ไม่ว่าอย่างไรการเสพกัญชาก็จะส่งผลให้เกิดการเสพติด แต่หากเอาไปใช้เฉพาะทางการแพทย์จะเป็นประโยชน์แน่ ดังนั้นควรขีดเส้นแบ่งอย่างไร ว่าจะส่งเสริมสิ่งที่เป็นคุณ และต่อต้านสิ่งที่เป็นโทษอย่างเต็มที่ เนื้อหาในร่าง พ.ร.บ.ยังมีความอ่อนมากเมื่อเทียบกับต่างประเทศ คือ อุรุกวัย และ แคนาดา ซึ่งมีความรัดกุม ตรงกันข้ามกับร่าง พ.ร.บ.ของไทย ที่มีความกำกวม หมิ่นเหม่จะเปิดช่องให้หาประโยชน์ทางธุรกิจของกลุ่มทุนใหญ่

แม้จะกำหนดว่าห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปีไปซื้อขายกัญชา แต่หากระบบสังคมยังไม่แข็งแรง เช่นเดียวกับความเข้มข้นของระบบตำรวจ หากสังคมยังประสบปัญหาจากยาบ้าแล้วหากเป็นซ้ำเติมด้วยกัญชามาตรการทางกฎหมาย ก็ยังควบคุมไม่ได้เต็มที่

2) ข้อผูกพันในสนธิสัญญาระหว่างประเทศของสหประชาชาติ (UN) ซึ่งมีการลงนามกันแล้ว 187 ประเทศ รวมถึงไทย ระบุว่ากัญชาถือเป็น 1 ใน 3 ยาเสพติดประเภทรุนแรง แต่ร่างกฏหมายยังมีความหละหลวมและเสี่ยงขัดสนธิสัญญา ซึ่งทำให้ตนไม่สบายใจที่จะลงมติ

และ 3) สำหรับเงื่อนไขของการขออนุญาตปลูกในเชิงพาณิชย์ ดูเหมือนว่าจะเอาประชาชนบังหน้าเป็นข้ออ้าง แต่ผู้ที่ได้ประโยชน์จริงคือนายทุน เพราะมีทุนต่ำกว่า 20 ล้านไม่สามารถปลูกเชิงพาณิชย์ได้

จิรายุ -B35B-483A-801D-36BFC8E4ECEA.jpeg

ด้าน จิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส. กทม. พรรคเพื่อไทย มองว่ากฎหมายนี้ยังมีความหละหลวม ไม่ชัดเจน อาจก่อให้เกิดความสับสนในการควบคุมและตรวจตรา เพราะมองแต่ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจแต่เพียงมิติเดียว หากกฏหมายนี้ผ่านไป เยาวชนจะเข้าถึงกัญชาได้ง่ายโดยขาดการควบคุม และอาจส่งผลต่อสุขภาพ ทำให้คนติดกัญชากันอย่างงอมแงมโดยทั่วไปหรือไม่

จุลพันธ์ ประชุมสภา -FFF0-4586-93F7-52FBAD23E9B0.jpeg

ขณะที่ จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า ร่าง พ.ร.บ.นี้ และ พ.รบ.เกี่ยวเนื่องกับสารเสพติดต่างๆ ในปีนี้พิจารณากันมาแล้วไม่ต่ำกว่า 4 ฉบับ ซึ่งเข้าใจได้ว่ามีประเด็นการเมืองเป็นธงนำที่จะต้องดำเนินตามนโยบายที่หาเสียงไว้ให้สำเร็จ แต่กลับทำให้กระบวนการเตรียมกฎหมายขาดความรอบคอบ เนื้อหามีช่องโหว่ เกิดสุญญากาศเรื่องการประกาศใช้ เนื่องจาก พ.ร.บ.ฉบับเก่ามีผลบังคับใช้ให้เสรีแล้ว แต่กฎหมายรองรับควบคุมกำกับยังไม่เสร็จ จึงต้องเร่งรีบกันบรรจุเข้ามาในครั้งนี้ 

จุลพันธ์ ยังชี้ว่า ต่อไปควรป้องกันเยาวชนอย่างไรจากสารเสพติดเหล่านี้อย่างไร ที่ยังคงมีความเสี่ยงด้านสุขภาพ เช่นเดียวกับการโฆษณาที่ค่อนข้างเสรีโดยขาดการควบคุม ท้ายที่สุดผลประโยชน์จะตกอยู่ที่ผู้ค้ารายใหญ่ และอีกประการคือ ขณะนี้กำลังใช้เรื่องทางพาณิชย์เป็นตัวนำ แต่ไม่ได้คำนึงถึงมิติทางสังคม เช่นการนำทุนทรัพย์มาสร้างประโยชน์คืนสู่สังคมและประชาชนในอนาคต หวังว่าจะได้เห็นการพัฒนาในชั้นกรรมาธิการ

'ปชป.' เตือนร่างกัญชาฯ ต้องคำนึงถึงคนจน

กนก วงษ์ตระหง่าน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งข้อสังเกตต่อคณะกรรมการนโยบายกัญชากัญชงแห่งชาติ และคณะกรรมการกัญชากัญชงในระดับปฏิบัติการ ในสัดส่วนของคณะกรรมการฯ ทั้ง 2 ชุด ควรประกอบด้วยผู้แทนเกษตรกรหรือผู้แทนวิสาหกิจชุมชนที่เป็นผู้รู้จริง อย่างน้อย 1 คน เพื่อเป็นปากเสียงและรักษาสิทธิของพี่น้องคนยากจนที่เป็นเกษตรกร

เจตนารมณ์หลักของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ คือมุ่งเน้นผลประโยชน์ด้านการแพทย์และอุตสาหกรรม แต่ไม่มีส่วนของสันทนาการหรือการใช้ในครัวเรือน ความไม่ชัดเจนนี้จะเป็นปัญหาในชั้นกรรมาธิการ เพราะจะมีผู้แจ้งว่าไม่อยู่ในหลักการ พิจารณาไม่ได้ จึงควรเพิ่มหลักการนี้ให้ชัด เพื่อไม่ให้ประโยชน์ตกอยู่กับนายทุนใหญ่ทางด้านการแพทย์และอุตสาหกรรม แต่ประชาชนหรือเกษตรกรล้วนเสียประโยชน์

สารออกฤทธิ์ในกัญชาแต่ละประเภทมีความแตกต่าง จึงควรแยกกัญชากัญชงออกเป็น 2 ร่าง ร่างแรกคือ ประเภทที่ปลูกเพื่อสกัดสารออกฤทธิ์สูงสุด เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และอีกร่างหนึ่งคือ ปลูกเพื่อใช้โดยไม่ได้นำไปสกัดสารออกฤทธิ์ ซึ่งใน พ.ร.บ.นี้ไม่ได้มีระบุไว้ จึงควรแก้ไข เพื่อแบ่งแยกมาตรการควบคุมให้สมดุล และสร้างประโยชน์ต่อเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน

อนุทิน พรบ กัญชา ภูมิใจไทย ประชุมสภา -1C8E-4DB8-9638-332FF663FAAA.jpeg

'อนุทิน' ย้ำกัญชาเสรีทางการแพทย์เท่านั้น

เมื่อเสร็จสิ้นการอภิปราย อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ผู้เสนอร่าง อภิปรายสรุปสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.กัญชา กัญชง ว่า หลายเรื่องที่ได้มีการอภิปรายในวันนี้เป็นประโยชน์ต่อตนในฐานะที่เป็นทั้งรัฐมนตรี และเจ้าของร่างกัญชา ยืนยันว่าจะนำแนวคิดกัญชาเสรีทางการแพทย์ เพื่อนำไปสื่อสารในกระทรวงสาธารณสุข ปรับปรุงกฎเกณฑ์ รูปแบบ เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากที่สุด 

อนุทิน ระบุว่า หลังได้ฟังความห่วงใยจากหลายฝ่ายโดยเฉพาะการสูบ การเสพในพื้นที่สาธารณะ หรือการบริโภคกัญชาเกินขนาด ตนขอยืนยันว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขและรัฐบาล และไม่ได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการปลดล็อกกัญชา กัญชง ยืนยันหลักการของกฎหมายนี้ต่อสภาฯว่าคือการใช้กัญชาทางการแพทย์และสุขภาพเท่านั้น