ไม่พบผลการค้นหา
การเลือกตั้งในวันที่ 24 มี.ค. 2562 ถือเป็นการเลือกตั้ง ส.ส.เป็นการทั่วไปครั้งที่ 24 ในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งของไทย ขณะเดียวกันยังมีตัวเลขที่น่าสนใจที่จะเกิดขึ้นในการเลือกตั้งครั้งนี้และเลือกต้ังครั้งที่ผ่านมา

ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 จะเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ ต่อไปนี้คือตัวเลขสถิติการเลือกตั้ง ส.ส.ที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2554 รวมทั้งตัวเลขที่น่าสนใจ

เดินหน้าเลือกตั้ง ปี 2562 ถือเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกในรอบ 7 ปีกว่า นับจากปี 2554

แต่ถ้านับจากปี 2557 ซึ่งเคยจัดการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2557 แต่ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้เป็นโมฆะ จะถือว่าการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี

สำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้จะใช้บัตรเลือกตั้ง 1 ใบ ต่างจากการเลือกตั้งครั้งก่อนที่ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ

บัตรเลือกตั้ง 1 ใบกาครั้งเดียวจะได้ ส.ส.แบบแบ่งเขต ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ และพรรคการเมืองที่ได้ ส.ส.ไม่น้อยกว่า 25 คน สามารถเสนอชื่อบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรีได้

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีในวันเลือกตั้ง 24 มี.ค. 2562



เสวนา the matter เลือกตั้ง
  • สำหรับปฏิทินเลือกตั้งปี 2562 

23 ม.ค. 2562 พ.ร.ฎ.ให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. บังคับใช้

24 ม.ค. 2562 กกต.ประกาศวันเลือกตั้ง 24 มี.ค. ลงราชกิจจานุเบกษา

28 ม.ค. - 19 ก.พ. 2562 ลงทะเบียนขอใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง นอกเขตเลือกตั้ง นอกราชอาณาจักร

4 - 8 ก.พ. 2562 รับสมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง  พรรคการเมืองส่งผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พร้อมแจ้งรายชื่อบุคคลที่จะเสนอให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบเป็นนายกรัฐมนตรี

4 - 16 มี.ค. 2562 วันออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร

17 มี.ค. 2562 วันออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้ง ณ สถานที่กลางในเขต นอกเขตเลือกตั้ง และที่เลือกตั้งกลางสำหรับผู้สูงอายุ ทุพพลภาพหรือคนพิการ

24 มี.ค. 2562 เลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไป

9 พ.ค. 2562 วันสุดท้ายเลือกตั้งใน 150 วันและยังเป็นกรอบเวลา 45 วันของประกาศผลเลือกตั้ง (กรณีประกาศผลเลือกตั้งในกรอบเวลา 150 ว���น)

22 พ.ค. 2562 ประกาศผลเลือกตั้ง ส.ส.วันสุดท้าย (กรอบ 60 วัน)

สำหรับยอดผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้ง มีจำนวน 5,616,261 คน (ปี 2555-2560) ซึ่งเป็นตัวเลขที่ยึดจากจำนวนประชากร ณ ปี 2560 ขณะที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 52,457,576 คน (ประชากร ปี 2560)

ถ้านับเฉพาะอายุของรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่มาเข้ามาควบคุมอำนาจการปกครองประเทศเป็นเวลา 4 ปี ตั้งแต่ 2557 -2560 จะมีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เป็นคนรุ่นใหม่ ในช่วง 4 ปีที่ยังไม่เคยเลือกตั้ง ส.ส. จำนวน 3,688,118 คน

ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้า คสช. เคยผ่านการมีสิทธิเลือกตั้งมาแล้ว 14 ครั้ง (นับตั้งแต่ปี 2518 - 2554) ส่วนการเลือกตั้งปี 62 จะเป็นครั้งที่ 15 ของนายกรัฐมนตรีคนที่ 29


เลือกตั้ง 3 02322276_2751855356945629184_n.jpg

หากย้อนสถิติที่น่าสนใจถึงการเลือกตั้ง ส.ส.เป็นการทั่วไป จำนวน 23 ครั้งที่ผ่านมา มีจังหวัดที่ติดอันดับใช้สิทธิมากที่สุดซึ่งคิดเป็นร้อยละ 

อันดับ 1 จ.สระบุรี 93.3% (การเลือกตั้ง 26 ก.พ. 2500)

อันดับ 2 จ.มุกดาหาร 90.43% ( การเลือกตั้ง 13 ก.ย. 2535)

อันดับ 3 จ.ยโสธร 90.42% (การเลือกตั้ง 24 ก.ค. 2531)

อันดับ 4 จ.ลำพูน 88.9% (23 ธ.ค. 2550)

อันดับ 5 จ.ลำพูน 88.61% ( การเลือกตั้ง 3 ก.ค. 2554)



เลือกตั้ง 1 34961478989_2368706018868723712_n.jpg

สำหรับการเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2554

ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 46,939,549 คน

  • ส.ส. 500 คน

แบ่งเขต 375 คน ชาย 315 คน หญิง 60 คน

บัญชีรายชื่อ 125 คน ชาย 106 คน หญิง 19 คน

  • ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง

 -แบบบัญชีรายชื่อ 35,220,208 คน (75.03%)

บัตรเสีย 1,726,768 บัตร (4.9%)

บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 958,213 บัตร (2.72%)

-แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 35,220,377 คน (75.03%)

บัตรเสีย 2,040,261 บัตร (5.79%)

บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 1,419148 บัตร (4.03%)

  • ใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ

มากที่สุด จ.ลำพูน 88.61%

น้อยที่สุด จ.หนองคาย 68.59 %

  • บัตรเสีย

มากที่สุด จ.ลำปาง 7.36%

น้อยที่สุด กทม. 1.94%

  • บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน

มากที่สุด จ.ภูเก็ต 5.83%

น้อยที่สุด บึงกาฬ 0.78%

ภาคเหนือ ใช้สิทธิมากที่สุด 77.16%

ภาคอีสาน ใช้สิทธิน้อยที่สุด 72.48%

เลือกตั้ง 4 431678545_3961817244173860864_n.jpg

เมื่อย้อนไปคะแนนเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2554 

พรรคการเมืองที่ได้ ส.ส.

อันดับ 1 พรรคเพื่อไทย 265 คน (แบ่งเขต 205 คน บัญชีรายชื่อ 60 คน ) 

อันดับ 2 พรรคประชาธิปัตย์ 159 คน (แบ่งเขต 114 คน บัญชีรายชื่อ 45 คน)

อันดับ 3 ภูมิใจไทย 34 คน (แบ่งเขต 29 คน บัญชีรายชื่อ 5 คน)

อันดับ 4 พรรคชาติไทยพัฒนา 19 คน (แบ่งเขต 15 คน บัญชีรายชื่อ 4 คน)

อันดับ 5 พรรครักประเทศไทย 4 คน (บัญชีรายชื่อ 4 คน)

ส่วนพรรคการเมืองอื่นๆ 19 คน จากพรรคชาติพัฒนา พรรคพลังชล พรรครักษ์สันติ พรรคมาตุภูมิ พรรคประชาธิปไตยใหม่ (แบ่งเขต 12 คน บัญชีรายชื่อ 7 คน)

เลือกตั้ง 51424017_411637746251120_615715190020767744_n.jpg

หากนำคะแนนรวมของ ส.ส.แบบแบ่งเขตทั้งประเทศเมื่อปี 2554 มาใช้ระบบการเลือกตั้ง ส.ส.ที่ใช้ระบบจัดสรรปันส่วนผสมในการเลือกตั้งปี 2562 จะได้ ส.ส.

อันดับ 1 พรรคเพื่อไทย 222 คน (แบ่งเขต 191 คน บัญชีรายชื่อ 31 คน)  

อันดับ 2 พรรคประชาธิปัตย์ 159 คน (แบ่งเขต 106 คน บัญชีรายชื่อ 53 คน) 

อันดับ 3 พรรคภูมิใจไทย 55 คน (แบ่งเขต 27 คน บัญชีรายชื่อ 28 คน)

อันดับ 4 พรรคชาติไทยพัฒนา 24 คน (แบ่งเขต 14 คน บัญชีรายชื่อ 10 คน)

ขณะที่พรรคการเมืองอื่นๆ 40 คน (แบ่งเขต 12 คน บัญชีรายชื่อ 28 คน)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง