ไม่พบผลการค้นหา
ภายหลังพี่น้อง ‘2ป.บูรพาพยัคฆ์’ แยกพรรค ‘บิ๊กตู่’ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ไปยัง ‘พรรครวมไทยสร้างชาติ’ (รทสช.) โดยมีตำแหน่งเป็น ประธานคณะกรรมการกำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์ รทสช. ที่ถูกมองเป็น ‘ซูเปอร์บอร์ด-โปลิตบูโร’ ที่มาครอบพรรคอีกชั้น

อีกทั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จะลงเป็น ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ลำดับที่ 1 ของ รทสช. ด้วย หลังประเดิมขึ้นเวทีปราศรัย จ.ชุมพร ที่แรก ปรากฏภาพ พล.อ.ประยุทธ์ ขึ้นเครื่องบินพาณิชย์ เป็นภาพที่ไม่คุ้นตา เพราะที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จะขึ้นเครื่องบิน ทอ. หรือ ทบ. และ ฮ.ทหาร ลงพื้นที่ตรวจราชการ

ในฝั่ง ‘บิ๊กป้อม’พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ หัวหน้าพลังประชารัฐ ก็ออกแรงเต็มที่ แสดงบารมีความเป็น ‘พี่ใหญ่’ ในสนามการเมืองมากขึ้น หลังเคยเป็น ‘พี่ใหญ่บูรพาพยัคฆ์’ ในแวดวงกองทัพ-ทหาร หลัง พล.อ.ประวิตร เริ่มเดินสายพบปะพรรคต่างๆ เริ่มจาก ‘พรรคสร้างอนาคตไทย’ ให้มาเป็น ‘พันธมิตรการเมือง’ ในการตั้งรัฐบาล

หลัง ‘อุตตม สาวนายน’ อดีตหัวหน้าพรรคสร้างอนาคตไทย กับ ‘สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์’ อดีต เลขาธิการสร้างอนาคตไทย รีเทิร์นกลับ พปชร. อีกครั้ง ถูกมองว่าเป็นการ ‘กลืนเลือด’ หรือไม่ เพราะเคยถูกปฏิบัติการ ‘ยึดพรรคคืน’ จาก พล.อ.ประวิตร เพราะทั้ง ‘อุตตม-สนธิรัตน์’ เคยเป็นหัวหน้า-เลขาธิการ พปชร. มาก่อน ทำให้ พล.อ.ประวิตร กำลังถูกจับตามองจะเป็น ‘ผู้จัดการรัฐบาล’ อีกครั้งหรือไม่ 

อุตตม-สนธิรัตน์_๒๓๐๑๓๐_3.jpgพลังประชารัฐ ประวิตร อุตตม สนธิรัตน์_๒๓๐๑๓๐_4.jpg

อีกทั้งท่าทีของ พล.อ.ประวิตร ที่ปรับภาพให้ พปชร. เป็นพรรคไร้ขั้ว-พร้อมจับมือกับทุกขั้วทุกฝ่าย โดยเฉพาะการ ‘ตีห่างกองทัพ’ มากขึ้น เพื่อไม่ให้ติดภาพพรรคทหาร

แม้ว่า พล.อ.ประวิตร จะเป็นอดีต ผบ.ทบ. ก็ตาม ตั้งแต่เขียนจดหมายถึง พล.อ.ประยุทธ์ เล่าประวัติตัวเอง หลังเกษียณฯปี 2548 จากเก้าอี้ ผบ.ทบ. ที่เฝ้าดูสถานการณ์บ้านเมืองมาตลอด จนมาสู่เหตุการณ์รัฐประหาร 2557 นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ โดยอ้างถึงวิกฤตบ้านเมือง ก่อนจะมาร่วม ครม.ประยุทธ์ พร้อมยอมรับว่า คสช. ภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านการเมือง เพราะต่างก็เป็นทหารอาชีพมาทั้งชีวิต

พร้อมกล่าวถึงเหตุการณ์ที่ พล.อ.ประยุทธ์ แยกจาก พปชร. ไปพรรคใหม่ ในแง่หนึ่งก็เพื่อ ‘ขีดเส้นแบ่ง’ ระหว่าง ‘2ป.ประยุทธ์-ประวิตร’ ในทางการเมือง เพื่อ ‘เว้นระยะห่าง’ ต่อกัน อีกทั้ง พล.อ.ประวิตร พยายามตีห่าง ‘กองทัพ’ ในการไปงานกองทัพ ซึ่งที่ผ่านมา พล.อ.ประวิตร จะไม่พลาดงานกองทัพ แต่ภายหลังจดหมายถูกปล่อยออกมา

พล.อ.ประวิตร เริ่มมีท่าทีที่เปลี่ยนไป ไม่ไปร่วมงานถึง 3 งานใหญ่

ประวิตร พลังประชารัฐ วิรัช ไพบูลย์ สันติ ระดมทุน พปชร.ประวิตร พลังประชารัฐ วิชญ์ ระดมทุน พปชร.

เริ่มจากงานวันคล้ายวันสถาปนากองทัพภาคที่ 1 ครบ 113 ปี เมื่อวันที่ 13ม.ค.ที่ผ่านมา มีเพียง พล.อ.ประยุทธ์ กับ ‘บิ๊กป๊อก’พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ไปร่วมงานเท่านั้น ขาด พล.อ.ประวิตร เพราะทั้ง ‘3ป.บูรพาพยัคฆ์’ เป็นอดีตแม่ทัพภาคที่ 1 ทั้งหมด แต่ พล.อ.ประวิตร ที่เลือกไปลงพื้นที่ จ.สมุทรสงคราม-สมุทรสาคร

ต่อมาวันงานเลี้ยงรับรองวันกองทัพบก 20ม.ค.ที่ผ่านมา พล.อ.ประวิตร ก็ไม่มาร่วมงาน ซึ่งงานถูกกำหนดล่วงหน้ามานานแล้ว ยังคงเป็น พล.อ.ประยุทธ์-พล.อ.อนุพงษ์ ที่มาร่วมงาน ส่วน พล.อ.ประวิตร ติดภารกิจเปิดงานวันตรุษจีนที่ปากน้ำโพ โดยตามปกติแล้ว พล.อ.ประวิตร จะไม่พลาดวันทางทหารโดยเฉพาะกับ ทบ. ที่เคยเป็น ผบ.ทบ. ด้วยกัน 

ล่าสุดงานวันสถาปนา ร.ร.เตรียมทหาร ครบ 65 ปี ที่ จ.นครนายก เมื่อวันที่ 27ม.ค.ที่ผ่านมา ที่ พล.อ.ประยุทธ์ ไปเป็นประธานงานฯ แต่ พล.อ.ประวิตร ก็ไม่ไปร่วมงาน โดยติดประชุมคณะกรรมการประมงฯ ที่มูลนิธิป่ารอยต่อฯ และเป็นในวันเดียวกับที่ พปชร. จัดประชุมใหญ่พรรคด้วย และเป็นวันที่ พล.อ.ประวิตร ไปพูดคุยกับ ‘อุตตม-สนธิรัตน์’ ในการดีลทางการเมือง ให้มาร่วมกับ พปชร. อีกครั้งด้วย

ประวิตร อุตตม วิชญ์ -7EF7-49E5-B07C-66F65A34AE28.jpeg

หากเทียบกับ พล.อ.ประยุทธ์ พบว่ามีความใกล้ชิดกองทัพยิ่งขึ้น เพราะลึกๆแล้ว พล.อ.ประยุทธ์ ก็หวังให้ ‘กองทัพ’ เป็น ‘กองหนุน’ ให้กับตัวเอง เพราะแบรนด์ พล.อ.ประยุทธ์ พยายามชูเรื่องความจงรักภักดีและการปกป้องเสาหลักของชาติ

อีกทั้งภาพของ รทสช. ก็เป็นภาพ ‘พรรคเชิงอุดมการณ์’ ไปในทางพรรคฝ่ายขวา-อนุรักษนิยม

ในช่วงที่ พล.อ.ประยุทธ์ จะประกาศยุบสภาฯ ในเดือน มี.ค. 2566 ยังเป็นช่วงรอยต่อการจัดโผโยกย้ายนายพล กลางปี เม.ย. 2566 ที่จะมีผลไปสู่โผโยกย้ายปลายปี 2566 ช่วง ต.ค. 2566

ซึ่งปีนี้ ผบ.เหล่าทัพ ที่เป็นแผงอำนาจ ตท.22 จะเกษียณฯ พร้อมกันทั้งหมด

เริ่มจาก ทบ. หน่วยคุมกำลังรบที่ใหญ่ที่สุด มีแคนดิเดตเต็งหนึ่ง คือ ‘บิ๊กต่อ’พล.อ.เจริญชัย หินเธาว์ รอง ผบ.ทบ. (ตท.23) ที่เป็น ‘ทหารคอแดง’ สายทหารเสือฯ ร.21 รอ. เหมือนกับ พล.อ.ประยุทธ์ และ ‘บิ๊กโต’พล.อ.สุขสรรค์ หนองบัวล่าง ผู้ช่วย ผบ.ทบ. (ตท.23) ทหารคอแดง สายบูรพาพยัคฆ์ โตมาจาก พล.ร.2 รอ. สายเดียวกับ พล.อ.ประวิตร จึงต้องจับตาจะกลายเป็นภาพ ‘สงครามตัวแทน’ ของ 2ป. ผ่านศึกเพื่อน ตท.23 หรือไม่

เจริญชัย หินเธาว์ -DA22-496C-9FF5-16721122BDA8.jpeg

(พล.อ.เจริญชัย หินเธาว์ รอง ผบ.ทบ. (ตท.23))

พลโท สุขสรรค์  หนองบัวล่าง -839A-BA61245F29A3.jpeg

(พล.อ.สุขสรรค์ หนองบัวล่าง ผู้ช่วย ผบ.ทบ. (ตท.23))

มากันที่ บก.กองทัพไทย เก้าอี้ ผบ.ทหารสูงสุด ก็มีชิงกันระหว่าง ‘ทหารคอแดง-ทหารคอเขียว’ นั่นคือ ‘บิ๊กอ๊อบ’พล.อ.ทรงวิทย์ หนุนภักดี รอง ผบ.ทหารสูงสุด (ตท.24) ที่เคยอยู่ ทบ. เป็นทหารคอแดง สาย ร.11 รอ. เหมือนกับ ‘บิ๊กแดง’พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ อดีต ผบ.ทบ.

ทำให้ช่ือ พล.อ.ทรงวิทย์ มาแรงในช่วงนี้ แต่ก็ต้องสู้กับแรงต้านจากคนใน บก.กองทัพไทย ที่ต้องการให้ ‘คนใน-ลูกหม้อ’ ได้ขึ้นคุม หลังต้องเสียเก้าอี้ ผบ.ทหารสูงสุด ให้ ‘บิ๊กแก้ว’พล.อ.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ทหารม้าคอแดง ที่โยกจาก ทบ. มาเสียบยอด ทำให้ไลน์ ผบ.ทหารสูงสุด ของคนใน บก.กองทัพไทย สะดุดผิดจังหวะไป

ทรงวิทย์ หนุนภักดี ว่าที่ รองผบ.ทหารสูงสุด -FBA5-4216-A615-47DEE6C3E69D.jpeg

(พล.อ.ทรงวิทย์ หนุนภักดี รอง ผบ.ทหารสูงสุด (ตท.24))

สำหรับลูกหม้อ บก.กองทัพไทย ที่เป็นเต็งหนึ่ง คือ ‘บิ๊กจ่อย’พล.อ.ธิติชัย เทียนทอง เสนาธิการทหาร ทหารคอเขียว ที่เป็นเพื่อน ตท.24 กับ พล.อ.ทรงวิทย์ ด้วยโดยทั้ง พล.อ.ทรงวิทย์ กับ พล.อ.ธิติชัย จะเกษียณฯ ก.ย.68 พร้อมกัน โดยมีการมองว่าหาก พล.อ.ธิติชัย พลาดจากเก้าอี้ ผบ.ทหารสูงสุด อาจต้องโยกเข้าทำเนียบฯ มาเป็น เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ที่กลายเป็นที่รองรับบุคคล หากการจัดโผทหารไม่ลงตัว มาตั้งแต่ยุค คสช. 

พล.อ. ธิติชัย เทียนทอง-58A17792BDF3.jpeg

(พล.อ.ธิติชัย เทียนทอง เสนาธิการทหาร (ตท.24))

มากันที่กองทัพเรือเป็นการชิงกันระหว่าง ตท.23 ด้วยกันเอง ระหว่าง ’บิ๊กโอ๋’พล.ร.อ.ชลธิศ นาวานุเคราะห์ เสธ.ทร. กับ ‘บิ๊กดุง’พล.ร.อ.อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผบ.กองเรือยุทธการ ที่ในขณะนี้ชื่อของ พล.ร.อ.ชลธิศ ถือว่ามาเต็งหนึ่ง

ชลธิศ นาวานุเคราะห์ เสธ.ทร. BB-D8AD335C33BE.jpeg

(พล.ร.อ.ชลธิศ นาวานุเคราะห์ เสธ.ทร.)

อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผบ.กองเรือยุทธการ 8F74-1251CD6495F7.jpeg

(พล.ร.อ.อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผบ.กองเรือยุทธการ)

สุดท้ายที่กองทัพอากาศ คู่แคนดิเดตล้วนเป็น ตท.23 ทุกคน ระหว่าง ‘บิ๊กณะ’พล.อ.อ.ณรงค์ อินทชาติ เสธ.ทอ. ที่ถูกมองเต็งหนึ่งมาแต่ต้น แต่ล่าสุดมีการให้โฟกัสไปที่ ‘บิ๊กจ๋า’พล.อ.อ.พงษ์สวัสดิ์ จันทสาร ผู้ช่วย ผบ.ทอ. ที่ได้รับมอบหมายงานสำคัญช่วงเอเปค ให้รับผิดชอบงานคุมการปฏิบัติการทางอากาศในการรักษาความปลอดภัยผู้นำเอเปค

สำหรับแคนดิเดตอีกคน คือ ‘บิ๊กหนึ่ง’พล.อ.อ.ชานนท์ มุ่งธัญญา รอง ผบ.ทอ. ที่เป็นแคนดิเดตมานานหลายปี ต้องจับตาว่า พล.อ.อ.ชานนท์ จะล้างอาถรรพ์ กองบิน 4 ในการขึ้นเป็น ผบ.ทอ. ได้หรือไม่ โดย พล.อ.อ.ชานนท์ ได้รับมอบหมายให้ดูแลโครงการจัดหาเครื่องบิน F-35 จากสหรัฐฯ

ณรงค์ อินทชาติ เสธ.ทอ. 685-4424228C890E.jpeg

(พล.อ.อ.ณรงค์ อินทชาติ เสธ.ทอ.)

ชานนท์ มุ่งธัญญา รอง ผบ.ทอ.8DA49B8AF430.jpeg

(พล.อ.อ.ชานนท์ มุ่งธัญญา รอง ผบ.ทอ.)

ดังนั้นปี 2566 ถือเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของ ‘รัฐบาล-กองทัพ’ ในการได้รัฐบาลชุดใหม่ จะแชร์อำนาจกันอย่างไร หรือจะพลิกขั้วการเมือง ภายใต้ศึกสายเลือด จปร. ระหว่าง ‘2ป.ประยุทธ์-ประวิตร’ ที่สะเทือนมาถึง ‘กองทัพ’

โดยเฉพาะ ทบ. ที่มีทั้งสาย ‘ประยุทธ์-ประวิตร’ รวมทั้งการเปลี่ยนผ่าจากแผงอำนาจ ตท.22 ไปยัง ตท.23 ในการขึ้นคุมกองทัพ จะมีท่าทีบทบาทต่อ ‘รัฐบาลใหม่’ อย่างไร ในวันที่อำนาจของ พล.อ.ประยุทธ์ ลดน้อยลง ไม่เบ็ดเสร็จเหมือนเดิม