ไม่พบผลการค้นหา
นิด้าโพลสำรวจความเห็นประชาชนทั่วประเทศ 1,312 คน พบว่า เกือบครึ่งยังไม่ตัดสินใจว่าจะกาบัตร 2 ใบอย่างไร แต่ 1 ใน 3 ชัดแล้วจะกาพรรคเดียวกัน ส่วน ส.ส.เขตนั้น 28% บอกอยากเปลี่ยนมาก สำหรับ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พบคนเลือกฝ่ายค้านมากกว่าฝ่ายรัฐบาล

21 ส.ค.2565 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น 'นิด้าโพล' สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่องแนวโน้มพฤติกรรมการเลือกตั้งครั้งหน้า ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 1-5 ส.ค.2565 จากประชาชนทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ จำนวน 1,312 หน่วยตัวอย่าง

เมื่อถามถึงแนวโน้มการเลือก ส.ส. แบบแบ่งเขต และ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้งครั้งหน้าที่ใช้บัตรสองใบ พบว่า 

  • ร้อยละ 44.82 ยังไม่แน่ใจว่าจะตัดสินใจอย่างไร 
  • ร้อยละ 38.03 จะเลือก ส.ส. แบบแบ่งเขต และ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเดียวกัน 
  • ร้อยละ 16.85 ระบุว่า จะไม่เลือก ส.ส. แบบแบ่งเขต และ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเดียวกัน 
  • ร้อยละ 0.30 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ  

สำหรับความต้องการที่จะเปลี่ยน ส.ส. ในเขตเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งครั้งหน้า พบว่า 

  • ร้อยละ 30.41 ไม่อยากเปลี่ยน 
  • ร้อยละ 28.28 อยากจะเปลี่ยนอย่างมาก 
  • ร้อยละ 19.21 ค่อนข้างอยากจะเปลี่ยน 
  • ร้อยละ 11.97 ไม่ค่อยอยากจะเปลี่ยน 
  • ร้อยละ 10.13 ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ  

เมื่อถามประชาชนถึงแนวโน้มการเลือก ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้งครั้งหน้า พบว่า 

  • ร้อยละ 34.99 ระบุว่า ยังไม่แน่ใจว่าจะตัดสินใจอย่างไร 
  • ร้อยละ 32.39 ระบุว่า จะเลือกพรรคการเมืองฝ่ายค้าน 
  • ร้อยละ 21.34 ระบุว่า จะเลือกพรรคการเมืองใหม่ที่ยังไม่มี ส.ส. ในสภา 
  • ร้อยละ 10.82 ระบุว่า จะเลือกพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล 
  • ร้อยละ 0.46 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะของตัวอย่างที่ทำการสำรวจ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.61 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ, ร้อยละ 26.30 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง, ร้อยละ 17.99 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ, ร้อยละ 33.53 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.57 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง

สำหรับอายุ ตัวอย่างร้อยละ 13.26 มีอายุ 18-25 ปี, ร้อยละ 17.76 มีอายุ 26-35 ปี, ร้อยละ 19.28 มีอายุ 36-45 ปี, ร้อยละ 26.53 มีอายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.17 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป สำหรับการนับถือศาสนาตัวอย่าง ร้อยละ 95.89 นับถือศาสนาพุทธ, ร้อยละ 2.74 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.22 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.15 ไม่ระบุศาสนา นอกจากนี้ตัวอย่าง ร้อยละ 32.24 สถานภาพโสด ร้อยละ 65.40 สมรสแล้ว และร้อยละ 2.36 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่

ตัวอย่าง ร้อยละ 25.38 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า, ร้อยละ 33.46 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า, ร้อยละ 8.31 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า, ร้อยละ 27.97 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า, ร้อยละ 4.73 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.15 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 10.14 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.02 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 20.20ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 12.80 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 16.85 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.90 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 5.79 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 0.30 ไม่ระบุอาชีพ

ตัวอย่าง ร้อยละ 21.88 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 21.57 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 26.83 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 10.21 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.80 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 5.79 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.92 ไม่ระบุรายได้